My latest images for sale at Shutterstock:

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park )

Thai | English

         วันนี้ชวนไปเยือนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park )  จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา ) อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกของเมืองไทยของเราครับ


ประวัติ/ความสำคัญ "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา" 


         จากเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลมรดกโลกเขียนเล่าว่า "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ 3 สายคือ แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาคเอเชียและของโลก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-23
        กรมศิลปากร ได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 102 ลงวันที่ 17 สิงหาคม พุทธศักราช 2519 พื้นที่ 1,810 ไร่ และในปี พุทธศักราช 2540 กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติม ซึ่งครอบคลุมเกาะเมืองอยุธยาและพื้นที่รอบนอกเกาะเมืองทุกด้านที่ปรากฏหลักฐานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี รวมพื้นที่โบราณสถานประมาณ 3,000 ไร่
        อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534"
       ผู้เขียนได้ดำเนินการค้นข้อมูลในเว็บไซต์ของ UNESCO เพื่อตรวจสอบขอบเขตปัจจุบันของมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยาที่ UNESCO รับรอง ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2559 รายละเอียดขอบเขตมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาดังรูปด้านล่างครับ

แผนที่ขอบเขตมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) จากเว็บไซต์ของ UNESCO
แผนที่ขอบเขตมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) อิงตามเว็บไซต์ UNESCO 
สถานที่ตั้ง "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา"
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา"


แผนที่สำหรับเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park )

เดินทางถึงเป้าหมายแล้วไปเที่ยวที่ไหนดี


แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park )
         โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park )และรอบๆ ที่ไม่ควรพลาด
     1. วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)
     2. วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon)
     3. วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) 
     4. วัดสุวรรณดาราราม (Wat Suwandararam)
     5. วิหารพระมงคลบพิตร (Phra Mongkhon Bophit)
     6. วัดพระศรีสรรเพชญ์ (Wat Phra Si Sanphet)
     7. วัดพระราม (Wat Phra Ram)
     8. วัดมหาธาตุ (Wat Mahathat)
     9. วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)
     10. วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum)
     11. วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat)
     12. วัดพระเมรุราชิการาม (Wat Na Phra Mane)
     13. วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha )
     14. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) 
     15. วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) 
     16. วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
     17. วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)

         หากเราอิงแผนที่ขอบเขตมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) จากเว็บไซต์ของ UNESCO วัดที่อยู่ในพื้นที่มรดกโลกได้แก่
     1. วิหารพระมงคลบพิตร (Phra Mongkhon Bophit)
     2. วัดพระศรีสรรเพชญ์ 
     3. วัดพระราม (Wat Phra Ram)
     4. วัดมหาธาตุ (Wat Mahathat)
     5. วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana)
     6. วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat)
     7. วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha )

          สำหรับใครที่ชอบท่องเที่ยวแบบไหว้พระ 9 วัด ก็สามารถเลือกวัดต่างๆ ข้างต้นตามความเหมาะสมของแต่ละคนครับ 
          ผู้เขียนมีโอกาสไปเยือนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) หลายคราวหลายโอกาส ผู้เขียนได้เขียนแผนที่สำหรับวางแผนขับรถเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่สะดวกเรียงตามหมายเลขอิงตามแผนที่ด้านล่างครับ 

เส้นทางขับรถเที่ยวโบราณสถานจากหมายเลข 1 - 17
อุทยานประวัติศาสตร์อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park )
         หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมโบราณสถาน ตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park )" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

รูปความละเอียดสูงอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) ทั้งหมด 

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (Sukhothai Historical Park) จ.สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (Si Satchanalai Historical Park) จ.สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร (Kamphaeng Phet Historical Park) 

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา

Thai | English

          วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  อีกหนึ่งวัดที่จะชวนไปชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)



         วัดพุทไธศวรรย์เป็นวัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสร้างกรุง ดังหลักฐานเอกสารในพระราชพงศาวดารบางฉบับกล่าวว่า พระเจ้าอู่ทองโปรดให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น ในบริเวณที่เรียกว่า “เวียงเหล็ก” ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับ เมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชานุสรณ์
          วัดพุทไธศวรรย์มีการวางผังตามความนิยมของวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ มีพระวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังเป็นโบสถ์ โดยทั้งหมดตั้งอยู่ในระนาบเดียวกัน


         ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจนั่นคือ องค์ปรางค์ประธานสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ศิลปลพบุรี ตั้งอยู่บนฐานไพทีย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลัง ปรางค์ประธานนี้ ยังเห็นว่าสมบูรณ์เพราะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในปรางค์ประดิษฐานพระเจดีย์องค์เล็กๆ และรอยพระพุทธบาท ให้กราบสักการะได้ ที่บันไดทางขึ้นสู่ปรางค์ประธาน มีลายกระเบื้องเคลือบที่แต่งเป็นลายดอกไม้ซึ่งยังเหลือความงดงามให้ชม
(ที่มา : โบรชัวร์ >> The dawn of the Ayutthaya kingdom ,Tourism Authority of Thailand)

         อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจครับ จาก www.facebook.com/Putthaisawan 

         
สถานที่ตั้ง วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)

ถึงจุดหมาย : วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) เราไปตามรอยประวัติศาสตร์วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา และกราบพระเพื่อเป็นศิริมงคลกันเลยครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 21 มิถุนายน 2555 การเดินทางผ่านทางเรือ และ 11 พ.ย.2559 การเดินทางโดยรถยนต์)
           บริเวณด้านหน้าวัด



           หากนั่งเรือผ่านจะเห็นความงามของวัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยาผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาครับ
      



           เราเข้าไปกราบพระภายในพระอุโบสถเพื่อเป็นศิริมงคลก่อนครับ 


           หลังจากกราบพระภายในอุโบสถเพื่อเป็นศิริมงคลเรียบร้อย เราไปดื่มด่ำชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณและร่วมภาคภูมิใจด้วยกันครับ




            อ่านข้อปฏิบัติก่อนเข้าชมครับ โดยแจ้งเวลาเปิด - ปิด คือช่วงเวลา  8.00 น. - 17.30 น. โดยอย่าลืมอ่านข้อความเล็กๆ ด้านล่างด้วยนะครับ


            ทางเข้าจะมีป้ายลูกศรบอกทางไปชมความงดงามของโบราณสถานครับ เรามุ่งหน้าตามลูกศรบอกทางกันต่อเลยครับ






            ปรางค์ประธาน หรือ พระมหาธาตุ พระปรางค์ได้รับอิทธิพลรูปแบบของสถาปัตยกรรมมาจากปราสาทขอม ซึ่งเปรียบประดุจเขาพระสุเมรุ หรือเขาไกรลาสที่ประทับของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ในการสร้างปราสาทตามคติเดิมของขอม ได้จำลองตัวอาคารหรือเรีอนธาตุซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามลำดับ ซึ่งก็คือ วิมานของเทพเจ้า และมีเทพผู้รักษาทิศอยู่ครบทุกด้าน ประจำอยู่ตามทิศต่างๆ จะมีห้องพระครรภธาตุ ภายในมีพระเจดีย์ทรงปราสาทยอด ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา : putthaijatukam.com)            
   


            ขึ้นบรรไดไปดูภายในองค์ปราค์ประธานต่อครับ สิ่งแรกด้านซ้ายมือ คือ รอยพระพุทธบาท ให้ผู้ไปเยือนกราบสักการะครับ


            ภายในองค์ปราค์ประธานครับ สิ่งที่สร้างความรำคาญใจคือ มูลค้างคาว ที่ค้างคาวขับถ่ายแล้วหล่นลงอยู่ตามพื้นทางเดินครับ แนะนำให้นำถุงเท้าไปสำรองครับ หรือหากใครมิวิธีการที่ดีกว่าก็ตามสะดวกครับ  แต่อยากเชิญชวนให้ผู้ไปเยือนวัดไปให้ถึงจุดนี้ครับ 





            เป้าหมายต่อไปของการมาเยือนวัดพุทไธศวรรย์ คือ วิหารพระพุทธไสยาสน์ เพื่อไปกราบ พระพุทธไสยาสน์ ครับ


  
            โบราณสถานข้างๆ กับวิหารพระพุทธไสยาสน์ 


            ความงดงามของวัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยาอยากให้มาทุกคนมาเยือนครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์โบราณสถาน  วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)” คืออีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha ) จ.พระนครศรีอยุธยา


วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) วัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน

Thai | English

          วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)   จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  วัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน วันนี้เราจะไปตามรอยโบราณสถานวัดสมัยอยุธยาครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  :  วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)   


          ป้ายบริเวณวัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) เขียนเล่าให้ฟังว่า "วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศตะวันออก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธานของวัด


          ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานเป็นพระอุโบสถ พระวิหารตั้งอยู่ด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกของเจดียืประธาน มีกำแพงล้อมรอบพระอารามทั้งหมด ทางด้านทิศเหนือของเจดียืประธานนอกกำแพงมีตำหนักกำมะเลียนซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้นตั้งอยู่


          วัดกุฎีดาวไม่ปรากฎหลักฐานเอกสารชัดเจนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้าง มีแต่เพียงข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อปี 2254 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศในขณะดำรงพระยศพระมหาอุปราช
          จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีพบว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นและถูกทิ้งร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310"
           เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนเล่าให้ฟังต่อว่า "กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดกุฎีดาวเป็นโบราณสถานของชาติโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2418"

สถานที่ตั้ง วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)         
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)         

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)

ถึงจุดหมาย : วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)        
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) เราไปสำรวจสถาปัตยกรรมวัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันกันครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 11 พ.ย.2559)



          ตั้งแต่ทางเข้า ด้านขวามือจะเป็น ตำหนักกำมะเลียน โดยป้ายบริเวณตำหนักกำมะเลียนเขียนเล่าว่า "ตำหนักกำมะเลียน เป็นอาคาร 2 ชั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก มีขนาดกว้าง 14.60 เมตร ยาว 30 เมตร ผนังชั้นบนและล่างเจาะเป็นซุ้มโค้งรูปกลีบบัว
          ปรากฎข้อความในพงศาวดารว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ พระองค์เสด็จมาทอดพระเนตรการบรณะเป็นครั้งคราว สันนิษฐานว่าพระองค์น่าที่จะมาประทับที่ตำหนักนี้ "

ด้านหน้าตำหนักกำมะเลียน ( Download รูปความละเอียดสูง )

บริเวณตำหนักกำมะเลียน ( Download รูปความละเอียดสูง )

มุมมองเจดีย์ประธานจากตำหนักกำมะเลียน ( Download รูปความละเอียดสูง )
          
          หากขึ้นไปเที่ยวชมก็ระมัดระวังการพลัดตกด้วยครับ เพราะค่อนข้างสูงและไม่มีอะไรกั้นครับ
          หลังจากชมสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกแลัวเราเข้าไปภายในบริเวณภายในวัดชมความงามทางสถาปัตยกรรมของวัดต่อครับ


          เจดีย์ประธานวัดกุฎีดาว
          ป้ายบริเวณเจดีย์ประธานเขียนเล่าว่า "เป็นเจดีย์ทรงระฆังย่อมุมไม้ยี่สิบ ลักษณะของฐานเจดีย์มีอิทธิพลของเจดีย์ในศิลปะมอญ บนลานประทักษิณมีเจดีย์รายจำนวน 8 องค์ล้อมรอบเจดีย์ประธาน องค์เจดีย์มีร่องรอยการก่อพอกซึ่งน่าจะเป็นการก่อสร้างในการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมโกศ"




          มีส่วนของเจดีย์ซึ่งหักโค่นลงมาไม่ห่างจากฐานเจดีย์ทำให้เราเห็นความใหญ่โตเจดีย์ประธานองค์นี้ครับ




          ด้านหน้าเจดีย์ประธาน คือ พระอุโบสถ
          ป้ายบริเวด้านหน้าพระอุโบสถเขียนเล่าว่า "เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกขนาดกว้าง 15.40 เมตร ยาว 27.80 เมตร มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าและด้านหลังและมีบรรไดทางขึ้นทั้งสองด้าน มีประตูทางเข้าที่ผนังด้านหน้า 3 ประตู ซึ่งประตูช่องกลางเป็นประตูของมุข ส่วนด้านหลังมี 2 ประตู ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ 8 ช่อง โดยทำเป็นหน้าต่างจริงและหน้าต่างหลอกสลับกัน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะปัญหาเรื่องการรองรับน้ำหนักหลังคา ตัวอาคารตั้งอยู่บนฐานที่แอ่นโค้งเป้นรูปท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบของอาคารที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย"

          ด้านหลังเจดีย์ประธาน คือ พระวิหาร
          ป้ายบริเวด้านหน้าพระวิหารเขียนเล่าว่า "เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกขนาดกว้าง 14.10 เมตร ยาว 27 เมตร มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าและด้านหลัง มีประตูทางเข้าที่ด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 2 ประตู ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ 3 ช่อง ตัวอาคารตั้งอยู่บนฐานที่แอ่นโค้งเป้นรูปท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบของอาคารที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย"  
   
           หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมสถาปัตยกรรมโบราณสถาน ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์  วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)  อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา
วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ