วันนี้ชวนทุกคนไปสูดอากาศที่เขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam) และไปเดินบนสะพานแขวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (Kaeng Krachan National Park) อุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย
จ.เพชรบุรี (
เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม ) ครับ
เราเริ่มต้นที่ขึ้นไปสูดอากาศที่สันเขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam) ก่อนครับ
ประวัติ/ความสำคัญ : เขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam)
ป้ายบริเวณเขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam) เขียนเล่าว่า "
เขื่อนแก่งกระจานนี้สร้างขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม พุทธศักราช 2505 บัดนี้ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เสด็จพระราชดำเนินมากระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2509เวลา 10.42 นาฬิกา เป็นมหามงคลฤกษ์ ขอให้เขื่อนนี้
จงสถิตสภาพสถาพรอยู่ชั่วกาลนาน เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์โดยทั่วไป"
รายละเอียดเขื่อนแก่งกระจาน (ที่มา : ป้ายบริเวณเขื่อนแก่งกระจาน)
- เขื่อนนี้เป็นเขื่อนดินสร้างปิดช่องเขา 3 ช่อง ติดต่อกัน
- เขื่อนนี้สูง 58 เมตร ยาว 1,320 เมตร
- สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร ฐานตอนกว้างที่สุด 250 เมตร
- มีทางให้น้ำล้นผ่านไปได้ 1,380 ลูกบาสก์เมตร/วินาที
- มีท่อส่งน้ำได้ 75 ลูกบาสก์เมตร/วินาที
- มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 31,000 ไร่
- กักเก็บน้ำได้ 710 ล้านลูกบาสก์เมตร
- ค่าก่อสร้าง 160 ล้านบาท
|
ป้ายเขียนบอกประโยชน์ที่ได้รับจากเขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam) |
ประโยชน์ที่ได้รับ
- เพิ่มพื้นที่ใช้น้ำชลประทานในฤดูฝน ซึ่งมีอยู่ 214,000 ไร่ ขึ้นไปอีก 122,000 ไร่ รวมเป็น 336,000ไร่
- ในฤดูแล้งยังมีนำเพื่อใช้ปลูกพืชไร่ได้อีก 174,000 ไร่
- การอัตคัดขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรีถึงหัวหินจะหมดไป
- บรรเทาอุทุกภัยในลุ่มน้ำเพชรบุรีที่มีเกือบ 15 ปีต่อครั้งลงไป
- จะติดตั้งเครื่องไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ และจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ 70 ล้านยูนิต (KW-HR)
สถานที่ตั้ง เขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam)
ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 76170
การเดินทางไป เขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam)
แผนที่สำหรับเดินทางไปเขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam)
ถึงจุดหมาย : เขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam)
เมื่อเราเดินทางไปถึงสันเขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam) เราไปสูดอากาศให้เต็มปอดและชมวิวธรรมชาติสวยๆจากสันเขื่อนครับ (รูปประกอบ : 29 ม.ค.2560 )
ประวัติ/ความสำคัญ : อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (Kaeng Krachan National Park)
เว็บไซต์ของ
สำนักอุทยานแห่งชาติเขียนเล่าว่า "
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี และมีลักษณะเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ หน้าผาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเสด็จที่เขื่อนแก่งกระจาน ได้รับสั่งให้นายถนอม เปรมรัศมี อธิบดีกรมป่าไม้ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522 ได้มีกระแสพระราชดำรัสว่า “เรื่องป่าต้นน้ำ ลำธารของแม่น้ำเพชรบุรี ขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่าให้มีการลักลอบตัดไม้ ถางป่า ทำไร่ในป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เพราะจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง แม้จะได้มีการให้สัมปทานป่าแปลงนี้ไปบ้างแล้ว ก็ขอให้ เจ้าหน้าที่ตรวจดูแลการทำไม้ อย่าให้เป็นการทำลายป่าเกิดขึ้น” จากพระราชดำรัสดังกล่าวประกอบกับนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ
วันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการ
ประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ"
สถานที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (Kaeng Krachan National Park)
ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 76170
การเดินทางไป สะพานแขวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (Kaeng Krachan National Park)
แผนที่สำหรับเดินทางไปสะพานแขวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ถึงจุดหมาย : สะพานแขวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (Kaeng Krachan National Park)
เมื่อเราเดินทางไปถึงบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (Kaeng Krachan National Park) เลี้ยวรถเข้าไปบริเวณที่จอดรถแล้วจะมีลูกศรบอกทางไปสะพานแขวนต่ออีกทีครับ หรือจะจอดรถดูท่อนไม้ท่อนใหญ่ท่อนหนึ่งที่ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานวางแสดงให้ชมก่อนเดินทางต่อไปยังสะพานแขวนก็ได้ครับ (รูปประกอบ : 29 ม.ค.2560 )
สูดอากาศให้เต็มปอด เดินบนสะพานแขวนให้สบายใจ “เขื่อนแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Dam) และสะพานแขวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (Kaeng Krachan National Park)” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น