หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ชมสถาปัตยกรรมงามโดดเด่นที่ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) จ.บุรีรัมย์

Thai | English

          วันนี้ชวนทุกท่านไปชมสถาปัตยกรรมงามที่โดดเด่นที่ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )  จ.บุรีรัมย์ (เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม) ครับ


ประวัติ/ความสำคัญ "ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) " 


โมเดลจำลองปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) 
        ปราสาทหินเมืองต่ำเป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชน 

ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) 
        จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในละแวกนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่หลายชุมชน เช่น ชุมชนบ้านโคกเมือง โคกยายคาน โคกสลองตอง เป็นต้น โบราณวัตถุที่ขุดพบได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาชนะดินเผาเนื้อดิน เครื่องภ้วยชามเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียว เป็นจำนวนมาก หลักฐานเหล่านี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีอายุใกล้เคียงกับการสร้างปราสาท ซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปขอมแบบคลัง และแบบปาปวน กำหนดอายุประมาณครึ่งพุทธศตวรรษที่ 16 หรือราว 1,000 ปีมาแล้ว

ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) บนเส้นทางอารยธรรมขอม
        ตำแหน่งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรัก ผ่านกลุ่มปราสาทตาเหมือน จ.สุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำสู่ปราสาทพนมรุ้งไปยังปราสาทพิมาย จ.นครราชสีมา อาจกล่าวได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียง บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย


        เดิมปราสาทเมืองต่ำถูกทิ้งให้รกร้าง ชื่อ “เมืองต่ำ” สันนิษฐานว่า เป็นการกำหนดเรียกของชาวบ้านที่อพยพเข้ามาตั้งฐิ่นฐานในละแวกนี้ภายหลัง และคงเรียกเปรียบเทียบกับปราสาทพนมรุ้งที่อยู่บนยอดเขา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2530-2539 กรมศิลปากรดำเนินการ ขุดแต่งและบูรณะปราสาทเมืองต่ำด้วยเทคนิคอนัสติโลซิส และกรมศิลปากรได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดปราสาทเมืองต่ำอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 เนื่องในมหามงคลสมัยแห่งปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ที่มา : แผ่นโบรชัวร์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์)
     
สถานที่ตั้ง  "ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )  "
        ตำบล จรเข้มาก อำเภอ ประโคนชัย  จ.บุรีรัมย์

เวลาเปิด-ปิดและค่าธรรมเนียมการเข้าชม  "ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )  "


       เวลาเปิด-ปิด : 06.00-18.00 น.ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
       อัตราค่าธรรมเนียมการเข้าชม :
    • ชาวไทย 20 บาท (ชมทั้งปราสาทหินเมืองต่ำและอุทยานประวัติศาสตร์ 30 บาท) 
    • ชาวต่างประเทศ 100 บาท (ชมทั้งปราสาทหินเมืองต่ำและอุทยานประวัติศาสตร์ 150 บาท) 

การเดินทางไป "ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) "
        รายละเอียดการเดินทางไปชมปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) จ.บุรีรัมย์ ( รายละเอียดการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไป จ.บุรีรัมย์ ) ดังนี้
        จากตัวเมือง จ.บุรีรัมย์ 
  • ขับไปตามหลวงหมายเลข 219 ทางมุ่งหน้าไป อ.ประโคนชัย
  • เมื่อถึงสี่แยกหลวงหมายเลข 219 และหลวงหมายเลข 24 ให้ขับตรงไป อีกประมาณ 800 เมตรเบี่ยงออกขาไปตามทางหลวงชนบท บุรีรัมย์ 4071 จะมีป้ายบอกทางไปปราสาทหินเมืองต่ำเป็นระยะๆ ขับไปประมาณ 21 กม. จะถึงจุดหมาย
      จาก อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 
  • ขับไปตามหลวงหมายเลข 24 ทางมุ่งหน้าไป อ.ประโคนชัย
  • เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 (แยกตะโก) ขับไปประมาณ 5.5 กม.แล้วตรงไปเข้าทางหลวงหมายเลข 4013 จะมีป้ายบอกทางไปปราสาทหินเมืองต่ำเป็นระยะๆ ขับตามป้ายบอกทางจนถึงจุดหมาย
( แผนที่จาก :แผ่นโบรชัวร์ จ.บุรีรัมย์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย )


( แผนที่จาก :www.google.co.th/maps )


แผนที่สำหรับเดินทางไปปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

เดินทางถึงเป้าหมาย : "ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )  "
         เมื่อเดินทางถึงปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) เราไปชมความงดงามของสถาปัตยกรรมของโบราณสถานและตามรอยเส้นทางอารยธรรมขอมกันครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558)

ปราสาทหินเมืองต่ำ

         หมายเลข 1 : ปราสาทหินเมืองต่ำ
         หมายเลข 2 : บาราย (ทะเลเมืองต่ำ)

หมายเลข 1 : ปราสาทหินเมืองต่ำ
         สำรวจแผนผังของโบราณสถานก่อนเข้าชมความงดงงามกันก่อนครับ

แผนผังปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
          เมื่อพร้อมแล้วไปชมความงดงามของสถาปัตยกรรมของโบราณสถานตามแผนผังกันครับ 

บริเวณทางเดินไปตัวปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

บริเวณรอบๆทางเดินไปตัวปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

บริเวณทางเดินไปตัวปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
         ส่วนที่ 1 : กำแพงแก้วและซุ้มประตู
                          กำแพงแก้วและซุ้มประตูเป็นส่วนแรกที่เราจะได้ชมสถาปัตยกรรมโบราณสถาน รายละเอียดกำแพงแก้วและซุ้มประตูดังนี้ครับ กำแพงแก้วก่อด้วยอิฐศิลาแลง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บนสันกำแพงประดับด้วยบราลี

กำแพงแก้วและซุ้มประตูปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

กำแพงแก้วและซุ้มประตูปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
                           ซุ้มประตูทิศตะวันออก

ซุ้มประตูทิศตะวันออกปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

                           ซุ้มประตูทิศใต้

ซุ้มประตูทิศใต้ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

                           ซุ้มประตูทิศตะวันตก

ซุ้มประตูทิศตะวันตกปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

                           ซุ้มประตูทิศเหนือ

ซุ้มประตูทิศเหนือปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
                          กึ่งกลางกำแพงแก้วซุ้มประตูหรือโคปุระขนาดใหญ่ ก่อด้วยหินทราย บริเวณห้องกลางมีลวดลายแกะสลักรูปดอกบัว 8 กลีบ

กำแพงแก้วซุ้มประตูหรือโคปุระขนาดใหญ่ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

กำแพงแก้วซุ้มประตูหรือโคปุระขนาดให ญ่ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ลวดลายแกะสลักรูปดอกบัว 8 กลีบบริเวณกำแพงแก้วซุ้มประตูหรือโคปุระขนาดใหญ่
ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ลวดลายแกะสลักรูปดอกบัว 8 กลีบบริเวณกำแพงแก้วซุ้มประตูหรือโคปุระขนาดใหญ่
ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
                          ลวดลายแกะสลักรูปดอกบัว 8 กลีบอาจหมายถึงการจำลองผังของจักรวาล อันประกอบไปด้วยทิศสำคัญ 8 ทิศ หรือ อาจบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์  (ที่มา : แผ่นโบรชัวร์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์)
                          แค่ส่วนที่ 1 ก็ทำให้หลงไหลในความงามของสถาปัตยกรรมของโบราณสถานแห่งนี้แล้วครับสำหรับผู้เขียน  

         ส่วนที่ 2 : ลานปราสาทและสระน้ำ
                          อยู่ระหว่างระเบียงคดกับกำแพงแก้วมีสระน้ำเป็นรูปตัวแอล อาจมีความสัมพันธ์กับข้อความจารึกที่เสาประดับกรอบประตูชั้นในของซ้มประตูแก้วด้านทิศตะวันออกกล่าวว่า สายน้ำเป็นเครื่องรักษาเทวสถาน  (ที่มา : แผ่นโบรชัวร์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์)

ลานปราสาทและสระน้ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ลานปราสาทและสระน้ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ลานปราสาทและสระน้ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ลานปราสาทและสระน้ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
                          เดินชมสระน้ำแล้วสบายตา สบายอารมณ์ ผ่อนคลายมากครับ และเพลินตากับน้ำ กับดอกบัวสวยๆ ชูดอกท้าแดคต้านแสงพระอาทิตย์ยามบ่ายๆ ของการเข้าชมในวันนั้นครับ

         ส่วนที่ 3 : ระเบียงคดและซุ้มประตู
                          ระเบียงคดเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีมีลักษณะเป็นห้องแคบๆ ยาวๆ ล้อมรอบกลุ่มปราสาทอิฐและบรรณาลัย มีแผนผังเป้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยหินทราย กว้างประมาร 2 เมตรต่อกันโดยรอบ แต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันตลอด พื้นระเบียงคดปูด้วยศิลาแลง กึ่งกลางระเบียงคดแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระขนาดใหญ่ก่อด้วยหินทราย มีแผนผังเป็นรูปกากบาท ตรงกลางห้องมีประตูเข้า-ออก อยู่ในดนวตรงกันกับซุ้มประตูกำแพงแก้ว ห้องด้านข้างระเบียงคดทำเป็นหน้าต่างประดับด้วยลูกมะหวด  (ที่มา : แผ่นโบรชัวร์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์)

ระเบียงคดและซุ้มประตู ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ระเบียงคดและซุ้มประตู ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ระเบียงคดและซุ้มประตู ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ระเบียงคดและซุ้มประตู ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ระเบียงคดและซุ้มประตู ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
         ส่วนที่ 4 : ปราสาทอิฐ
                          เป็นอาคารสำคัญที่สุด สร้างอยู่ตรงกลางแผนผัง ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และประกอบพิธีบวงทรวงเทพเจ้า ประกอบด้วย ปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน องค์ปราสาทก่อด้วยอิฐเรียงกัน 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ และแถวหลัง 2 แถว กลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์นี้ แสดงสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล  (ที่มา : แผ่นโบรชัวร์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์)

ปราสาทอิฐ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

ปราสาทอิฐ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

บริเวณปราสาทอิฐ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
         ส่วนที่ 5 : บรรณาลัย
                          บรรณาลัย คือ หอเก็บรักษาคัมภีร์ หรือหนังสือสำคัญทางศาสนา อาจใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนาด้วย อาคาร 2 หลัง สร้างด้วยอิฐบนฐานศิลาแลง มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่ด้านหน้ากลุ่มปราสาทอิฐ หันหน้าเข้าหาปราสาทประธาน  (ที่มา : แผ่นโบรชัวร์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์)
บรรณาลัย ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

บรรณาลัย ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )
            หลังจากผู้เขียนเดินชมความงดงามของสถาปัตยกรรมของโบราณสถานที่ปราสาทหินเมืองต่ำครบทั้ง 5 ส่วนแล้ว อยากชวนทุกคนที่มาท่องเที่ยวหรือมาเยือนปราสาทหินเมืองต่ำชมให้ครบทั้ง 5 ส่วนครับ โบราณศิลปะที่งดงามอยากให้ทุกคนมาเที่ยวมาเยือนให้เป็นกับตาครับ และอีกจุดหนึ่งที่ต้องไปเที่ยวไปเยือน คือ บารายหรือทะเลเมืองต่ำครับ

หมายเลข 2 : บาราย (ทะเลเมืองต่ำ)
            อยู่ทิศเหนือของปราสาทหินเมืองต่ำ มีขนาดประมาณ 510 x 1,090 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร บารายเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา หมายถึง มหาสมุทรของจักราวาลที่ล้อมเขาพระสุเมรุ และยังเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนในสมัยโราณอีกด้วย  (ที่มา : แผ่นโบรชัวร์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์)


บารายหรือทะเลเมืองต่ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

บารายหรือทะเลเมืองต่ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

บารายหรือทะเลเมืองต่ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )

บารายหรือทะเลเมืองต่ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam )      
           หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมความงามธรรมชาติ ตามรอยประวัติศาสตร์ ชมโบราณสถานตามเส้นทางอารยธรรมขอม  "ปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) จ.บุรีรัมย์" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

รูปความละเอียดสูงปราสาทหินเมืองต่ำ ( Prasat Hin Mueang Tam ) ทั้งหมด 

ดูนกชมธรรมชาติที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน ( Ang Kep Nam Sanam Bin Non-hunting Area ) จ.บุรีรัมย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น