หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

Thai | English 

         วันนี้ชวนเที่ยวเมืองหลวงของเราครับ ไปตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho ) กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย) ครับ
           หลังจากคราวโน้นเราไปเที่ยวชมวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทำให้เราทราบเรื่องราวของประวัติศาสตร์ว่า พม่าได้เอาไฟสำรอกทองหุ้มองค์พระศรีสรรเพชญ์ คงเหลือแต่แกนในพระซึ่งทำด้วยสำริด เมื่อคราวตั้งกรุงเทพฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้อัญเชิญแกนในพระศรีสรรเพชญ์ลงไปด้วย ทรงสร้างพระเจดีย์หุ้มแกนพระองค์นี้เอาไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) แล้วถวายพระนามตามท่านว่า เจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณ วันนี้เรามาตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณครับ


ประวัติ/ความสำคัญ "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ( Wat Pho )" 


         จากเว็บไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho ) เขียนเล่าบอกกล่าวไว้ว่า "วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย
         พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจน
         มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ อำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น "วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม"
         ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาส สวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่ พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ"

สถานที่ตั้ง "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ( Wat Pho )" 
         2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหรานคร

การเดินทางไป "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ( Wat Pho )" 
         วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho ) สามารถเดินเท้าจากวัดพระแก้วไปเที่ยวชมได้ ดังแผนที่ด้านล่างครับ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

แผนที่สำหรับเดทางไปวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

เดินทางถึงเป้าหมาย "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ( Wat Pho )" 
            เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho ) ไปตามรอยประวัติศาสตร์ เดินเที่ยวชมวัด ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณครับ (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 15 ม.ค.2558 และ 2 เม.ย.2559)
           ก่อนเดินเที่ยว เดินชมความของศิลปะ สำรวจแผนผังวัดโพธิ์กันก่อนเที่ยวชมวัดกันก่อนครับ

แผนผังวัดโพธิ์

           จากแผนผังวัดโพธิ์เป้าหมายที่เรามาตามรอยนั่นคือ เจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณ อยู่จุดหมายเลข 2  หรือ "พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล" 
           หากเราเข้าวัดด้านถนนเชตุพน เราจะพบจุดในแผนผังคือหมายเลข 5 ก่อน "เขามอและฤษีดัดตน"

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

เขามอและฤษีดัดตน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
           เรามุ่งหน้าไปจุดหมายเลข 2 ตามเป้าหมายที่เรามาตามรอยนั่นคือ เจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณ  เมื่อเราไปถึงจุดหมาย จะมีป้ายแสดงข้อมูลตำแหน่งของพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

ป้ายแสดงข้อมูลตำแหน่งของพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
           จากข้อมูลป้ายแสดงข้อมูลตำแหน่งของพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล สามารถแสดงตำแหน่งอิงตามป้ายได้ดังรูปด้านล่างครับ

ตำแหน่งของพระมหาเจดีย์สี่รัชกาลอิงตามป้าย
           จากเว็บไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho ) เขียนเล่าไว้ว่า "พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์อยู่ในบริเวณกำแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่ พระมหาเจดีย์แต่ละองค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุมสูง ๔๒ เมตร ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ สังเกตได้ง่าย
           องค์ประกอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว นามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อครอบพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๑๖ เมตร ได้ชะลอมาจากพระราชวังที่กรุงศรีอยุธยา ภายในบรรจุพระบรมธาตุ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑
           พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ ๒ นับเป็นพระมหารัชกาลที่ ๒
           พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชถวายอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์
           พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินเข้ม เป็นพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย กรุงศรีอยุธยา นามว่า พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา"
           จากข้อมูลข้างต้นเรามุ่งหน้าไปตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณ ที่พระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑ จุดสังเกตุคือกระเบื้องเคลือบสีเขียวครับ ซึ่งครอบพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๑๖ เมตร จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ตามรอยจนเจอครับ ดังรูปด้านล่างเลยครับ

พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณ 
           หลังจากเราตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณจนเจอและบรรลุเป้าหมายที่เดินทางมาเที่ยวชมในครั้งนี้แล้ว เราก็ไปเที่ยวชมบริเวณอื่นๆของวัดกันต่อเลยครับ

พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน

พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร

พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย
          
พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์

พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์

พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์

          เมื่อมาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho ) สิ่งที่ไม่ควรพลาดหรือต้องทำอีกสิ่งหนึ่งคือ ไปกราบพระพุทธไสยาส ภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสตามแผนผังคือจุดหมายเลข 4 ครับ
          จากเว็บไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho ) เขียนเล่าไว้ว่า "พระวิหารพระพุทธไสยาส หรือวิหารพระนอนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในเขตพุทธาวาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระพุทธไสยาส ขึ้นคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ นอกจากพระวิหารจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสแล้ว ยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่บันทึกสรรพวิชารายล้อมรอบตัวพระวิหารตามแบบไทยประเพณี"


พระพุทธไสยาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

พระพุทธไสยาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

           พระมณฑป (หมายเลข 3 ในแผนผัง)

พระมณฑป (หมายเลข 3 ในแผนผัง) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )

พระมณฑป (หมายเลข 3 ในแผนผัง) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
           ยักษ์วัดโพธิ์ (หมายเลข 6 ในแผนผัง)

ยักษ์วัดโพธิ์ (หมายเลข 6 ในแผนผัง)

ยักษ์วัดโพธิ์ (หมายเลข 6 ในแผนผัง)
           และก่อนกลับเรามุ่งหน้าไปกราบพระขอพรอีกจุดนั่นคือ พระอุโบสถ ตามแผนผังคือหมายเลข 1 ครับ

พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
           จากเว็บไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho ) เขียนเล่าไว้ว่า "พระอุโบสถ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน เขตวิสุงคามสีมา หรือพระอุโบสถ เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุด โดยสร้างสมัยรัชกาลที่ ๑ ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย และขยายใหญ่ขึ้นเท่าที่เห็นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซุ้มจรณัมประจำประตูหน้าต่างฉลัก (สลัก) ด้วย ไม้แก่น ยอดเป็นทรงมงกุฎลงรักปิดทอง ประดับกระจก บานประตูพระอุโบสถ ด้านนอกลายประดับมุก เป็นลายภาพเรื่อง รามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้ำรูปพัดยศพระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง
           พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร ที่ฐานชุกชีก่อไว้ ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๑ ไว้ ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ฐานชุกชี ชั้นล่างสุดประดิษฐาน พระมหาสาวก ๘ องค์ (พระอรหันต์ ๘ ทิศ)"


            หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ตามรอยประวัติศาสตร์ "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ( Wat Pho )"  อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น (The History of Japanese Art : Life and Faith) นิทรรศการพิเศษความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น
พระเมรุมาศ(The Royal Crematorium) และนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชการที่ 9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น