พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี |
- อุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)" จ.กาญจนบุรี เขาบอกว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้วคงเหลือแต่องค์จำลองไว้ที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
พระพุทธรูปศิลาขาว นครปฐม |
- วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร (Wat Phra Pathom Chedi Racha Worawihan ) จ.นครปฐม ปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เขาบอกว่า ปัจจุบัน พระพุทธรูปศิลาขาว ทั้งสี่องค์ ได้ประดิษฐานไว้เป็นที่แน่นอนดังนี้
- ประดิษฐานเป็นประธานในอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ฯ
- ประดิาฐาน ณ ลานทักษิณชั้นลดด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์
- ประดิษฐานใว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ประดิษฐานใว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
ป้ายหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) |
ป้ายหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เขียนเล่าบอกกล่าวไว้ว่า "เดิมเป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 4 จัดก็บรักษาศิลปโบราณวัตถุและเครื่องราชบรรณาการ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้ศาลาสหทัยสมาคม (หอคองคอเดีย) ในพระบรมมหาราชวัง จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน ขึ้น จากนั้นพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายมายัง พระที่นั่งสามองค์ ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานพระที่นั่งและหมู่พระวิมานทั้งหมดในวังหน้า ให้ป็น พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร โดยได้จัดพื้นที่สำหรับการแสดงออกเป็น 3 หมวด คือ
- ประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน
- ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ยุค โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกข์ด้านหลัง ส่วนสมัยประวัติศาสตร์ จัดแสดงประติมากรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ที่อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และประติมากรรมสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 จัดแสดงในอาคารมหาสุรสิงหนาถ
- ประณีตศิลป์และชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงเครื่องดนตรี เครื่องถม เครื่องถ้วย เครื่องทอง เครื่องมุก เครื่องไม้จำหลัก เครื่องสูง ผ้าโบราณ หัวโขน หุ่นกระบอก ฯลฯ ในอาคารหมู่วิมาน
อาคารโรงราชรถ จัดแสดงราชรถที่ใช้ในการพระบรมศพ และเครื่องประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2417 ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ.2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"
ต่อมาในปี พ.ศ.2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับ พระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก คัมภีร์ ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2477"
สถานที่ตั้ง "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร"
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เวลาเปิด-ปิด "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร"
การเดินทางไป "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร"
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) อยู่ไม่ไกลจากวัดพระแก้วสามารถเดินเท้ามาเที่ยวชมได้ ดังแผนที่ด้านล่างครับ
แผนที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )
เมื่อเดินทางถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) ไปตามชมโบราณวัตถุของจริง ตามรอยประวัติศาสตร์กันครับ (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 2 เม.ย.2559)
แผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) ป้ายหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
2.พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
3.อาคารมหาสุรสิงหนาท ประวัติศาสตร์ศิลปะไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18
4.อาคารประภาสพิพิธภันฑ์ ประวัติศาสตร์ศิลปะไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18
5.พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยและหมู่พระวิมาน
6.พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์
7.โรงราชรถ
8.พระตำหนักแดง
9.ศาลาสำราญมุขมาตย์
10.พระที่นั่งมังคลาภิเษก
11.พระที่นั่งปาฏิหารย์ทัศไนย
12. ศาลาลงสรง
13.เก๋งนุกิจราชบริหาร
14. หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช
( เพื่อความกระชับของเนื้อหา ผู้เขียนจะแยกเนื้อหารออกเป็นหลายๆตอน และจะนำมาใส่ลิงค์คลิกอ่านรายละเอียดตามหมายเลขการจัดแสดงข้างบนต่อไป )
ก่อนเข้าไปตามรอยประวัติศาสตร์ เราสังเกตุป้ายข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติก่อนครับ
ไปดูไปตามชมโบราณวัตถุของจริง ตามรอยประวัติศาสตร์ ตามหา พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ซึ่งจะจัดแสดงไว้ที่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทยครับ ( ในแผนผังคือหมายเลข 1 )
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย |
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย |
มุ่งหน้าตามรอยประวัติศาสตร์ดังเป้าหมายที่อยากมาชมความงดงามของโบราณศิลปะครับนั่นคือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ของจริงที่กรมศิลปากรได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่นี่
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี |
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี |
ทัศนาความงดงามของโบราณวัตถุ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี องค์จริงให้เต็มความอยากเห็นครับ และไปดื่มด่ำกับความงดงามของโบราณวัตถุชิ้นอื่นๆ ที่สำคัญในทุกชิ้นที่ได้นำมาจัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย และร่วมภาคถูมิใจกับประวัติศาสตร์ชาติไทยร่วมกันต่อครับ
พระวิษณุ จากเทวสถานสำหรับพระนคร (ุ600-700 ปีมาแล้ว) |
พระอิศวร จากเทวสถานสำหรับพระนคร (ุ600-700 ปีมาแล้ว) |
พระเศียรพระพุทธรูป ขุดพบในวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ (ุ500 ปีมาแล้ว) |
ทับหลังภาพวิษณุอนันตศายิน (นารายณ์บรรทมสินธุ์) จากปราสาทกู่สวนแตง (ุ900 ปีมาแล้ว) |
ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ.1835 |
พระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก จากวัดหน้าพระเมร (ุ900 ปีมาแล้ว) |
หลังเราชมความงดงามของโบราณวัตถุชิ้นต่างๆ ที่สำคัญที่ได้นำมาจัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย เรียบร้อยแล้ว เราก็ไปตามรอยประวัติศาสตร์ ตามหาเป้าหมายต่อไปของเรากันต่อครับนั่นคือ พระพุทธรูปศิลาขาว จากการสอบถามเจ้าหน้าที่เพื่อหาจุดแสดงพระพุทธรูปศิลาขาว ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ในส่วนการแสดงของพระพุทธรูปศิลาขาว(ในวันที่เข้าชม) กำลังปรับปรุงซ่อมบำรุงอาคาร ยังไม่เปิดให้เข้าชม หากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครได้ดำเนินการปรับปรุงซ่อมบำรุงอาคารดังกล่าวเรียบร้อยและเปิดให้เข้าชมจะได้กลับมาตามรอยประวัติศาสตร์กันต่อไปครับ
เราไปตามรอยประวัติศาสตร์ดูส่วนแสดงอื่นๆ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครต่อครับ
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ( ในแผนผังคือหมายเลข 2 ) |
พระตำหนักแดง ( ในแผนผังคือหมายเลข 8 ) |
ศาลาสำราญมุขมาตย์ ( ในแผนผังคือหมายเลข 9 ) |
พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยและหมู่พระวิมาน ( ในแผนผังคือหมายเลข 5 ) |
โรงราชรถ ( ในแผนผังคือหมายเลข 6 ) |
ศาลาลงสรง ( ในแผนผังคือหมายเลข 12 ) |
หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ตามชมโบราณวัตถุของจริง ตามรอยประวัติศาสตร์ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ
หอกลอง ( Drum Tower )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น