My latest images for sale at Shutterstock:

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แก่งสะพือ( Kaeng Saphue) แก่งที่สวยงามที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี

     วันนี้ชวนไปเยือน "แก่งสะพือ" แก่งที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี (อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล) ซึ่งอยู่ที่ อ.พิบูลมังสาหาร ( พิบูลมังสาหารงามวิไล พระปรมาภิไธยล้ำค่า มหาสงกรานต์แก่งสะพือ เลื่องลือเมืองฆ้อง ถิ่นทองภักษาหาร ตระการตาวัดภูเขาแก้ว )

ประวัติ/ความสำคัญ  "แก่งสะพือ ( Kaeng Saphue)"
      เป็นแก่งที่สวยงามในแม่น้ำมูล ในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมือง อุบลราชธานี 45 กิโลเมตร เป็นแก่งที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี จะมีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหินแล้วเกิดเป็นฟองขาว มีเสียงดังตลอดเวลาช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม จะมีผู้นิยมไปเที่ยวกันมากเพราะว่าน้ำจะลดทำให้เห็นแก่งได้ชัดเจนและสวยงาม ในช่วงสงกรานต์เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหารได้กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่แก่งสะพือ ซึ่งในงานนี้จะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมาเที่ยวชมงานเป็นจำนวนมาก (ที่มา : http://123.242.163.1:8050/province/doc/ubontravel.pdf )

แก่งสะพือ( Kaeng Saphue)

     จากป้ายได้เขียนจารึกที่ก้อนหินใหญ่ไว้ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาทได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนพสกนิกร ชาวพิบูลมังสาหาร เมื่อ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๘"

การเดินทางไป "แก่งสะพือ ( Kaeng Saphue)"



     "แก่งสะพือ" อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยใน จ.อุบลราชธานี ( อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่นำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล ) แผนที่การเดินทางไป "แก่งสะพือ" รายละเอียดดังนี้ครับ
      แผนที่เดินทางจาก จ.อุบลราชธานี ไปแก่งสะพือ

(ที่มารูปภาพ : ป้ายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

     ออกจาก อ.เมือง จ.อุบลราชธานีมุ่งหน้าไป อ.พิบูลมังสาหาร ตามถนนหมายเลข 217 ซึ่งแก่งสะพืออยู่ในเขตเทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร อ.พิบูลมังสาหาร

สถานที่ตั้ง "แก่งสะพือ ( Kaeng Saphue)"
     อ.พิบูลมังสาหาร  จ.อุบลราชธานี

เดินทางถึงเป้าหมาย "แก่งสะพือ ( Kaeng Saphue)"
     (ภาพการเดินทางในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556)

ตลาดบริเวณแก่งสะพือ( Kaeng Saphue)

แก่งสะพือ( Kaeng Saphue)

แก่งสะพือ( Kaeng Saphue)

แก่งสะพือ( Kaeng Saphue)

แก่งสะพือ( Kaeng Saphue)
     หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ เดินดมน้ำ "แก่งสะพือ( Kaeng Saphue)" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

เดินตลาดฝั่งลาวและไทยที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก (Chong Mek Border Check Point) จ.อุบลราชธานี
ชมตะวันขึ้นก่อนใครในสยามที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม (Pha Taem National Park) จ.อุบลราชธานี
เสาเฉลียง (Sao Chaliang) อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี
แม่น้ำสองสี อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
วัดถ้ำคูหาสววรค์ อดอัดอุด บริสุทธิ์ในธรรม

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไปดูหาดทรายยาวสุดลูกหูลูกตากับแนวสนและลมทะเลที่ หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach ) จ.ระยอง

    วันนี้จะชวนทุกท่านไปดูหาดทรายยาวสุดลูกหูลูกตากับแนวสนและลมทะเลที่ หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach ) จ.ระยอง (ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก) ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมรู้จักกับหาดแม่รำพึงครั้งแรกเมื่อสมัยตอนเป็นนักเรียนประมาณปี พ.ศ.2538 กับกิจกรรม "การไปรับน้องที่หาดแม่รำพึง" และประมาณต้นปี พ.ศ.2543 ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยกับกิจกรรม "สังสรรค์ก่อนอำลา" และวันนี้ (5 พ.ค.2557) ขอย้อนกลับไปเยือนอีกครั้งครับ (ซึ่งมาระยองทีไร ผ่านมาและก็ผ่านไปไม่ได้มาแวะสักทีครับ...) ไปด้วยกันเลยครับ

การเดินทางไป หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )
     การเดินทางไประยองสามารถเดินทางสะดวกไปได้หลายเส้นทาง แผนที่เดินทางไปหาดแม่รำพึงตามรูปด้านล่างครับ
(ที่มารูปภาพ : th.wikipedia.org)

(ภาพจากป้ายการท่องเทียวแห่งประเทศไทยบริเวณหาดแม่รำพึง)

      แผนที่เดินทางจากกรุงเทพมหานครไปหาดแม่รำพึง



แผนที่สำหรับเดินทางไปหาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )
สถานที่ตั้ง : หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )
     อ.เมือง จ.ระยอง

ประวัติ/ความสำคัญ หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )


      ป้ายบริเวณหาดแม่รำพึงเขียนบอกกล่าวเล่าว่า "หาดที่สวยที่สุดในจังหวัดระยอง ด้วยชายหาดยาว 12 กิโลเมตร ถนนเลียบชายหาดยาว 10 กิโลเมตร น้ำทะเลใส มีความชัยน้อย ชายหาดเหมาะแก่การเล่นน้ำ มีโรงแรมที่พักหลายระดับราคาและร้านอาหารทะเลมากมาย เป็นจุดชมวิวและพระอาทิตย์ตกที่สามารถมองเห็นหาดแม่ลำพึงและเกาะเสม็ดในคราวเดียวกัน จึงนับได้ว่าเป็นที่ๆสวยงามแห่งหนึ่งบนฝั่งอ่าวไทย

หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )
     นอกจากนี้หาดแม่รำพึง ยังเป็นที่นิยมของคนชอบอาหารทะเล ตลอดแนวชายหาดเป็นสิบกิโลเมตร ทั้งสองข้างทางเต็มไปด้วยร้านอาหารทะเลสดๆและบังกะโล รีสอร์ท คอนโดมิเนียม หาดแห่งนี้มีนักท่องเที่ยวแวะมาตลอดปีทั้งตั้งใจมาพัก และเพียงทางผ่านก่อนกลับกรุงเทพ เพื่อมาทานอาหารทะเลสดๆ ทั้งยังเป็นที่นิยมของชาวระยองเอง ด้วยบรรยากาศริมทะเลหาดทรายยาวสุดลูกหูลูกตา แนวสนและลมทะเล วันหยุด วันพักผ่อนสั้นๆก็เดินทางมาเพื่อสังสรรค์กับเพื่อนฝูงหรือครอบครัว


      บริเวณระหว่างกลางของหาดแม่รำพึง มีลานหินขาว ซึ่งถูกจัดเป็นสวนสาธารณะ ลักษณะเป็นสวนหิน มีที่นั่งพัก เย็นๆจะเห็นนักท่องเที่ยวแวะมานั่งเล่นมากมาย บรรยากาศเหมาะแก่การพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง"

เดินทางถึงจุดหมาย หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )




หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )

หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )

หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )

หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )

หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )
      บริเวณหาดแม่รำพึงจะมีป้ายเตือนระวังอันตรายและข้อควรปฏิบัติเมื่อมาเยือนชายหาด เพื่อความปลอดภัยในการท่องเที่ยวครับ

ป้ายเตือนระวังอันตรายและข้อควรปฏิบัติ

ป้ายเตือนระวังอันตรายและข้อควรปฏิบัติ

ป้ายเตือนระวังอันตรายและข้อควรปฏิบัติ
     "ลานหินขาว" เป็นสวนสาธารณะ ลักษณะเป็นสวนหิน มีที่นั่งพัก บรรยากาศเหมาะแก่การพักผ่อนเป็นอย่างยิ่งครับ

ลานหินขาว หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )

ลานหินขาว หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )
     เย็นๆ นักท่องเที่ยวหลายๆ คนจะไม่พลาดการมาถ่ายรูปพระอาทิตย์ตกที่หาดแม่ลำพึง

หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach )
       หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ดูหาดทรายยาวสุดลูกหูลูกตากับแนวสนและลมทะเล "หาดแม่รำพึง ( Mae Rumphueng Beach ) จ.ระยอง" คือสถานที่หนึ่งในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดครับ...สวัสดีครับ

จุดชมวิวแหลมสน (Laem Son Scenic Area) ชมทะเล ชมเรือรบหลวงประแสร์ (H.T.M.S.Prasae)
แหลมแม่พิมพ์ (Laem Mae Phim) หาดสวยถนนเฉลิมบูรพาชลทิต
ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ถนนของการเที่ยวภาคตะวันออกในจันทบุรีและระยอง ( Chaloem Burapha Chonlathit Road)

วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไหว้พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

      วันชวนไปขับรถชมวิวไหว้พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ "วัดม่วง" จ.อ่างทอง (พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน) ครับ (ภาพประกอบ : การเดินทางวันที่ 27 เม.ย.2557)

การเดินทางไป  วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )
        วัดม่วงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร ถ้าตั้งต้นจาก กรุงเทพ ไปตามถนนสายเอเชีย แล้วเข้าตัวเมืองอ่างทอง ผ่านตลาดแล้วเลี้ยวขวา ผ่านหน้าเรือนจำ เจอทางแยกเลี้ยวซ้าย (ไปสุพรรณบุรี) ไปตามเส้นทางสาย โพธิ์พระยาท่าเรือ วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เห็นพระพุทธรูปแต่ไกล ( http://www.watmuang.com/contactus.php )

แผนที่เดินทางไปวัดม่วง

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดม่วง

สถานที่ตั้ง  วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )
      วัดม่วงตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

ประวัติ/ความสำคัญ :  วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )


      เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ณ. แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก
     เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ เพราะท่านพระครู เป็นผู้มีบารมี ที่สามารถจะก่อสร้างบูรณะวัดม่วง ขึ้นมาใหม่ได้ด้วย ผู้ที่เคยอาศัยในสมัยก่อนได้มาเกิด และจะมาช่วยท่านแล้ว และในบริเวณวัดร้างนี้จะมีศิลาขาว และศิลาแดงอยู่ คือ องค์ของหลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง นั้นเอง ซึ่งต่อมาท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการปั้นองค์พระครอบศิลาขาว และศิลาแดงไว้ โดยเรียกนามว่า หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง จนถึงปัจจุบันนี้
      ในปีพ.ศ. ๒๕๒๖ ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการเริ่มบูรณะและได้สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้น โดยได้รับการบริจาค ทั้งเงินทำบุญ และทำบุญด้วยแรงงาน ร่วมกันดำเนินงานในการก่อสร้าง
      จนกระทั้งวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีการประกาศยกฐานะให้วัดม่วง ซึ่งเคยเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ และเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีการแต่งตั้งท่านพระครูวิบูลอาจารคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วง
      เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดม่วง ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านพระวิบูลอาจารคุณ ได้ร่วมพลังจิตอธิฐานร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อน้อมถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระนามว่า พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ มีหน้าตักกว้าง ๖๒ ม. สูง ๙๓ ม. และเมื่อวันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๙.๐๐ น. ได้วางศิลาฤกษ์ โดยสมเด็จพระโฆษาจารย์ วัดสุวรรณดาราม กรุงเทพมหานครเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระครูวิบูลอาจารคุณ (หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) เป็นประธานฝ่ายดำเนินการก่อสร้าง และหาทุน และให้กฤษ์การก่อสร้าง ก่อสร้างมาจนสำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ รวมเป็นเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๖ ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๕๐ (ที่มา : ป้ายบริเวณวัดม่วง)

ถึงจุดหมาย  วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )
      เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงวัดม่วงสิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาด คือ กราบนมัสการพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก "พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" ครับ

พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )
      และบริเวณวัดม่วงยังมีคติธรรมผ่านประติมากรรมรูปปั้นต่างหลากหลายมุม หลากหลายเรื่องราวครับ นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนจะได้คติธรรมหลายๆคติธรรมครับ

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )

วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )
        หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ การมาไหว้พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่  "วัดม่วง"  อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กราบนมัสการพระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) ณ เมืองสองพระนอน จ.อ่างทอง

     วันนี้จะขอชวนทุกท่านไปกราบนมัสการ "พระนอนวัดขุนอินทประมูล" ณ เมืองสองพระนอน จ.อ่างทอง (พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน) ครับ ซึ่งการเดินทางไปวัดขุนอินทประมูลนั้นอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของเราเลยครับ (ภาพประกอบ : การเดินทางในวันที่ 27 เม.ย.2557)


      จ.อ่างทอง คำขวัญประจำจังหวัด คือ "พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน"  พระนอนหนึ่งในสองนั้นคือ "พระนอนวัดขุนอินทประมูล" ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ พระนอนที่วัดบางพลีใหญ่กลาง จ. สมุทรปราการ สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร ซึ่งยาว 53 เมตร ส่วนพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ยาว 47 เมตร
(ที่มา : wikipedia.org)

การเดินทาง : วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)
      วัดขุนอินทประมูล อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร แผนที่การเดินทางไปวัดขุนอินทประมูลอิงตามแผนที่ตามรูปด้านล่างครับ

ที่มาแผนที่ : http://www.angthong.go.th/2554/map-of-angthong.html 



แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)

สถานที่ตั้ง วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)
      วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

ประวัติ/ความสำคัญ วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)


     วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง จากประวัติความเป็นมา วัดนี้สำคัญมากในสมัยอยุธยา มีพระพุธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความยาว ๕๐ เมตร (๒๕ วา) สูง ๑๑ เมตร (๕ วา ๒ ศอก) หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านเรียกว่า “พระศรีเมืองทอง” เดิมเป็นพระไสยาสน์ประดิษฐานในวิหาร ต่อมาวิหารหักพังลงหมดจึงมองดูคล้ายประดิษฐานบนโคกเนิน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “โคกพระนอน” นอกจากนี้ยังมีอุโบสถและวิหารขนาดใหญ่ด้วย เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ วัดแห่งนี้ถูกไฟไหม้กลายเป็นวัดร้างอยู่ประมาณ ๑๐๐ ปี จนถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) วัดจึงได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้มีตำนานเรื่องเล่าหนึ่งว่า ชาวจีน เป็นนายอากรตำแหน่งที่ขุนอินทร์ ได้ยักยอกทรัพย์มาปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์จนถูกลงโทษ วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพระนอนขุนอินทประมูล” ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ.๒๔๒๑ และ พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ทรงแวะที่วัดแห่งนี้เพื่อนมัสการพระพุทธไสยาสน์ถึง ๒ ครั้ง และโปรดฯให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมา วัดขุนอินทประมูลได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ มีเนื้อที่ ๕๘ ไร่ ๒ งาน ๓๔ ตารางวา และกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะวัดและองค์พระตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (ที่มา : ป้ายบริเวณวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun))

ถึงจุดหมายการเดินทาง วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun)
     เมื่อเดินทางมาถึงวัดขุนอินทประมูล สิ่งที่นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนจะมองเห็นมาแต่ไกล คือ พระนอน ซึ่งยาวเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สองที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 
     สิ่งที่นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนต้องทำหรือห้ามพลาด คือ กราบนมัสการพระนอน ซึ่งในอดีตนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ทรงแวะที่วัดแห่งนี้เพื่อนมัสการพระพุทธไสยาสน์ถึง ๒ ครั้ง

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

พระนอนวัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 

วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Intrapramun) 
     หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ กราบพระขอพร  “วัดพระนอนขุนอินทประมูล”  อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

ไหว้พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง ( Wat Muang )