พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum)
จ.พระนครศรีอยุธยา (
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา ) ไปเติมเต็มภาพความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยาให้ชัดเจนกับพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครับ
ประวัติ/ความสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
วังจันทรเกษม หรือ
วังหน้า ปรากฎหลักฐานตามพระราชพงศาวดารว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ประมาณ พ.ศ. 2120 โดยพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555)
จากเว็บไซต์ของ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เขียนเล่าประวัติความเป็นมาว่า "เคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ,สมเด็จพระเอกาทศรถ ,เจ้าฟ้าสุทัศน์ ,สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ,ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ,สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ,สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ,กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 พระราชวังจันทรเกษมได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการบูรณะและปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์ เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระราชวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้ พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหมู่ตึกกลางของพระราชวังเป็นที่ทำการ
เมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงวัง ด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากนั้นจึงมีการใช้งานกันเรื่อยมา ทั้งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาลจนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงได้มีการซ่อมแซมและบูรณะอาคารต่าง ๆ อีกครั้ง
|
พระยาโบราณราชธานินทร์ |
ในระหว่างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลอยุธยา ท่านได้ทำการศึกษาและรวบรวมเรื่องราว รวมทั้งวัตถุสิ่งของสำคัญในบริเวณกรุงเก่าและบริเวณใกล้เคียงไว้เป็นจำนวนมาก มาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2445 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแนะนำให้พระยาโบราณราชธานินทร์ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เรียกว่า “โบราณพิพิธภัณฑ์” โดยในระยะแรกนั้นใช้ตึกโรงม้าพระที่นั่งเป็นที่เก็บรวบรวม
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัตถุต่าง ๆ จากโรงม้าพระที่นั่งเข้ามาเก็บรักษาและตั้งแสดงที่บริเวณอาคารพลับพลาจัตุรมุข พร้อมทั้งจัดสร้างระเบียงตามแนวอาคารด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เพื่อจัดตั้งวัตถุ ศิลาจารึก และประติมากรรรมต่าง ๆ ตั้งชื่อว่า
“อยุธยาพิพิธภัณฑ์”
ต่อมา ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2479 กรมศิลปากร ได้ประกาศ ให้อยุธยาพิพิธภัณฑ์เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในนาม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม"
วัน/เวลาเปิด-ปิดและค่าธรรมเนียมการเข้าชม : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum)
วันเปิดบริการ : เปิดบริการวันพุธ - วันอาทิตย์ ,ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันนักขัตฤกษ์
เวลาทำการ : 09.00-1600 น.
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท , ชาวต่างชาติ 100 บาท
สถานที่ตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum)
ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
การเดินทางไป พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum)
แผนที่สำหรับเดินทางไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum)
ถึงจุดหมาย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum)
เมื่อเราเดินทางไปถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum) มุ่งหน้าไปตามรอยความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยากับพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครับ (รูปประกอบ : 15 ม.ค.2560 )
|
แผนผังอาคารภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum) |
เราไปชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตั้งแต่ทางเข้าครับ
พลับพลาจตุรมุข
เป็นพลับพลาเครื่องไม้ มีมุขด้านหน้า 3 มุข เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการและเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 4 เวลาเสด็จประพาส ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังนี้ เช่น พระแท่นบรรทม พระราชอาสน์ พร้อมเศวตฉัตร พระบรมณ์ฉายาลักษณ์และเครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555)
|
พลับพลาจตุรมุข |
|
บริเวณภายในพลับพลาจตุรมุข |
|
พระแท่นบรรทม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
เครื่องใช้ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
หม้อกรองน้ำ เครื่องใช้ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
โคมไฟเดิม ณ ท้องพระโรง พลับพลาจตุรมุข |
|
พระบรมณ์ฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
เครื่องใช้ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
บริเวณภายในพลับพลาจตุรมุข |
พระที่นั่งพิมานรัตนา
เป็นตึกหมู่อยู่กลางพระราชวัง ประกอบด้วยอาคาร 4 หลัง คือ อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตนา และศาลาเชิญเครื่อง เคยเป็นศาลากลางมณฑลและจังหวัดมาหลายปี ปัจจุบันจัดแสดงประติมากรรมที่สลักจากศิลา เป็นเทวรูปและพระพุทธรูป พระพิมพ์สมัยต่างๆ และเครื่องแกะสลักฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555)
|
พระที่นั่งพิมานรัตนา |
พระที่นั่งพิมานรัตนาอยู่ข้างๆ กับพลับพลาจตุรมุข มีทางเดินเชื่อมต่อถึงกันครับ ไปเดินชมความงดงามทางศิลปะและตามรอยประวัติศาสตร์กันต่อครับ
|
ทางเดินเชื่อมไปพระที่นั่งพิมานรัตนาจากพลับพลาจตุรมุข |
|
อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา และศาลาเชิญเครื่อง |
|
ภายในพระที่นั่งพิมานรัตนาการจัดแสดงโบราณวัตถุ |
|
ภายในพระที่นั่งพิมานรัตนาการจัดแสดงโบราณวัตถุ |
|
พระพิมพ์ |
สิ่งที่ผู้เขียนแอบยิ้มเมื่อเห็นกลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระพาหาซ้ายขององค์
พระมงคลบพิตร ที่มีจัดแสดงที่บริเวณภายในพระที่นั่งพิมานรัตนาด้วย เนื่องจากผู้เขียนคิดว่ามีการจัดแสดงเฉพาะที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ที่เดียว แต่จริงๆแล้วมีจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษมด้วย
เดินชมบริเวณพระที่นั่งพิมานรัตนาให้ถึงด้านหลังของพระที่นั่งฯ ครับ ไปชมความงดงามของโบราณศิลปะของเทวรูป พระพุทธรูป และความงามของเครื่องไม้ฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น
|
พระที่นั่งพิมานรัตนาการจัดแสดงโบราณวัตถุ |
|
พระพุทธรูปนาคปรก พระที่นั่งพิมานรัตนา |
|
พระที่นั่งพิมานรัตนาการจัดแสดงโบราณวัตถุ |
|
พระที่นั่งพิมานรัตนาการจัดแสดงโบราณวัตถุ |
|
พระที่นั่งพิมานรัตนาการจัดแสดงโบราณวัตถุ |
|
พระที่นั่งพิมานรัตนาการจัดแสดงโบราณวัตถุ |
ผ่านไปแล้ว 2 อาคารการจัดแสดงโบราณวัตถุ เต็มอิ่มกับความงดงามของศิลปะมากครับ ไปตามรอยโบราณสถานกันต่อครับ
พระที่นั่งพิศัยศัลลักษณ์ หรือ หอส่องกล้อง
เป็นหอสูง 4 ชั้น สร้างครั้งแรกสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หักพังลงมาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 หอที่เห็นในปัจจุบันสร้างสมัยรัชกาลที่ 4 ตามรากฐานของอาคารเดิมและทรงใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555)
|
พระที่นั่งพิศัยศัลลักษณ์ หรือ หอส่องกล้อง |
|
พระที่นั่งพิศัยศัลลักษณ์ หรือ หอส่องกล้อง |
สร้างขึ้นสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวสร้างขนานไปกับกำแพงด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ จัดแสดงนิทรรศการถาวร 5 เรื่อง คือ เรื่องศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา เครื่องปั้นดินเผา สินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยา อาวุธยุทธภัณฑ์ ศิลปะวัตถุพุทธบูชา และวิถีชีวิตริมน้ำชาวกรุงเก่า
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555)
|
ตึกทำการภาค |
|
บริเวณจัดแสดงของตึกทำการภาค |
|
บริเวณจัดแสดงของตึกทำการภาค |
สิ่งที่ผู้เขียนอยากให้แวะเยือนอีกจุดที่จัดแสดงตึกทำการภาพคือ ห้องแสดงกลอง และศิลาจารึก ครับ อยากให้มาตามรอย
ศิลาจารึกอักษรไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา หากได้มาชมมาเยือนแล้วลองเปรียบเทียบกับอักษรไทยที่เราใช้ในปัจจุบันดูครับ
|
บริเวณจัดแสดงของตึกทำการภาค |
จัดแสดงอาวุธยุทธภัณฑ์
|
อาวุธยุทธภัณฑ์ |
|
อาวุธยุทธภัณฑ์ |
จัดแสดงสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา เช่น
นภศูล จากวัดพระราม ชมความงดงามของยอดพระปรางค์แบบใกล้ๆ เสมา สถาปัตยกรรมจำลอง เป็นต้นครับ
|
ชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรม |
|
เสมา |
ห้องเจ้าคุณเทศาฯ เป็นอีกห้องที่อยากให้ทุกคนมาเยือนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม มาให้ถึงห้องนี้ ห้องนี้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระยาโบราณราชธานินทร์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของดั้งเดิม และผลงานต่างๆ ของพระยาโบราณฯ
|
ห้องเจ้าคุณเทศาฯ ตึกทำการภาค |
|
ห้องเจ้าคุณเทศาฯ ตึกทำการภาค |
|
ภาพภ่ายฝีมือพระยาโบราณฯ |
โบราณสถานที่สำคัญอีกหนึ่งอาคารคือ
ตึกโรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
|
ตึกโรงม้าพระที่นั่ง |
เมื่อชมความงดงามของโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum) พิพิธภัณฑ์แห่งแรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยากชวนคนไทยมาตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทยกันที่นี่ครับ สถานที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยของเราครับ
ตามรอยความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยาให้ชัดเจน ตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum)” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น