Thai | English
ศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย แบบคลัง-บาปวน และแบบนครวัด ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ปราสาทหินพิมายหนึ่งสถาปัตยกรรมทางศิลปะที่อยู่ในช่วงนี้ และเป็นศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุด
จากเว็บไซต์ www.sac.or.th เขียนบอกกล่าวเล่าว่า " "พิมาย" มาจาก "วิมาย" ตามที่ปรากฏในจารึกที่กรอบประตูปราสาทว่า "กมรเตงชคตวิมาย" และ "พิมาย" เป็นชื่อของเมืองโบราณที่ปรากฏในศิลาจารึกมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ที่กล่าวถึงเมือง "ภีมปุระ" และจารึกรุ่นหลังที่ปราสาทพระขรรค์ (พุทธศตวรรษที่ 18) กล่าวถึงเมือง "วิมายะปุระ" ดังนั้นปราสาทหินพิมาย และเมืองพิมายจึงเป็นศูนย์กลางทางศาสนา และเป็นเมืองที่สำคัญในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ศิลปะขอมแพร่หลาย ในดินแดนไทย
หลักฐานในการก่อสร้างปราสาทหินพิมายนี้ เชื่อว่า เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาล พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ. 1623 - 1650) และสร้างเพิ่มเติมสมัยต่อมา ในรัชกาลพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1650 - 1655) และรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 - หลัง พ.ศ. 1693) จากหลักฐาน ได้พบจารึก ที่กรอบประตูโคปุระด้านทิศใต้ระบุ พ.ศ. 1651 จึงอาจถือเป็นศักราชของการสถาปนาปราสาทหินพิมาย"
จากเว็บไซต์สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา เขียนบอกกล่าวเล่าต่อว่า "พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ.2494และ พ.ศ.2497กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศส จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2507-2512 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้ เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน"
แผนผังเมืองพิมาย
(จากโบชัวร์ : Phimai Historical Park ,The Department of Fine Arts)
|
อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
การเดินทางไป ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park )
แผนที่ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park )
เมื่อเดินทางไปถึงปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) ศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ไปตามรอยประวัติศาสตร์และชมความงามสถาปัตยกรรมทางศิลปะกันครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 21 ก.พ.2559)
แผนผังปราสาทหินพิมาย
(จากโบชัวร์ : Phimai Historical Park ,The Department of Fine Arts)
|
ในหลวงของเราและพระราชินีเสด็จฯทอดพระเนตร ปราสาทหินพิมาย เมื่อ 4 พ.ย.2498 |
เริ่มตั้งแต่สะพานนาคราช (Naga ฺBridge) ที่เชิงบันไดสะพานทั้งสองข้างจะมีมีสิงห์จำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถาน
ภาพเล่าเรื่องบนทับหลังและหน้าบัน
ภาพเล่าเรื่องบนทับหลังและหน้าบัน
ภาพเล่าเรื่องบนทับหลังและหน้าบัน
ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) มีความงามสถาปัตยกรรมทางศิลปะในหลายๆ จุดครับ
ปรางค์ประธาน ปราสาทหินพิมาย (The Main Prasat) รูปแบบพิเศษของชั้นหลังคาปราสาทหินพิมาย คือ เปลี่ยนการประดับปราสาทจำลองในแต่ละชั้นมาเป็นนาคปัก ทำให้ชั้นหลังคาเกิดเป็นทรงพุ่ม อันเป็นวิวัฒนาการสำคัญทางด้านรูปแบบปราสาทขอมในสมัยนครวัด
จากเว็บไซต์ www.sac.or.th เขียนเล่าว่า "รูปแบบของปราสาทขอมที่สมบูรณ์นั้น จะประกอบด้วยกำแพงล้อมรอบศาสนสถาน ตรงกลางกำแพงมีซุ้มประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน เรียกว่า "โคปุระ" ถัดเข้าไปมีสระน้ำ อาจเป็นรูปคล้ายตัวซี (C) ในกรณีที่มีทางเข้า 2 ทาง หรือรูปคล้ายตัวแอล (L) ในกรณีที่มีทางเข้า 4 ทาง จนถึงกำแพงชั้นในที่ล้อมรอบปราสาทประธาน ซึ่งเรียกว่า "ระเบียงคด" โดยมีโคปุระทั้ง 4 ด้านเช่นเดียวกัน ภายในระเบียงคด เป็นที่ตั้งของปราสาทประธาน ซึ่งอาจเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ หรือเป็นปราสาทหมู่ 3 หลัง 5 หลัง หรือ 6 หลัง ก็ได้"
หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม หาความงามสถาปัตยกรรมทางศิลปะ ตามรอยประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมทางศิลปะและเป็นศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย “ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) ” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ในห้วงชีวิตนี้ที่ต้องไปเยือนครับ...สวัสดีครับ
รูปความละเอียดสูงอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) ทั้งหมด
ดูกระทิงที่เขาแผงม้า ( Khao Phaeng Ma ) อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
ร้านกาแฟ Dragon Coffee อลังการงานสร้าง หุ่นเหล็กโคราช
ไทรงาม (Sai Ngam ,Beautiful banyan) อีกหนึ่งสถานที่ในประเทศไทยที่ในหลวงของเราเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร