My latest images for sale at Shutterstock:

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เยือนอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)" จ.กาญจนบุรี

     วันนี้ชวนทุกท่านไปเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park) จ.กาญจนบุรี  (แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก) ครับ


อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

ประวัติ/ความสำคัญ "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park) จ.กาญจนบุรี" 
        เนื่องจากปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พระพรรษา รัฐบาลได้มีนโยบายให้มีการเฉลิมฉลองสมโภชยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ กรมศิลปากร ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีดำริเพื่อจะดำเนินการเพื่อสนองนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล เช่นการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวทั่วไปได้เข้าชมและศึกษาหาความรู้ อุทยานประวัติศาสตร์ที่กรมศิลปากรมีกำหนดเปิดเป็นทางการเป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ คือ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากขอมอันมีอยู่เพียงแห่งเดียวทางภาคตะวันตกของประเทศไทย และตั้งอยู่ที่ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยเหตุนี้กรมศิลปากรจึงมีดำริและพิจารณาให้โครงการอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์เร่งดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะ อีกทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตโบราณถสานแห่งนี้ให้แล้วเสร็จทันการเฉลิมฉลองดังกล่าว

หลุมฝังศพมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังร่วมกับศพ
       หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบที่ในบริเวณเมืองสิงห์นั้น ได้จากการขุดค้นบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ หลักฐานดังกล่าวเป็นหลุมฝังศพมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังร่วมกับศพ อาทิเช่นภาชนะดินเผา แวดินเผา ภาชนะสำริด ขวานสำริด ทัพพีสำริด กำไลสำริด ลูกปัดหินอะเกตและคาร์นีเลียน กำไลหิน ลูกปัดแก้ว กำไลเปลือกหอย ฯลฯ หลักฐานเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่พบที่บ้านดอนตราเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในราวปลายยุคโลหะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีคนเข้ามาทำกิจกรรมก่อนหน้าที่จะสร้างเมืองเป็นเวลานานนับพันปี แต่น่าเสียดาย ที่ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมของบริเวณนี้จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาสู่ยุคที่มีการสร้างเมือง
        ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงปกครองบ้านเมืองคงจะมีพระราชดำริว่า เมืองสิงห์เป็นเมืองเล็กไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองปกครอง และในทำเนียบศักดินาหัวเมืองก็ไม่ปรากฏชื่อเมืองสิงห์อยู่เลย จึงเป็นที่เข้าใจว่าเมื่อขอมหมดอำนาจลงแล้ว เมืองสิงห์ก็คงถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้างไป เมืองสิงห์ปรากฏหลักฐานอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองสิงห์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่มีฐานะเป็นเพียงเมืองหน้าด่านเล็กๆ มีเจ้าเมืองปกครองและขึ้นอยู่กับเมืองกาญจนบุรี แต่เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่กันดาร เจ้าเมืองจึงไม่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี้ แต่ทว่าไปอยู่ที่บ้านโป่ง และส่งหมวดลาดตระเวณไปคอยตรวจตราเป็นประจำ เจ้าเมืองจะขึ้นไปบัญชาการที่เมืองนี้ก็เฉพาะแต่กรณีฉุกเฉินบางครั้งบางคราวเท่านั้น
         ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานนามให้แก่เจ้าเมืองต่างๆ ที่ครองเมืองด่านเล็กๆ ตามลำน้ำแควน้อยนี้ใหม่ทั้งหมด เช่น โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเจ้าเมืองไทรโยคว่าพระนิโครธาภิโยค พระราชทานนามเจ้าเมืองท่าตะกั่วว่า พระชินดิษฐบดี สำหรับเมืองสิงห์เจ้าเมืองได้รับพระราชทานนามว่า "พระสมิงสิงห์บุรินทร์"

(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินตามลำน้ำแควน้อย ประพาสยังหมู่น้ำตกไทรโยค และทรงทอดพระเนตรปราสาทเมืองสิงห์ เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกัยวันที่ 29 มกราคม พุทธศักราช 2420 เวลา 10.30 - 11.30 นาฬิกา)
         เมืองสิงห์ยังคงดำรงฐานะเป็นเมืองเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ ครั้งนี้เมืองสิงห์ถูกลดฐานะลงเป็นตำบลเรียกกันว่าตำบลสิงห์เรื่อยมาจนทุกวันนี้
         เมืองสิงห์ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองสิงห์เป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ เรื่องกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ แต่ยังไม่ได้กำหนดขอบเขต การกำหนดขอบเขตโบราณสถานมีขึ้นในปี ๒๕๐๓ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๖๐ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๐๓ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๗๑๘ ไร่ ๓ งาน และกรมศิลปากรได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๓ ถึงกรมที่ดิน เพื่อขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เมื่อพนักงานที่ดินจังหวัดดำเนินการรังวัดสอบเขต แล้วจึงได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง มีเนื้อที่ ๖๔๑ ไร่ ๑ งาน ๖๕ ตารางวา โดยกรมศิลปากรได้รับหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนี้ไว้เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๐๕
         หลังจากนั้นจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงได้เริ่มดำเนินการเพื่อการบูรณะพัฒนาพื้นที่ โดยการดำเนินการถากถางทำความสะอาด ขุดแต่งขุดค้น บูรณะโบราณสถาน ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น และดำเนินการจัดการในรูปของอุทยานประวัติศาสตร์ เมื่อการดำเนินการเสร็จ จึงได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๐ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธี และนับว่าเป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย (ที่มา: www.muangsinghp.com)
สถานที่ตั้ง
     ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี  71150

การเดินทางไป "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park) จ.กาญจนบุรี"
     อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park) อยู่ที่  ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหาครไม่ไกลนนัก (รายละเอียดการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไป จ.กาญจนบุรี) เราเริ่มต้นจากตัวเมืองกาญจนบุรีแล้วเดินทางต่อไปอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park) รายละเอียดการเดินทางดังนี้ครับ(โดยรถยนต์)

 แผนที่การเดินทางจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ 
 ( https://maps.google.com )


แผนที่สำหรับเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)
  • ขับจากตัวเมืองกาญจนบุรีให้ขับมุ่งหน้าไปทาง อ.ไทรโยค (หลวงหมายเลข 323) ประมาณ 30 กม. จะมีป้ายบอกทางไป อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายมือ (ทางหลวงหมายเลข 3455 )  แล้วขับมุ่งหน้าไปอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
  • ขับไปอีกประมาณ 10 กม. จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (สังเกตุป้ายบอกทางไปอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์) 

เดินทางถึงเป้าหมายแล้วไปเที่ยวที่ไหนดี


แผนผังอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (ที่มา : www.muangsinghp.com)
๑. โบราณสถานหมายเลข ๑
๒. โบราณสถานหมายเลข ๒
๓. โบราณสถานหมายเลข ๓
๔. โบราณสถานหมายเลข ๔
๕. อาคารจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุ
๖. สำนักงาน
๗. ร้านอาหาร ลานจอดรถ
๘. สุขา
๙. อาคารเอนกประสงค์
๑๐. เรือนพักรับรอง
๑๑. บ้านพักเจ้าหน้าที่
๑๒. หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
๑๓. ป้อมยามรักษาการณ์
๑๔. ป้อมจำหน่ายบัตร
๑๕. คูน้ำคั้นดิน
๑๖. สวนหิน
๑๗. สระ
๑๘. ศาลาพัก
๑๙. หมู่บ้านราษฎร
๒๐. ประตูเมือง
๒๑. กำแพงเมือง


         เมื่อเดินทางถึงอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)" จ.กาญจนบุรี (รายละเอียดค่าธรรมเนียมการเข้าชมและเวลาเปิด-ปิด)   ไปเที่ยวชมโบราณสถาน โบราณศิลปะครับ (ภาพประกอบ : การเดินทางวันที่ 24 ตุลาคม 2557)

ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

ป้ายบอกทางโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

บัตรเข้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑  (รายละเอียดโบราณสถานหมายเลข ๑)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี (องค์จริงอยู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี (องค์จริงอยู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี (องค์จริงอยู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๑ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๒ (รายละเอียดโบราณสถานหมายเลข ๒)

โบราณสถานหมายเลข ๒ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

ประตูเมือง,กำแพงเมือง

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

ประตูเมือง,กำแพงเมือง อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

ประตูเมือง,กำแพงเมือง อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)


สระ
สระ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๓  (รายละเอียดโบราณสถานหมายเลข ๓)

โบราณสถานหมายเลข ๓ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

โบราณสถานหมายเลข ๓ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี (รายละเอียดหลุมขุดค้นทางโบราณคดี)

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

แม่น้ำแควน้อย
         อุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)" จ.กาญจนบุรี เป็นโบราณสถานแห่งภาคตะวันตกของเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดที่จะมาเที่ยวชมกันครับ
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park)

         หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมโบราณสถาน "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Muang Sing Historical Park) จ.กาญจนบุรี"  อีกหนึ่งถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ( Huay Maekamin Waterfall ) จ.กาญจนบุรี
สะพานข้ามแม่น้ำแคว ( The Bridge on the River Kwai ) จ.กาญจนบุรี
ตามรอยหนังเรื่อง "The Railway Man" ที่ ช่องเขาขาด ( Hellfire Pass )
สะพานไม้ทางรถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สะพานถ้ำกระแซ (Thamkrasae Bridge) จ.กาญจนบุรี
ตลาดน้ำกองถ่ายฯค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี
สักการะบูชาพระบรมสาริกธาตุ กราบพระวัดถ้ำเสือ จ.กาญจนบุรี
ชมทิพยนาวาอาชาไนย และกราบพระวัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี
เยือนวัดเสาร้อยต้น ประเทศพม่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น