พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
จ.พระนครศรีอยุธยา (
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา ) อีกหนึ่งสถานที่อยากชวนไปเติมเต็มภาพความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยาให้ชัดเจนครับ
ประวัติ/ความสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
เมื่อปีพ.ศ. 2502 ประกอบกับวัตถุโบราณวัตถุสำคัญล้ำค่าจำนวนมากที่พบตามโบราณสถานต่างๆ ทั่วพระนครศรีอยุธยา
จำเป็นต้องมีที่เก็บรักษาและจัดแสดง จึงทำให้พิพิธภัณฑ์อันทรงคุณค่าแห่งนี้เกิดขึ้น
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างด้วยเงินจากประชาชนที่เช่าพระพิมพ์ที่ขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
ทรงสร้าง จึงให้ใช้ชื่อว่า
"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2504 และเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555)
วัน/เวลาเปิด-ปิดและค่าธรรมเนียมการเข้าชม : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
วันเปิดบริการ : เปิดบริการทุกวัน
เวลาทำการ : 09.00-1600 น.
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท , ชาวต่างชาติ 150 บาท
|
ป้ายปิดประกาศงดเก็บค่าเข้าชมในบางโอกาสสำคัญ |
สถานที่ตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
การเดินทางไป พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
แผนที่สำหรับเดินทางไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
ถึงจุดหมาย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
เมื่อเราเดินทางไปถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum) มุ่งหน้าไปตามรอยความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยากันครับ (รูปประกอบ : 5 ม.ค.2560 )
|
ข้อปฏิบัติการเข้าชม |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum) จัดแสดง 3 อาคาร
|
แผนผังอาคารจัดแสดง 3 อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา |
- หมายเลข 1 : อาคาร 1
- หมายเลข 2 : อาคาร 2
- หมายเลข 3 : อาคาร 3
อาคาร 1
อาคาร 1 ชั้น 1 จัดแสดงโบราณศิลปะวัตถุที่ขุดค้นพบจากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานใน จ.พระนครศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2499-2500
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555)
|
โบราณศิลปะวัตถุบริเวณอาคารชั้น 1 |
|
โบราณศิลปะวัตถุบริเวณอาคารชั้น 1 |
|
โบราณศิลปะวัตถุบริเวณอาคารชั้น 1 |
เราไปชมความงดงามของโบราณศิลปะวัตถุกันครับ บริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 สิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดคือ ชมความงดงามโบราณศิลปะวัตถุขององค์พระและสักการะพระพุทธรูปศิลาขาว
"ปางปฐมเทศนา" หรือหลวงพ่อประทานพร เป็น
หนึ่งในสี่องค์ที่ประดิษฐานในประเทศไทย อายุมากกว่า 1,000 ปี และ
เศียรพระธรรมิกราช เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอู่ทองจาก
วัดธรรมมิกราชองค์จริง
|
พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" เป็นหนึ่งในสี่องค์ที่ประดิษฐานในประเทศไทย |
|
พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" เป็นหนึ่งในสี่องค์ที่ประดิษฐานในประเทศไทย |
|
พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" เป็นหนึ่งในสี่องค์ที่ประดิษฐานในประเทศไทย |
|
เศียรพระธรรมิกราช เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอู่ทองจากวัดธรรมมิกราชองค์จริง |
|
เศียรพระธรรมิกราช เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอู่ทองจากวัดธรรมมิกราชองค์จริง |
โบราณศิลปะวัตถุบริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 ค่อยๆ เดิน ค่อยๆชมความงดงามทางศิลปะของแต่ละยุคแต่ละสมัยในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาครับ
|
คันทวย ( วัสดุ : ไม้ ที่มา : วัดตะกู พระนครศรีอยุธยา) |
|
กรอบจำหลักลายพุ่มข้าวบิณฑ์และลายก้านขด ( วัสดุ : ไม้ ศิลปะอยุธยา/พุทธศตวรรษที่ 21-22) |
|
หน้าบันจำหลักรูปนารายณ์ทรงครุฑ ( วัสดุ : ไม้ ศิลปะอยุธยา/พุทธศตวรรษที่ 22-23 ที่มา : วัดแม่นางปลื้ม พระนครศรีอยุธยา) |
|
หน้าบันจำหลักลายดอกพุดตานและกระต่าย ( วัสดุ : ไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์/พุทธศักราช 2467 ที่มา : วัดหนองน้ำส้ม พระนครศรีอยุธยา) |
|
ครุฑโขนเรือ ( วัสดุ : ไม้ ศิลปะอยุธยา/พุทธศตวรรษที่ 22-23 ที่มา : แม่น้ำลพบุรี พระนครศรีอยุธยา) |
|
พระพุทธรูปนาคปรก ( วัสดุ : หินทราย ศิลปะเขมรในประเทศไทย/พุทธศตวรรษที่ 17 ที่มา : วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา) |
|
กลุ่มพระพุทธรูปจากกรุวัดราชบูรณะ |
|
กลุ่มพระพุทธรูปจากกรุวัดราชบูรณะ |
|
กลุ่มพระพุทธรูปจากวัดมหาธาตุ |
|
กลุ่มศิลปกรรมสำคัญที่พบในวัดศรีสรรเพชญ์ |
กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระอุระและพระพาหาซ้ายขององค์
พระมงคลบพิตร
|
กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระอุระและพระพาหาซ้ายขององค์พระมงคลบพิตร |
|
กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระอุระและพระพาหาซ้ายขององค์พระมงคลบพิตร |
|
กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระอุระและพระพาหาซ้ายขององค์พระมงคลบพิตร |
|
กลุ่มพระพุทธรูปจากวัดธรรมิกราช |
|
กลุ่มพระพุทธรูปจากวัดธรรมิกราช |
กลุ่มพระพุทธรูปจากต่างประเทศ
|
กลุ่มพระพุทธรูปจากต่างประเทศ |
นอกจากนี้บริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 อยู่ติดกับเศียรพระธรรมิกราชจะมีห้องแสดงโบราณวัตถุที่สำคัญจากวัดราชบูรณะ เป็นอีกห้องต้องเข้าเยี่ยมชมครับ
อาคาร 1 ชั้น 2 จัดแสดงเครื่องทอง 2 ห้อง ประกอบด้วย ห้องที่ 1 คือ ห้องเครื่องทองกรุ
วัดราชบูรณะ และ ห้องที่ 2 คือ ห้องพระบรมสารีริกธาตุและห้องเครื่องทอง
วัดมหาธาตุ ส่วนรอบเฉลียงแสดงพระพิมพิมพ์ที่ทำด้วยชิน เหรียญ เงินตรา และดินเผา
|
ส่วนรอบเฉลียงอาคาร 1 ชั้น 2 |
|
ส่วนรอบเฉลียงอาคาร 1 ชั้น 2 แสดงเหรียญและเงินตรา |
|
ส่วนรอบเฉลียงอาคาร 1 ชั้น 2 แสดงเหรียญและเงินตรา |
|
ส่วนรอบเฉลียงอาคาร 1 ชั้น 2 แสดงเหรียญและเงินตรา |
ส่วนสำคัญที่ต้องทำและห้ามพลาดของอาคาร 1 ชั้น 2 คือการเข้าชมความงดงามของเครื่องทองและสักการะพระบรมสารีริกธาตุของ 2 ห้องนี้
ห้องที่ 1 คือ ห้องเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ จัดแสดงเครื่องทองที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ มีโบราณวัตถุที่สำคัญหลายชิ้นครับ ห้องนี้เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาแจ้งว่าห้ามถ่ายรูป และมีป้ายกำกับไว้ชัดเจนครับ อยากให้ทุกคนในเมืองไทยมาดูความงดงามทางโบราณศิลปะของเครื่องทองด้วยตนเองครับ
|
ห้องเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ |
|
ห้องเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ |
ห้องที่ 2 คือ ห้องพระบรมสารีริกธาตุและห้องเครื่องทองวัดมหาธาตุ จัดแสดงเครื่องทองที่พบในกรุพระปรางค์วัดวัดมหาธาตุ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบทองคำ ห้องนี้เป็นอีกหนึ่งห้องที่เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาแจ้งว่าห้ามถ่ายรูป และมีป้ายกำกับไว้ชัดเจนครับ ห้องนี้เป็นห้องที่ผู้เขียนคิดว่าใครมาที่นี่แล้วต้องขึ้นมากราบพระบรมสารีริกธาตุให้ได้ครับ
|
ห้องพระบรมสารีริกธาตุและห้องเครื่องทองวัดมหาธาตุ |
อาคาร 2
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อาคาร 2 จัดแสดงโบราณศิลปะวัตถุที่พบในประเทศไทยตามลำดับอายุ สมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-24
อาคาร 3
อาคาร 3 เป็นเรือนไทยที่สร้างเป็นหมู่เรือนไทยภาคกลาง ปลูกอยู่กลางคูน้ำ ภายในเรื่อนไทยจัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยสมัยก่อน
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555)
ในช่วงที่ผู้เขียนไปเยือนเรือนไทยอาคาร 3 เป็นช่วงที่ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จัดแสดงนิทรรศการพิเศษ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระชนมายุครบ 7 รอบ เรื่อง "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พระนครศรีอยุธยา" ตั้งแต่ เม.ย.2559 - เม.ย.2560
|
อาคาร 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา |
|
อาคาร 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา |
|
ป้ายแนะนำนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดืที่พระนครศรีอยุธยา" |
การจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พระนครศรีอยุธยา"
ห้องที่ 1 : พระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
|
ห้องที่ 1 : พระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี |
|
ห้องที่ 1 : พระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี |
ห้องที่ 2 : 7 ขุมทรัพย์ ห้ามพลาดที่พระนครกรุงศรีอยุธยา
|
ห้องที่ 2 : 7 ขุมทรัพย์ ห้ามพลาดที่พระนครกรุงศรีอยุธยา |
|
ห้องที่ 2 : 7 ขุมทรัพย์ ห้ามพลาดที่พระนครกรุงศรีอยุธยา |
เมื่อชมความงดงามทางโบราณศิลปะและตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย ทำให้ผมอยากบอกคนไทยทุกคนครับว่า อยากให้ทุกคนคนไทยมาที่นี่ครับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum) สถานที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยของเราครับ
ไปเติมเต็มภาพความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยาให้ชัดเจน ตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น