My latest images for sale at Shutterstock:

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park )สถาปัตยกรรมทางศิลปะและเป็นศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

Thai | English

     ชวนทุกคนไปเยือนปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) สถาปัตยกรรมทางศิลปะและเป็นศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา (เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน) ครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park )


         ศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย แบบคลัง-บาปวน และแบบนครวัด ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ปราสาทหินพิมายหนึ่งสถาปัตยกรรมทางศิลปะที่อยู่ในช่วงนี้ และเป็นศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุด
         จากเว็บไซต์ www.sac.or.th เขียนบอกกล่าวเล่าว่า " "พิมาย" มาจาก "วิมาย" ตามที่ปรากฏในจารึกที่กรอบประตูปราสาทว่า "กมรเตงชคตวิมาย" และ "พิมาย" เป็นชื่อของเมืองโบราณที่ปรากฏในศิลาจารึกมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ที่กล่าวถึงเมือง "ภีมปุระ" และจารึกรุ่นหลังที่ปราสาทพระขรรค์ (พุทธศตวรรษที่ 18) กล่าวถึงเมือง "วิมายะปุระ" ดังนั้นปราสาทหินพิมาย และเมืองพิมายจึงเป็นศูนย์กลางทางศาสนา และเป็นเมืองที่สำคัญในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ศิลปะขอมแพร่หลาย ในดินแดนไทย
          หลักฐานในการก่อสร้างปราสาทหินพิมายนี้ เชื่อว่า เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาล พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ. 1623 - 1650) และสร้างเพิ่มเติมสมัยต่อมา ในรัชกาลพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1650 - 1655) และรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 - หลัง พ.ศ. 1693) จากหลักฐาน ได้พบจารึก ที่กรอบประตูโคปุระด้านทิศใต้ระบุ พ.ศ. 1651 จึงอาจถือเป็นศักราชของการสถาปนาปราสาทหินพิมาย"
         จากเว็บไซต์สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา เขียนบอกกล่าวเล่าต่อว่า "พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ.2494และ พ.ศ.2497กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศส จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2507-2512 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้ เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน"

แผนผังเมืองพิมาย
(จากโบชัวร์ : Phimai Historical Park ,The Department of Fine Arts)

สถานที่ตั้ง ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park )
         อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

การเดินทางไป ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) 

แผนที่ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park )

ถึงจุดหมาย : ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park )
            เมื่อเดินทางไปถึงปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) ศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ไปตามรอยประวัติศาสตร์และชมความงามสถาปัตยกรรมทางศิลปะกันครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 21 ก.พ.2559)

แผนผังปราสาทหินพิมาย
(จากโบชัวร์ : Phimai Historical Park ,The Department of Fine Arts)

ในหลวงของเราและพระราชินีเสด็จฯทอดพระเนตร ปราสาทหินพิมาย เมื่อ 4 พ.ย.2498
          เริ่มตั้งแต่สะพานนาคราช (Naga ฺBridge) ที่เชิงบันไดสะพานทั้งสองข้างจะมีมีสิงห์จำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถาน


         จากเว็บไซต์th.wikipedia.org เขียนเล่าว่า "ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่น ๆ ที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู้เมืองพิมายทางทิศใต้"
   

        ภาพเล่าเรื่องบนทับหลังและหน้าบันมีความงดงามทางศิลปะมากครับ ภาพเล่าเรื่องที่ประกอบอยู่โดยรอบๆ เป็นเรื่องเล่าของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู แม้ว่าปราสาทหินพิมายจะเป็นพุทธสถานนิกายมหายาน ยกเว้นภาพเล่าเรื่องที่ประดับรอบห้องครรภคฤหะ เป็นเรื่องของพุทธประวัติในนิกายมหายาน


ภาพเล่าเรื่องบนทับหลังและหน้าบัน

ภาพเล่าเรื่องบนทับหลังและหน้าบัน

             ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) มีความงามสถาปัตยกรรมทางศิลปะในหลายๆ จุดครับ


             ปรางค์ประธาน ปราสาทหินพิมาย (The Main Prasat) รูปแบบพิเศษของชั้นหลังคาปราสาทหินพิมาย คือ เปลี่ยนการประดับปราสาทจำลองในแต่ละชั้นมาเป็นนาคปัก ทำให้ชั้นหลังคาเกิดเป็นทรงพุ่ม อันเป็นวิวัฒนาการสำคัญทางด้านรูปแบบปราสาทขอมในสมัยนครวัด 


            จากเว็บไซต์ www.sac.or.th เขียนเล่าว่า "รูปแบบของปราสาทขอมที่สมบูรณ์นั้น จะประกอบด้วยกำแพงล้อมรอบศาสนสถาน ตรงกลางกำแพงมีซุ้มประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน เรียกว่า "โคปุระ" ถัดเข้าไปมีสระน้ำ อาจเป็นรูปคล้ายตัวซี (C) ในกรณีที่มีทางเข้า 2 ทาง หรือรูปคล้ายตัวแอล (L) ในกรณีที่มีทางเข้า 4 ทาง จนถึงกำแพงชั้นในที่ล้อมรอบปราสาทประธาน ซึ่งเรียกว่า "ระเบียงคด" โดยมีโคปุระทั้ง 4 ด้านเช่นเดียวกัน ภายในระเบียงคด เป็นที่ตั้งของปราสาทประธาน ซึ่งอาจเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ หรือเป็นปราสาทหมู่ 3 หลัง 5 หลัง หรือ 6 หลัง ก็ได้"




            หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม หาความงามสถาปัตยกรรมทางศิลปะ ตามรอยประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมทางศิลปะและเป็นศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย   ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) ” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ในห้วงชีวิตนี้ที่ต้องไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

รูปความละเอียดสูงอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) ทั้งหมด 

นมัสการหลวงปู่โต เมืองย่าโม
ดูกระทิงที่เขาแผงม้า ( Khao Phaeng Ma ) อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
ร้านกาแฟ Dragon Coffee อลังการงานสร้าง หุ่นเหล็กโคราช
ไทรงาม (Sai Ngam ,Beautiful banyan) อีกหนึ่งสถานที่ในประเทศไทยที่ในหลวงของเราเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

ชมความงามน้ำตกพลิ้ว (Phlio waterfall) ตามรอยประวัติศาสตร์อนุสรณ์สถานทรงปิรามิด (Pyramid Pranang Reu Lom) และอลงกรณ์เจดีย์ (Alongkorn Chedi Pagoda)

     วันนี้ชวนไปสูดอากาศให้เต็มๆ ปอดที่น้ำตกพลิ้ว (Phlio waterfall) อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี (น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี) ตามรอยประวัติศาสตร์อนุสรณ์สถานทรงปิรามิด (Pyramid Pranang Reu Lom) และอลงกรณ์เจดีย์ (Alongkorn  Chedi Pagoda)ครับ (ภาพประกอบถ่ายการเดินทางวันที่ 13 พ.ค.2556)


ประวัติ/ความสำคัญ 
     อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
    จาก th.wikipedia.org เขียนเล่าว่า "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 134.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 84,062.50 ไร่ ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทำให้มีอากาศจะเย็นสบายตลอดทั้งปี ยอดเขาสลับซับซ้อนสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 20-924 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่ยอดเขามาบหว้ากรอก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 924 เมตร และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย อยู่ห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 14 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสายทำให้สะดวกสบายในการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ"



     อนุสรณ์สถานทรงปิรามิด (Pyramid Pranang Reu Lom)
     ป้ายภายในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วเขียนเล่าเกี่ยวอนุสรณ์สถานทรงปิรามิด (Pyramid Pranang Reu Lom) ว่า "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อชันษา 14 พรรษา ทรงโปรดความงามตามธรรมชาติของสถานที่แห่งนี้เป็นอันมาก เคยปรารภว่าใคร่ที่จะเสด็จประภาสอีก แต่บังเอิญเสด็จทิวงคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ใสร้างอนุสาวรีย์บรรจุพระสริรางคารของสมเด็จพระนางเจ้าฯไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ในปี พ.ศ.2424"



     และป้ายภายในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วอันเล็กเขียนเล่าเกี่ยวอนุสรณ์สถานทรงปิรามิด (Pyramid Pranang Reu Lom) ต่อว่า "ปิรามิดพระนางเรือร่ม ที่ระลึกถึงความรักแห่งสมเด็งพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ อัครมเหสี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเสด็จทิวงคตแล้วที่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเรือพระประเทียบล่ม สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์บรมราช ผู้เป็นพระสวามี โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี จ.ศ.1243 (พ.ศ.2424)"
     อลงกรณ์เจดีย์ (Alongkorn  Chedi Pagoda)
     ป้ายภายในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วเขียนเล่าเกี่ยวอลงกรณ์เจดีย์ (Alongkorn  Chedi Pagoda) ว่า "สร้างขึ้นด้วยศิลาแลง พ.ศ.2419 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้ว และพระองค์ทรงโปรดปรานน้ำตกพลิ้วเป็นอย่างยิ่ง"

สถานที่ตั้ง 
     อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

เดินทางไป "ชมความงามน้ำตกพลิ้ว(Phlio waterfall) ตามรอยประวัติศาสตร์อนุสร์สถานทรงปิรามิด (Pyramid Pranang Reu Lom) และอลงกรณ์เจดีย์ (Alongkorn  Chedi Pagoda)"
     การเดินทางไปชมความงามน้ำตกพลิ้ว(Phlio waterfall) อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี จุดหมายของเราตามแผนที่ด้านล่างครับ


แผนที่สำหรับเดินทางไปน้ำตกพลิ้ว(Phlio waterfall)
        
ถึงจุดหมาย "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว"
        เมื่อเดินทางไปถึงจุดหมาย มุ่งหน้าไปชมความงามน้ำตกพลิ้ว(Phlio waterfall) ตามรอยประวัติศาสตร์อนุสรณ์สถานทรงปิรามิด (Pyramid Pranang Reu Lom) และอลงกรณ์เจดีย์ (Alongkorn  Chedi Pagoda) กันครับ

ป้ายอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

ทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

ต้นพลิ้ว

       ความงามของน้ำตกพลิ้วมีหลากหลายมิติครับ มีฝูงปลาแหวกว่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายๆคนเมื่อพูดถึงน้ำตกพลิ้วจะนึกถึงฝูงมัจฉาเหล่านี้ครับ



       ต้องทำและห้ามพลาด คือ ชมความงามของน้ำตกพลิ้วแทรกอยู่ในธรรมชาติที่สะกดนักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนให้หลงไหลธรรมชาติอันสวยงาม ณ สถานที่แห่งนี้ครับ

น้ำตกพลิ้ว(Phlio waterfall)
       และสิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดเมื่อมาเยือนน้ำตกพลิ้วอีกสิ่ง คือ ตามรอยประวัติศาสตร์อนุสรณ์สถานทรงปิรามิด (Pyramid Pranang Reu Lom) และอลงกรณ์เจดีย์ (Alongkorn  Chedi Pagoda) ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากตัวน้ำตกพลิ้วครับ

 อลงกรณ์เจดีย์ (Alongkorn  Chedi Pagoda)


       ปิรามิดพระนางเรือร่ม ที่ระลึกถึงความรักแห่งสมเด็งพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ อัครมเหสี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว 


        สวยงามและอากาศดีมากครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลมเบาๆ ชมวิวสวยๆของธรรมชาติ ตามรอยประวัติศาสตร์ "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ต้องไปเยือนในห้วงชีวิตนี้ครับ...สวัสดีครับ

สิงโตหิน จุดกำเนิดแหลมสิงห์ ( Laemsing ) จ.จันทบุรี
ประภาคารแหลมสิงห์ ( Laemsing Lighthouse ) จุดชมวิวสวยที่สุดในแหลมสิงห์