หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กราบนมัสการพระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) ณ เมืองสองพระนอน จ.อ่างทอง

     วันนี้จะขอชวนทุกท่านไปกราบนมัสการ "พระนอนวัดขุนอินทประมูล" ณ เมืองสองพระนอน จ.อ่างทอง (พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน) ครับ ซึ่งการเดินทางไปวัดขุนอินทประมูลนั้นอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของเราเลยครับ (ภาพประกอบ : การเดินทางในวันที่ 27 เม.ย.2557)


      จ.อ่างทอง คำขวัญประจำจังหวัด คือ "พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน"  พระนอนหนึ่งในสองนั้นคือ "พระนอนวัดขุนอินทประมูล" ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ พระนอนที่วัดบางพลีใหญ่กลาง จ. สมุทรปราการ สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร ซึ่งยาว 53 เมตร ส่วนพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ยาว 47 เมตร
(ที่มา : wikipedia.org)

การเดินทาง : วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)
      วัดขุนอินทประมูล อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร แผนที่การเดินทางไปวัดขุนอินทประมูลอิงตามแผนที่ตามรูปด้านล่างครับ

ที่มาแผนที่ : http://www.angthong.go.th/2554/map-of-angthong.html 



แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)

สถานที่ตั้ง วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)
      วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

ประวัติ/ความสำคัญ วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)


     วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง จากประวัติความเป็นมา วัดนี้สำคัญมากในสมัยอยุธยา มีพระพุธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความยาว ๕๐ เมตร (๒๕ วา) สูง ๑๑ เมตร (๕ วา ๒ ศอก) หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านเรียกว่า “พระศรีเมืองทอง” เดิมเป็นพระไสยาสน์ประดิษฐานในวิหาร ต่อมาวิหารหักพังลงหมดจึงมองดูคล้ายประดิษฐานบนโคกเนิน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “โคกพระนอน” นอกจากนี้ยังมีอุโบสถและวิหารขนาดใหญ่ด้วย เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ วัดแห่งนี้ถูกไฟไหม้กลายเป็นวัดร้างอยู่ประมาณ ๑๐๐ ปี จนถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) วัดจึงได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้มีตำนานเรื่องเล่าหนึ่งว่า ชาวจีน เป็นนายอากรตำแหน่งที่ขุนอินทร์ ได้ยักยอกทรัพย์มาปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์จนถูกลงโทษ วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพระนอนขุนอินทประมูล” ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ.๒๔๒๑ และ พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ทรงแวะที่วัดแห่งนี้เพื่อนมัสการพระพุทธไสยาสน์ถึง ๒ ครั้ง และโปรดฯให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมา วัดขุนอินทประมูลได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ มีเนื้อที่ ๕๘ ไร่ ๒ งาน ๓๔ ตารางวา และกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะวัดและองค์พระตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (ที่มา : ป้ายบริเวณวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun))

ถึงจุดหมายการเดินทาง วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)
     เมื่อเดินทางมาถึงวัดขุนอินทประมูล สิ่งที่นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนจะมองเห็นมาแต่ไกล คือ พระนอน ซึ่งยาวเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สองที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 
     สิ่งที่นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนต้องทำหรือห้ามพลาด คือ กราบนมัสการพระนอน ซึ่งในอดีตนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ทรงแวะที่วัดแห่งนี้เพื่อนมัสการพระพุทธไสยาสน์ถึง ๒ ครั้ง

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 
     หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ กราบพระขอพร  “วัดพระนอนขุนอินทประมูล”  อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

ไหว้พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น