My latest images for sale at Shutterstock:

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam) จิตรกรรมสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทย


         วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)  อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  ชวนไปดูความงดงามของจิตรกรรมสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทยครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)



         ป้ายบริเวณวัดสุวรรณดารารามเขียนเล่าเกี่ยวกับวัดว่า "วัดสุวรรณดาราราม อยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันออกลงมาทางใต้ ใกล้ป้อมเพชร วัดสุวรรณดารารามเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สถาปนาขึ้นโดยพระสุนทรอักษร (ทองดี) พระชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ บริเวณอันเป้นนิวาสสถานเดิมของตระกูล วัดแห่งนี้เดิมชื่อว่า "วัดทอง"


วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam) 

          ต่อมาในปี พ.ศ.2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พร้อมด้วยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระอนุชาได้ทรงร่วมกันบูรณ ปฏิสังขรวัดแห่งนี้และโปรดเกล้าฯ ถวายนามวัดใหม่ว่า "วัดสุวรรณดาราราม"
          สิ่งก่อสร้างในวัดได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ 4 และปฏิสังขรครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ในคราวสมโภชกรุงเทพฯ ครบ 150 ปี"


         ป้ายบริเวณวัดสุวรรณดารารามอีกป้ายเขียนเล่าเกี่ยวกับวัดต่อว่า "ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหาร เป็นภาพเขียนด้วยสีน้ำมันเล่าเรื่องเกี่ยวกับพงศาวดารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เขียนตามช่องว่างระหว่างประตูและหน้าต่าง ช่องละตอน รวมทั้งสิ้น 20 ตอน รวมถึงเขียนอักษรกำกับชื่อตอนไว้ใต้ภาพ ลำดับภาพเริ่มจากทางด้านซ้ายมือของพระประธาน วนไปตามเข็มนาฬิกา โดยเขียนเล่าเรื่องตั้งแต่ตอน พระอิศวรได้แบ่งภาคลงมาเกิดเป็นพระนเรศวร จนถีงเรื่องราวตอนที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรณคต และอันเชิญพระบรมศพกลับมาสู่พระนครศรีอยุธยา

ภาพจิตรกรรมภายในพระวิหารวัดสุวรรณดาราราม

          ภาพจิตรกรรมภายในพระวิหารแห่งนี้เขียนโดย พระมหาเสวกตรีพระยาอนุศาสตร์จิตรกร เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2474 โดยใช้เทคนิคจิตรกรรมทางตะวันตกเข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกับจิตรกรรมไทย และเชื่อว่าเป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทย"
         
สถานที่ตั้ง วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)

ถึงจุดหมาย : วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดสุวรรณดาราราม (Wat Sywandararam) เราไปตามรอยประวัติศาสตร์ ชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทยกันครับ (รูปประกอบ : 15 ม.ค.2560 )

วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)
            เมื่อเข้าไปบริเวณวัดจะมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นสูงใหญ่อยู่ไม่ห่างจากพระอุโบสถและพระวิหาร ป้ายบริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์เขียนเล่าว่า "ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้ที่แสดงถึงสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อกันว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ได้นำหน่อมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย"



ต้นพระศรีมหาโพธิ์
            และเมื่อมากราบพระที่วัดสุวรรณดาราราม สิ่งที่ต้องทำนั้นคือชมความงดงามของภาพจิตรกรรมภายในพระวิหาร จิตรกรรมสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทย
            ป้ายบริเวณพระวิหารเขียนเล่าว่า "พระวิหารเป็นอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 4 ทั้งนี้เพราะหน้าบันมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎซึ่งเป็นตราประจำรัชกาล
            ลักษณะของตัวอาคารเลียนแบบมาจากพระอุโบสถเพียงแต่ฐานพระวิหารไม่แอ่นท้องสำเภาเหมือนกับพระอุโบสถ

พระวิหารวัดสุวรรณดาราราม

พระวิหารวัดสุวรรณดาราราม

พระประธานภายในพระวิหารวัดสุวรรณดาราราม

            ภายในพระวิหารมีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เขียนขึ้นคราวบูรณปฎิสังขรณ์สมัยรัชกาลที่ 7 จิตรกรผู้วาดคือ พระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์  จิตรกร)"

ภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
           งดงามมากครับ ผู้เขียนค่อยๆ ดูความงาม ความละเมียดในงานศิลป์ เต็มอิ่มมากครับ หลังจากดื่มด่ำกับงานจิตรกรรมสีน้ำมันแล้ว ด้านหลังพระวิหารจะมีเจดีย์บรรจุพุทธสารีริกธาตุ อย่าพลาดไปนมัสการกันครับ

เจดีย์บรรจุพุทธสารีริกธาตุ

            พระอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม อยู่ไม่ไกลจากพระวิหารครับ ในช่วงในวันเดินทางไปกราบพระที่วัดสุวรรณดารารามในวันนั้นพระอุโสถกำลังบูรณะครับ แต่สามรถเข้าไปกราบพระและชมความงดงามของภาพจิตรกรรม โดยเป็นงานจิตรกรรมแบบกรุงศรีอยุธยา รูปทรงพระอุโบสถภายนอกศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ทรงเรือสำเภา

อุโบสถวัดสุวรรณดาราราม
           และอีกสิ่งที่ต้องทำเมื่อมาถึงวัดสุวรรณดาราราม นั่นคือ กราบพระประธานภายในอุโบสถ ซึ่งรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้จำลองขยายส่วนมาจากพระแก้วมรกต

พระประธานภายในอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม

พระประธานภายในอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม
           ด้านหลังพระอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม จะมี เจดีย์บรรจุอัฐิพระชนกนารถ ร.1 

เจดีย์บรรจุอัฐิพระชนกนารถ ร.1 

            อยากให้มาทุกคนมาเยือนครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์โบราณสถาน ดื่มด่ำความงดงามของจิตรกรรม  วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)” คืออีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha ) จ.พระนครศรีอยุธยา


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana) อีกหนึ่งที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในอยุธยา โบราณสถานสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้นในพื้นที่มรดกโลก


         วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)  อีกหนึ่งที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในอยุธยา โบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  อีกหนึ่งวัดซึ่งเป็นโบราณสถานในเขตพื้นที่มรดกโลกที่วันนี้จะชวนไปชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)



         ป้ายบริเวณวัดราชบูรณะเขียนเล่าเกี่ยวกับวัดว่า "วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ในบริเวณเกาะเมืองอยุธยา ตรงด้านทิศเหนือวัดมหาธาตุ ในพื้นที่ตำบลประตูชัย อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1967 ณ สถานที่ถวายเพลิงพระศพพระเชษฐาทั้ง 2 พระองค์ คือ เจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา ซึ่งทรงทำยุทธหัตถีแย่งชิงราชสมบัติจนสิ้นพระชนม์พร้อมกัน ส่วนบริเวณที่สิ้นพระชนม์โปรดฯให้ก่อเจดีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ขึ้น 2 องค์ เรียกว่า เจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่ อยู่บริเวณเชิงสะพานป่าถ่านทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดราชบูรณะ


          ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดราชบูรณะมีฐานะเป็นพระอารามหลวง ภายในวัดประกอบด้วย พระปรางค์ประธานล้อมรอบด้วยระเบียงคด พระวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์ปรางค์ ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกในแนวเดียวกัน นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเจดีย์รายและพระวิหารรายประกอบอีกจำนวนมาก
          วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana) อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่อยู่ในเขตมรดกโลกตั้งแต่แรกเริ่มที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534
       
แผนที่ขอบเขตมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) อิงตามเว็บไซต์ UNESCO
         
สถานที่ตั้ง วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)
         ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)

ถึงจุดหมาย : วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana) วัดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในอยุธยา เราไปตามรอยประวัติศาสตร์ ชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณในพื้นที่มรดกโลกกันครับ (รูปประกอบ : 5 ม.ค.2560 )  
            แบบจำลองและแผนผังวัดราชบูรณะ

โมเดลแบบจำลองวัดราชบูรณะ
แผนผังวัดราชบูรณะ

            ทางเข้าวัดจะโมเดลแบบจำลองและแผนผังวัดราชบูรณะ รายละเอียดดังนี้ครับ
  • หมายเลข 1 พระปรางค์ประธาน (Main Pagoda/Prang)
  • หมายเลข 2 พระอุโบสถ (Ordination Hall / Ubosot)
  • หมายเลข 3 พระวิหาร (Sermon Hall / Vihara)
  • หมายเลข 4 ระเบียงคด (Cloister)
  • หมายเลข 5 เจดีย์ราย (Pagoda)
            ข้อสังเกตุเมื่อเราดูแผนผังและโมเดลจำลองของวัดราชบูรณะจะมีแผนผังการก่อสร้างเป็นสมัยอยุธยาตอนต้นเหมือนที่วัดมหาธาตุ  การออกแบบและวางตำแหน่งของโบราณสถานนั้นให้พระวิหารอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธาน  มีพระอุโบสถอยู่ด้านหลัง ทั้งหมดอยู่ในแนวระนาบเดียวกันทั้งพระวิหาร ปรางค์ประธาน และ พระอุโบสถ
            อดใจไม่ไหวแล้วครับ ไปเดินชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณตามแผนผังกันเลยครับ ตั้งแต่ทางเข้าเรามองเข้าไปภายในจะเห็นความงามสูงสง่าโชว์ความงดงามทางสถาปัตยกรรมของพระปรางค์ให้ผู้ไปเยือนครับ

มองพระปรางค์ประธานผ่านพระวิหาร

            พระวิหารวัดราชบูรณะ (หมายเลข 3)

พระวิหารวัดราชบูรณะ
ภายในพระวิหารวัดราชบูรณะ

พระวิหารวัดราชบูรณะ
            พระปรางค์ประธาน (หมายเลข 1)
           องค์ปรางค์วัดราชบูรณะเป็นจุดที่ต้องเยือนใช้เวลามากว่าจุดอื่นๆ หน่อยครับ  สำหรับชมความงดงามทางสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และภายในพระปรางค์ประธานมีห้องกรุ โบราณวัตถุในกรุพระปรางค์ได้ถูกนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดราชบูรณะสามารถไปตามรอยต่อได้ครับ

พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ

พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ

พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ

           องค์ปรางค์วัดราชบูรณะเป็นเจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ มีการเปลี่ยนแปลงน้อย เป็นตัวอย่างงานศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้นแท้ๆ ที่หาชมได้ยาก ที่ยอดปรางค์ชั้นล่างมีการประดับปูนปั้นรูปครุฑ ยักษ์ และเทพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งชั้นระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ ตามคติเกี่ยวกับเขาพระสุเมรุ ส่วนปูนปั้นรูปยักษ์แบกที่ฐานปรางค์ประธานนั้น มาจากแนวคิดของสถาปัตยกรรมไทยเชื่อกันว่าเป็นการค้ำจุนพุทธศาสนา (ที่มา : โบชัวร์ >> The dawn of the Ayutthaya kingdom ,Tourism Authority of Thailand )
            ระเบียงคดวัดราชบูรณะ (หมายเลข 4)
แนวระเบียงคดวัดราชบูรณะ 
            พระอุโบสถวัดราชบูรณะ (หมายเลข 2)
            พระอุโบสถราชบูรณะ อยู่ด้านหลังองค์พระปรางค์ประธาน เป็นอีกจุดครับที่ต้องยืนชมความงดงามขององค์พระปรางค์ประธานผ่านพระอุโบสถ แม้ว่าพระอุโบสถจะเหลือเพียงซากบางส่วน ไม่ครบสมบูรณ์ทั้งหลัง แต่ร่องรอยของซากโบราณสถานทำให้ผู้มาเยือนได้หลงร่องรอยต่างๆเหล่านี้แน่นอนครับ

พระอุโบสถวัดราชบูรณะ

พระอุโบสถวัดราชบูรณะ
 
พระอุโบสถวัดราชบูรณะ

พระอุโบสถวัดราชบูรณะ

             กลุ่มเจดีย์รายวัดราชบูรณะ (หมายเลข 5)

กลุ่มเจดีย์รายวัดราชบูรณะ

            ความงดงามทางสถาปัตยกรรมของอีกหนึ่งวัดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในอยุธยา อยากให้มาทุกคนมาเยือนครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์โบราณสถาน  วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)” คืออีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha ) จ.พระนครศรีอยุธยา


วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

วัดพระราม (Wat Phra Ram) วัดอยู่ใกล้พระราชวัง อีกหนึ่งโบราณสถานในเขตพื้นที่มรดกโลก


          วัดพระราม (Wat Phra Ram) วัดอยู่ใกล้พระราชวัง เขตพื้นที่มรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  อีกหนึ่งวัดเขตพื้นที่มรดกโลกที่วันนี้จะชวนไปชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : วัดพระราม (Wat Phra Ram)



         ป้ายบริเวณวัดพระรามเขียนเล่าเกี่ยวกับวัดพระรามว่า "วัดพระราม ตั้งอยู่ในบริเวณกึ่งกลางเกาะเมืองอยุธยา ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร ในพื้นที่ตำบลประตูชัย อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า สมเด็จพระราเมศวรทรงสร้างวัดนี้ขึ้นในปี พ.ศ.1912 ตรงที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอู่ทองซึ่งเป็นพระราชบิดา และสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระหว่างช่วงปี พ.ศ.1991-2031 พร้อมทั้งขนานนามว่า “วัดพระราม”



          บริเวณพื้นที่ด้านหน้าวัดมีบึงขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าแต่เดิมมีขนาดเล็ก และมีมาก่อนการก่อสร้างกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า “หนองโสน” ต่อมาเมื่อมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา คงมีการขุดเอาดินในหนองโสนแห่งนี้ขึ้นมาถมพื้นที่เพื่อสร้างวังและวัดต่างๆจึงกลายเป็นบึงขนาดใหญ่ ตามชื่อที่ปรากฏในมณเฑียรบาลว่า “บึงชีชัน” และต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “บึงพระราม”



          วัดพระรามได้รับการซ่อมแซม และมีการสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมอีกหลายครั้งในแต่ละรัชสมัยเพราะเป็นวัดอยู่ใกล้พระราชวัง โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมเกศ ราวปี พ.ศ.2284 ได้มีการซ่อมแซมวัดวาอารามครั้งใหญ่ทั่วกรุงศรีอยุธยา วัดพระรามแห่งนี้คงได้รับการซ่อมแซมในคราวนั้นด้วย โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ พระปรางค์ประธาน พระอุโบสถ พระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ราย"
          วัดพระราม (Wat Phra Ram) อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่อยู่ในเขตมรดกโลกตั้งแต่แรกเริ่มที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534
       
แผนที่ขอบเขตมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) อิงตามเว็บไซต์ UNESCO
         
สถานที่ตั้ง วัดพระราม (Wat Phra Ram)
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดพระราม (Wat Phra Ram)

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดพระราม (Wat Phra Ram)

ถึงจุดหมาย : วัดพระราม (Wat Phra Ram)
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดพระราม (Wat Phra Ram) เราไปตามรอยประวัติศาสตร์ ชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากรรมสมัยโบราณกันเลยครับ (รูปประกอบ : 5 ม.ค.2560 )
         

            แบบจำลองและแผนผังวัดพระราม

โมเดลแบบจำลองวัดพระราม

แผนผังวัดพระราม
            ทางเข้าวัดจะโมเดลแบบจำลองและแผนผังวัดพระราม รายละเอียดดังนี้ครับ
  • หมายเลข 1 พระปรางค์ประธาน (Main Pagoda/Prang)
  • หมายเลข 2 พระวิหาร (Sermon Hall / Vihara)
  • หมายเลข 3 พระอุโบสถ (Ordination Hall / Ubosot)
  • หมายเลข 4 ระเบียงคด (Cloister)
            ชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณตามแผนผังกันเลยครับ ตั้งแต่ทางเข้าเรามองเข้าไปภายในจะเห็นความงามสูงสง่าโชว์ความงดงามทางสถาปัตยกรรมของพระปรางค์ให้ผู้ไปเยือนครับ


พระปรางค์ประธาน (Main Pagoda/Prang)

พระปรางค์ประธาน (Main Pagoda/Prang)

พระปรางค์ประธาน (Main Pagoda/Prang)

            หากอยากเห็นความงดงามพระปรางค์วัดพระรามให้ครบต้องไปชมนภศูลของพระปรางค์ด้วยครับ ปัจจุบันถูกนำไปเก็บและแสดงให้ชมแบบใกล้ๆ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมครับ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดพระรามมากนัก สามารถไปเที่ยวชมแบบต่อเนื่องที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมได้เลยครับ

นภศูลพระปรางค์จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม 
            พระวิหารวัดพระราม (หมายเลข 2)

พระวิหาร (Sermon Hall / Vihara)

พระวิหาร (Sermon Hall / Vihara)

พระวิหาร (Sermon Hall / Vihara)
            ระเบียงคดวัดพระราม (หมายเลข 4)

ระเบียงคด (Cloister)

ระเบียงคด (Cloister)

ระเบียงคด (Cloister)
             กลุ่มเจดีย์รายวัดพระราม 
กลุ่มเจดีย์ราย
กลุ่มเจดีย์ราย

            ความงดงามทางสถาปัตยกรรมของวัดอยากให้มาทุกคนมาเยือนครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์โบราณสถาน  วัดพระราม (Wat Phra Ram)” คืออีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana) อีกหนึ่งที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในอยุธยา โบราณสถานสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้นในพื้นที่มรดกโลก
วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha ) จ.พระนครศรีอยุธยา