หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

จากป่ารกร้างกิ่วเสือแปรเปลี่ยนเป็นอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปีที่ม่อนแจ่ม (Mon Jam)

     วันนี้ชวนทุกท่านไปสูดอากาศให้เต็มปอดที่ ม่อนแจ่ม จ.เชียงใหม่ (ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์) ครับ



ประวัติ/ความสำคัญ "ม่อนแจ่ม (Mon Jam)" 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 
          เว็บไซต์การท่องเที่ยวปห่งประเทศไทยเขียนเล่าเกี่ยวกับม่อนแจ่ม (Mon Jam)ไว้ดังนี้ "จากพื้นที่ที่ชาวบ้านกันเรียกว่ากิ่วเสือซึ่งเป็นป่ารกร้างมานมนานและมีการแผ้วถางปลูกฝิ่น ได้แปรเปลี่ยนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของเชียงใหม่ที่ทุกคนต้องเดินทางไปชื่นชม ความที่ม่อนแจ่มมีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี งดงามด้วยหมอกขาวยามเช้า และมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์แห่งเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนไกลสุดสายตาราวกับภาพฝัน 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 
         โดย ยอดเขาทางทิศตะวันออกนั้นมีจุดชมวิวที่ชื่อว่า "ม่อนล่อง" ซึ่งเหมาะสำหรับชมทิวทัศน์ของพื้นที่โครงการหลวง และชมทะเลหมอกบนหน้าผาสูง ส่วนทางด้านทิศใต้จะเป็นจุดชมวิวที่มองเห็นหมู่บ้านม้งหนองหอย และพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอยโดยรอบ ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นในการทำแปลงปลูกผักและวิจัยพืชเมืองหนาว เช่น อาร์ติโช๊ค สมุนไพรเลมอนทาร์ม มิ้น คาร์โมมายด์ โรสแมรี่ ส่วนไม้ผลนั้น เช่น พลัม องุ่นไร้เมล็ด สตรอว์เบอร์รี่พันธุ์ 80 แปลงผักไฮโดรโพนิกส์ ซึ่งเป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เช่น โอ้คลีฟแดง ผักตระกูลสลัด มะเขือเทศดอยคำ ฯลฯ ฤดูท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับท่องเที่ยวคือ เดือนตุลาคม –กุมภาพันธ์"
     
ที่ตั้ง "ม่อนแจ่ม (Mon Jam)"
            อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
การเดินทางไป "ม่อนแจ่ม (Mon Jam)"
          การเดินทางไป "ม่อนแจ่ม ข.เชียงใหม่"  รายละเอียดสามารถเดินทางอิงตามแผนที่ด้านล่าง  

แผนที่ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จ.เชียงใหม่
   
แผนที่การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปม่อนแจ่ม 

เดินทางถึงเป้าหมาย "ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 
       เมื่อเดินทางถึงเป้าหมายม่อนแจ่ม (Mon Jam) อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ สิ่งที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสคือความสุขที่ได้สูดอากาศดีๆ ณ ที่สูงจากภูเขาภาคเหนือของประเทศไทยครับ (ภาพประกอบ : ถ่ายในการเดินทางวันที่ 18 ต.ค.2563)
       ในวันเดินทางผู้เขียนได้หยุดสูดอากาศดีๆ ชมความงดงามของธรรมชาติ 3 จุดด้วยกัน ผู้เขียนขอนำรูปถ่ายทั้ง 3 จุดที่ม่อนแจ่มที่ผู้เขียนไปหาความสุขจากที่นี้มาฝากครับ



       รูปถ่ายจุดที่ 1 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

       รูปถ่ายจุดที่ 2
ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 


ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) 

       ณ จุดที่ 2 ป้ายบริเวณนั้นของจุดท่องเที่ยวม่อนแจ่มได้เขียนเล่าให้ฟังเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณนั้นไว้ดังนี้ครับ
รูปแสดงตำแหน่งพิ้นที่ต่างๆบริเวณม่อนแจ่มจุดที่ 2

       "แปลงปลูกไม้เป็นแนวป้องกันลม (หมายเลข 1)
       เป็นการปลูกไม้เพื่อเป็นแนวป้องกันลม ลดแรงปะทะของลม ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับสวนไม้ผล โดยไม้ที่ปลูกมีลักษณะทรงสูง มีกิ่งก้านน้อย ชนิดที่ใช้ได้ดี เช่น ไม้ไผ่
       แปลงทดสอบพันธุ์ไม้ผล ได้แก่ พลัมสายพันธุ์ต่างๆ และกีวี

แปลงปลูกไม้เป็นแนวป้องกันลม หมายเลข 1

       แปลงปลูกป่าชาวบ้านในระบบวนเกษตร (หมายเลข 2)
       เป็นการปลูกไม้แบบผสมผสานในพื้นที่เดียวกัน เน้นการปลูกไม้โครงสร้างขนาดใหญ่ ได้แก่ ซิลเวอร์โอ๊ค นางพญาเสือโคร่ง ไม้ชั้นรองเป็นไม้ขนาดปานกลางให้ผล เช่น อะโวคาโด และไม้พื้นล่าง เช่น กาแฟ
       แปลงสาธิตการปลูกป่าตามต้นแบบดอยอ่างขาง (หมายเลข 3)
       เป็นการปลูกไม้โตเร็วทดลองตามต้นแบบดอยอ่างขาง เริ่มปลูกในปี 2554-2555 ไม้ที่ปลูกเป็นไม้โตเร็ว ได้แก่ เมเปิ้ลหอม จันทร์ทองเทศ การบูร กระถินดอย นางพญาเสือโคร่ง ไผ่บงใหญ่ ไผ่หวานอ่างขางและไผ่หยกเป็นต้น ปัจจุบันได้เพิ่มความหลากหลายด้วยการปลูกพืช สมุนไพร พืชหัว พืชเลื่อย และแทรกด้วยกาแฟตามช่องว่างระหว่างต้นไม้

แปลงสาธิตการปลูกป่าตามต้นแบบดอยอ่างขาง หมายเลข 3

       แปลงปลูกไม้ยืนต้นและพืชสมุนไพร (หมายเลข 4)
       เป็นการปลูกไม้ผลยืนต้นที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูป่า สามารถให้ผลผลิตและช่วงค้านการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ ช่องว่างระหว่างต้นไม้ยังสามารถปลูกพืชสมุนไพรแทรกได้
       แปลงไม้ยืนต้นให้ผลให้ดอก (หมายเลข 5)
       เป็นการปลูกไม้ยืนต้นประเภทไม้ป่าท้องถิ่นที่สามารถให้ดอกให้ผล หรือไม้ที่มีรูปทรงต้นสวยงาม เช่นท้อ บ้วย มะขามป้อม ก่อเดือย ก่อแป้น หว้า นางพญาเสือโคร่ง และเลี้ยวดอกขาว"

แปลงไม้ยืนต้นให้ผลให้ดอก หมายเลข 5
แปลงไม้ยืนต้นให้ผลให้ดอก หมายเลข 5

       บริเวณจุดที่ 2 จะมีจำนวนผู้มาเยือนเป็นจำนวนมาก หากมาม่อนแจ่ม ณ จุดนี้คือจุดที่ห้ามพลาดเมื่อได้มาเยือนครับ

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 2

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 2

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 2

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 2

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 2

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 2

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 2
ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 2

       รูปถ่ายจุดที่ 3
ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 3

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 3

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 3

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 3

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 3

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 3

ม่อนแจ่ม (Mon Jam) จุดที่ 3

       มาเยือนม่อนแจ่มไม่ต้องกลัวปัญหาเรื่องไม่มีสัญญานโทรศัพท์ครับ มีเสาสัญญานโทรศัพท์จากผู้ให้บริการหลักในประเทศไทยครับ

เสาสัญญานโทรศัพท์จากผู้ให้บริการหลักในประเทศไทยที่ม่อนแจ่ม

เสาสัญญานโทรศัพท์จากผู้ให้บริการหลักในประเทศไทยที่ม่อนแจ่ม

     หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม สัมผัสเสน่ห์แห่งเมืองเหนือ สูดอากาศให้เต็มๆปอด   "ม่อนแจ่ม (Mon Jam)" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


Download รูปความละเอียดสูงอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปีที่ม่อนแจ่ม (Mon Jam)

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ชมสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่เก่าแก่และงดงามที่วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) พระธาตุประจำปีฉลู

Thai | English

     วันนี้ชวนทุกท่านไปชมสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่เก่าแก่และงดงามที่วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) พระธาตุประจำปีฉลู  จังหวัดลำปาง (ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก) กันครับ



ประวัติ/ความสำคัญ "วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)" 


          ป้ายหน้าวัดเขียนเล่าเกี่ยวกับ วัดพระแวัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) ไว้ว่า "ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจาพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามเมืองต่างๆจนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวบั่วคนหนี่งชื่อ ละอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใสได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้าง และมะพร้าว มะตูม อย่างละ 4 ลูก มาถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ได้มอบหมายให้พระอานนท์กรอลลงในบาตรแล้วทรงฉัน เมื่อฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงโยนกระบอกไม้ไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่าสถานที่แห่งนี้ ต่อไปจะมีชื่อว่าลัมพกัปปะนคร(ลำปาง) แล้วพระองค์ได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้ลัวะอ้ายกอน ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้นมาบรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นพุทธบูชา และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีเจ้าครองนครอีกหลายพระองค์มาสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป้นวัดที่สมบูรณ์และสวยงามจนถีงปัจจุบันนี้ 
วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

          วัดพระธาตุลำปางหลวง ถือเป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของคำว่า “ลำปาง” จนมาเป็นจังหวัดลำปางในปัจจุบัน เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ไทย เจ้าครองนครลำปางและภาคเหนือทั้งหมดเคยเสด็จ และยกย่องว่าเป็นหลักของบ้านเมืองสืบมาทุกยุคทุกสมัย ในตำนานระบุไว้ว่า มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าส่วนสำคัญบรรจุอยู่ในพระธาตุเจดีย์ ได้แก่ พระเกศา พระอัฐิธาตุ พระนลาฏข้างขวา พระสอด้านหน้าด้านหลัง ที่พระกุมารกัสสปะเถระเจ้าและพระเมฆียเถระเจ้าอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต และมีอนุสรณ์การกอบกู้อิสรภาพของดินแดนล้านนาไม่ให้ตกเป็นเมืองขึ้น"
( ที่มา : ป้ายหน้าสถานที่ท่องเที่ยว )

วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)
วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

          ส่วนป้ายอีกป้ายบริเวณวัดเขียนเล่าเกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวงว่า "ประวัติพระธาตุลำปางหลวง พอสรุปได้ความว่าวัดนี้มีความสำคัญตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังเช่นการกล่าวถึงการเสด็จมานมัสการของพระนางจามเทวี ในราว พ.ศ.1200 แต่จากลักษณะสถาปัตยกรรมภายในวัดน่าจะเชื่อว่า วัดนี้อายุอย่างน้อยก้อยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย และได้รับการบูรณะเสมอมา ดังศิลาจารึกกล่าวว่า ใน พ.ศ.1992 เจ้าหาญแต้ท้อง ได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นสูง 15 วา กว้าง 9 วา พ.ศ.2019 เจ้าหมื่นคำเพชรได้บูรณะวิหาร พ.ศ.2023 เจ้าหาญศรีธัตถะได้บูรณะเจดีย์ขึ้นอีก ฐานกว้าง 12 วา สูง 22 วา 2 ศอก และได้บูรณะอีกหลายครั้ง วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต วัดนี้คงความเป็นปูชยสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอาณาจักรล้านนาจนถึงปัจจุบัน"
( ที่มา : ป้ายหน้าสถานที่ท่องเที่ยว )
วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

         ในโบรชัวร์องค์บริหารส่วนจังหวัดลำปาง "ลำปางสุขทุกด้าน" เขียนสรุปเล่าว่า "วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่เก่าแก่และงดงาม ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มีการปิดทองจังโกคล้ายแบบพุกาม เป็นพระธาตุประจำปีฉลู วัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วดอนเต้า” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชาวลำปางเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ในวัดนี้มีความอัศจรรย์อย่างหนึ่ง คือ มีเงาพระธาตุกลับหัวสวยงามมาก"
( ที่มา : โบรชัวร์องค์บริหารส่วนจังหวัดลำปาง)

ที่ตั้ง "วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)"
            อ.เกาะคา จ.ลำปาง
การเดินทางไป "วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)"
          การเดินทางไป "วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)"  รายละเอียดสามารถเดินทางอิงตามแผนที่ด้านล่าง  

แผนที่วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

เดินทางถึงเป้าหมาย "วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)"
       เมื่อถึงเป้าหมายวัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) อ.เกาะคา จ.ลำปาง ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสความสุขอีกด้านเมื่อเดินทางมาถึงครับ

แผนผังวัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

       แผนที่วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)
       หมายเลข 1 องค์พระธาตุเจดีย์ 
       หมายเลข 2 วิหารหลวง
       หมายเลข 3 วิหารพระพุทธ
       หมายเลข 4 ซุ้มประตูโขง
       หมายเลข 5 วิหารน้ำแต้ม
       หมายเลข 6 วิหารพระเจ้าศิลา
       หมายเลข 7 ปล่องหนานทิพย์ช้าง
       หมายเลข 8 พระอุบาสถ
       หมายเลข 9 ไม้ขะจาว
       หมายเลข 10 วิหารต้นแก้ว
  
     หมายเลข 11 กุฎิพระแก้ว
       องค์พระธาตุเจดีย์ ภายในบรรจุพระบรมพระเกษาธาตุ ซึ่งพระพุทธเจ้ามอบให้ลัวะอ้ายกอน เมื่อครั้งพุทธกาล และได้สร้างเจย์สูง 7 ศอก เพื่อประดิษฐานพระเกษา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว 218 พรรษา พระกัสสปะนำเอาอัฐิธาตุพระนลาข้างขวา และพระเมฆิยะนำเอาอัฐิลำคอข้างหน้า-หลังมาบรรจุ พระธาตุเจดีย์ได้ถูกสร้างและบูรณะหลายครั้ง องค์ที่ปรากฎเห็นอยู่นี้เจ้าเมืองหาญศรีธัตถะสร้าง พ.ศ.2029

องค์พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) 

องค์พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) 

องค์พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) 

องค์พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) 

องค์พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) 

องค์พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) 

องค์พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple) 

       สิ่งที่ห้ามพลาดเมื่อมาวัดพระธาตุลำปางหลวง คือ ไหว้องค์พระธาตุเจดีย์ 




       วิหารพระพุทธ หรือวิหารลายคำ ไม่ปรากฎชื่อผู้สร้าง แต่คงมีอายุไม่น้อยกว่า 700 ปี และถูกบูรณะซ่อมแซมใน พ.ศ.2345  
( ที่มา : ป้ายหน้าสถานที่ท่องเที่ยว )       
ป้ายหน้าวิหารพระพุทธ หรือวิหารลายคำวัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

       จากป้ายหน้าวิหารเขียนเล่าว่า "วิหารลายคำ เดิมเป็นวิหารโถงเปิดโล่ง ศิลปะล้านนาฝีมือช่างลำปาง มีลวดลายลงรักปิดทองสวยงามมาก ไม่ปรากฎผู้สร้าง แต่มีอายุไม่น้อยกว่า 700 กว่าปี เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์หลวงเมืองเขลางค์ (หลวงพ่อพระพุทธ) เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์สามปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 209 นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกศ 225 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่มีลักษณะที่สวยงามที่สุดองค์หนึ่งของล้านนา"      

พระเจ้าองค์หลวงเมืองเขลางค์ (หลวงพ่อพระพุทธ) วิหารพระพุทธ หรือวิหารลายคำ วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

พระเจ้าองค์หลวงเมืองเขลางค์ (หลวงพ่อพระพุทธ) วิหารพระพุทธ หรือวิหารลายคำ วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

       วิหารพระเจ้าศิลา สร้างเมื่อ พ.ศ.1200 เศษ โดยพระเจ้ากรุงละโว้ พระบิดาของพระนางจามเทวี เพื่อประดิษฐานพระเจ้าศิลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้สมัยนั้น

วิหารพระเจ้าศิลา วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

วิหารพระเจ้าศิลา วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

วิหารพระเจ้าศิลา วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

วิหารพระเจ้าศิลา วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

        ซุ้มพระพุทธบาท สร้างครอบรอยพระพุทธบาท ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างประมาณ พ.ศ.1992 เจ้าเมืองหาญแต้ท้องเป็นผู้สร้าง ภายในซุ้มพระพุทธบาท สามารถมองเห็นเงาพระฐาตุและวิหารด้านมุมกลับ

ซุ้มพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

ซุ้มพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)


ซุ้มพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)


เงาพระธาตุกลับหัวภายในซุ้มพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)


เงาพระธาตุกลับหัวภายในซุ้มพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)


ซุ้มพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

       ผู้มาเยือนหรือนักท่องเที่ยวสามารถชมความงามของสถาปัยกรรมโบราณล้านนาได้รอบบริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวง สุขทุกที่ ณ ลำปางครับ
วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)
วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)


วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)

       และสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมอุปถัมภ์ได้มอบรับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี 2545 ให้กับวัดพระธาตุลำปางหลวง


     หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม สัมผัสเสน่ห์แห่งเมืองเหนือ ชมสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่เก่าแก่และงดงาม ไหว้พระธาตุประจำปีฉลู   "วัดพระธาตุลำปางหลวง (Phra That Lampang Luang Temple)" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ



วัดศรีชุม ( Wat Sri Chum ) จ.ลำปาง วัดศิลปะแบบพม่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย