หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

กราบนมัสการพระธาตุดอยตุง (Wat Phra That Doi Tung) คนเกิดปีกุนไม่ควรพลาด

         พระธาตุดอยตุงเป็นพระธาตุที่หลายคนคงอยากไปกราบนมัสการนะครับ โดยเฉพาะคนที่เกิดปีกุนเพราะเป็นพระธาตุประจำปีเกิด วันนี้ชวนไปกราบนมัสการพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย (เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง)กัน



ประวัติ/ความสำคัญ : "พระธาตุดอยตุง" 


พระธาตุดอยตุง
         เว็บไซต์การท่องเที่ยวประเทศไทยเขียนบอกกล่าวเล่าว่า "ตำนานของพระธาตุดอยตุงกล่าวว่า นี่คือเจดีย์แห่งแรกในอาณาจักรล้านนาอันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ที่พระเจ้าอชุตราชทรงอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ต่อมาครูบาศรีวิชัยได้ทำการบูรณะ และได้มีการสร้างพระธาตุองค์ปัจจุบันครอบพระธาตุองค์เก่าไว้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากันว่าในอดีตได้มีการปักธงตะขาบ (ตุง) ที่มีความยาวถึงพันวาไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงไปตกที่ไหน ก็จะยึดเอาเป็นที่ตั้งพระสถูป เหตุนี้เองจึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อพระธาตุดอยตุง"
          และวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เขียนบอกกล่าวเล่าต่อว่า "พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลง นับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีย์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนึ่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
         ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 องค์พระธาตุทรุดโทรมมาก ครูบาเจ้าศรีวิชัย กับประชาชนชาวเมืองเชียงรายได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา การบูรณะครั้งหลังสุด มีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้
         ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งรุ่ง การมีชัยชนะ ในวัดจะมี รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3
         ในปี พ.ศ. 2549 กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอน องค์พระธาตุองค์เดิม โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคนท้องถิ่นไปทางจังหวัด และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ได้บูรณะไว้ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง เนื่องจากพระธาตุองค์เดิม 2 องค์ที่ตั้งอยู่เวลานั้น เป็นของใหม่ ได้มีการบูรณะเมื่อสามสิบปีเศษที่แล้ว ออกแบบโดยนายช่างสถาปนิกกรุงเทพฯ และเข้าใจว่าพระสถูปเดิมสมัยครูบาได้บูรณะไว้เมื่อแปดสิบปีที่แล้ว อาจถูกทับคล่อมอยู่ภายในองค์เดิม ซึ่งคณะทำงานได้มีการหารือทางเจ้าคณะอำเภอเรียบร้อยแล้ว และได้ให้นำพระสถูปเดิมที่ถอดออกมา ไปตั้งไว้ที่วัดพระธาตุน้อยดอยตุง อยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์ ครูบาศรีวิชัย ให้คืนกลับมาสภาพดังเดิมให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม 2550 โดยมีงบประมาณทั้งสิ้น 21 ล้านบาท รวมค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ อาทิเช่น ปรับปรุงพื้นที่ลานพระธาตุให้กว้างขึ้น รื้อโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์ เคลื่อนย้ายพระสังกัจจาย พระพุทธรูปองค์ใหญ่ในรูปปางต่างๆ นำไปตั้งประดิษฐานในสถานที่ที่เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ฐานบันไดนาคทางขึ้น เพื่อความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชน ซึ่งไปนมัสการพระธาตุเป็นจำนวนมากของทุกปี"

ที่ตั้ง : "พระธาตุดอยตุง"
           ต.ห้วยไคร้  อ.แม่สาย จ.เชียงราย
การเดินทางไป : "พระธาตุดอยตุง"
          การเดินทางไป "พระธาตุดอยตุง"  (รายละเอียดการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไป จ.เชียงราย)
          เส้นทางที่ 1 เริ่มจากอ.เมือง จ.เชียงราย รายละเอียดดังนี้ครับ (โดยรถยนต์)

 แผนที่การเดินทางจากจ.เชียงรายไปพระธาตุดอยตุง
( https://maps.google.com )

          เดินทางจากอ.เมือง จ.เชียงรายมุ่งสู่ดอยตุงโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถ.พหลโยธินไปทาง อ.แม่สาย ขับไปจนถึงทางหลวงหมายเลข 1149 แล้วเลี้ยวซ้าย (จะมีป้ายบอกทางไปดอยตุง) แล้วมุ่งหน้าสู่พระธาตุดอยตุงตามลำดับ

ป้ายบอกทางไปพระธาตุดอยตุง
          เส้นทางที่ 2 เริ่มจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย รายละเอียดดังนี้ครับ (โดยรถยนต์)
          ให้เลี้ยวเข้าซอยถนนเทศบาล5 ที่ อ.แม่สาย จากนั้นมุ่งหน้าสู่พระธาตุดอยตุงตามลำดับ

ไปพระธาตุดอยตุงจาก อ.แม่สาย

          เส้นทางที่ 2 เป็นเส้นทางที่ผมใช้เดินทางในวันนั้น (ขณะนั้นผู้เขียนเที่ยวอยู่ อ.แม่สาย จึงใช้เส้นทางนี้) ซึ่งเส้นทางนี้จะมีความลาดชันของถนนหลายจุดด้วยกัน ต้องใช้ความระมัดระวังในกับขับขี่รถยนต์มากขึ้นครับ

ถนนไปพระธาตุดอยตุงมาจาก อ.แม่สาย

วิวตามเส้นทางไปพระธาตุดอยตุงมาจาก อ.แม่สาย

           ทั้ง 2 เส้นทางจะมาบรรจบกันที่จุดนี้ครับ และขับมุ่งหน้าไปกรานมัสการพระธาตุดอยตุงอีกประมาณ 1 กม.ครับ

จุดบรรจบกันทั้ง 2 เส้นทางที่ไปพระธาตุดอยตุง

แผนที่สำหรับเดินทางไปพระธาตุดอยตุง

เดินทางถึงเป้าหมาย : "พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย"
       เมื่อถึงเป้าหมายแล้วเรามุ่งหน้าไปกราบนมัสการบูชาพระบรมสารีริกธาตุที่พระธาตุดอยตุงกันครับ (ภาพประกอบ : ถ่ายวันที่ 3 ม.ค.2558)

ป้ายพระธาตุดอยตุง
           ผังบริเวณวัดพระธาตุดอยตุง 

ผังบริเวณวัดพระธาตุดอยตุง 
       สิ่งที่ต้องทำและห้ามพลาดเมือมาถึงพระธาตุดอยตุง คือ กราบนมัสการพระธาตุดอยตุง โดยเฉพาะคนเกิดปีกุนต้องมาให้ได้ครับ

พระธาตุดอยตุง



พระธาตุดอยตุง

พระธาตุดอยตุง

พระธาตุดอยตุง

พระธาตุดอยตุง

บริเวณพระธาตุดอยตุง

พระธาตุดอยตุง

การกราบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุดอยตุง
       
ถนนเข้า-ออก พระธาตุดอยตุง
             ตอนเดินทางกลับ ณ จุดที่ถนนบรรจบกันระหว่าง 2 เส้นทางที่เดินทางมา จำเป็นต้องเลือกว่าจะเลี้ยวขวาหรือเลี้ยวซ้าย จะมีป้ายแจ้งเตือนทางลาดชัน ผิวถนนชำรุด อ่านแล้วชักจะสับสน ตอนมาผมมาด้านขวาจาก อ.แม่สาย ด้านซ้ายผมยังไม่เคยไป เพื่อความมั่นใจในการเดินทางผมก็เลยถามคนในพื้นที่ดีกว่าครับ คนในพื้นที่ยืนยันหนักแน่นว่า "เลี้ยวซ้ายทางดีกว่า" วันนั้นผมเลยเลี้ยวซ้ายตามคำแนะนำคนในพื้นที่ เมื่อเดินทางตามนั้นเลี้ยวซ้ายทางดีกว่าจริงๆครับ

เส้นทางบรรจบ 2 เส้นทางที่ใช้เดินทางมากราบนมัสการพระธาตุดอยตุง

             การขึ้นไปกราบนมัสการพระธาตุดอยตุงสะดวกมากกว่าแต่ก่อนครับ หากลองไปสอบถามคนที่เคยขึ้นไปกราบนมัสการพระธาตุดอยตุงในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมาจะบ่นเรื่องความยากลำบากในการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันนั้นสะดวกกว่าเดิมมากครับ
             หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมธรรมชาติ สัมผัสเสน่ห์แห่งขุนเขา กราบพระธาตุ  "พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...โดยเฉพาะคนเกิดปีกุนต้องไปนมัสการพระธาตุดอยตุงให้ได้ก่อนตายครับ...สวัสดีครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น