My latest images for sale at Shutterstock:

วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กราบพระแฝดของพระพุทธชินราชที่วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) วัดที่มีความสำคัญทั้งในทางคณะสงฆ์และในทางบ้านเมือง

          อีกหนึ่งสิ่งที่อยากชวนคนไทยทุกคนและคนทั่วโลก คือ ไปกราบพระแฝดของพระพุทธชินราชที่วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) วัดที่มีความสำคัญทั้งในทางคณะสงฆ์และในทางบ้านเมือง  กรุงเทพมหานคร  (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย)  ครับ

วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)

ประวัติ/ความสำคัญ : วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)

วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
        จากเว็บไซต์วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)  เขียนบอกกล่าวเล่าเกี่ยวกับวัดว่า "วัดนี้ เดิมเรียก "วัดใหม่" น่าจะได้รับพระราชทานชื่อวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุประทับอยู่วัดสมอราย (คือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) เสด็จมาอยู่ครองเมื่อ พ.ศ. 2379 สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น เสด็จสรรคตเมื่อต้น พ.ศ. 2375 เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ได้ทรงตั้งเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร (ไม่ได้ทรงตั้งจนตลอดรัชกาล)"
       ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ทรงได้ปรับปรุงวางหลักเกณฑ์ความประพฤติ ปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยมีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์เป็นอันมาก ในคราวที่พระองค์เสด็จมาครองวัดก็ได้นำเอาการประพฤติ ปฏิบัตินั้นมาใช้ในการปกครองพระสงฆ์ ณ วัดนี้ด้วย ซึ่งในครั้งเดิมเรียกพระสงฆ์คณะนี้ว่า “บวรนิเวศาทิคณะ” อันเป็นชื่อสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาจึงได้ชื่อว่า “คณะธรรมยุติกนิกาย” ซึ่งแปลว่าคณะสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงถือว่าวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสำนักเอกเทศแห่ง คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเป็นวัดแรก
       ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า วัดรังษีสุทธาวาสซึ่งอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศวิหารนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่า คณะรังษี และหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรังคารมาบรรจุไว้ ณ ใต้บัลลังก์พระพุทธชินสีห์ในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2468
       ในทางคณะสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นจุดกำเนิดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เพราะเป็นที่เสด็จสถิตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงผนวชอยู่และทรงดำริริเริ่มปรับปรุงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุตขึ้นในเวลาต่อมา วัดบวรนิเวศวิหารจึงนับว่าเป็นวัดแรกและวัดต้นแบบของคณะธรรมยุต ธรรมเนียมประเพณีและแบบแผนต่าง ๆ ของคณะธรรมยุตได้เกิดขึ้น ณ วัดนี้

พระพุทธชินสีห์พระพุทธปฏิมาประธานภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
       วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของไทย ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักคือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ซึ่งสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไทย สมัยกรุงสุโขทัย สมัยเดียวกับพระพุทธชินราช และทั้ง ๓ องค์เคยประดิษฐานอยู่ด้วยกัน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทคู่บนศิลาแผ่นใหญ่สมัยสุโขทัย และพระไสยา (คือพระนอน) ที่งดงามสมัยสุโขทัยด้วย

รูปถ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 เสด็จออกทรงผนวชจัดแสดงภายบริเวณวัด
       วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวชทุกพระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 ตลอดถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน"

สถานที่ตั้ง วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
       แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุเทพมหานคร

การเดินทางไป วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) 

เดินทางถึงเป้าหมาย วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
            เมือเดินทางถึงเป้าหมาย วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) ไปตามรอยประวัติศาสตร์และกราบพระแฝดของพระพุทธชินราชครับ (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 19 สิงหาคม 2560)

ป้ายบอกสถานที่สำคัญภายในวัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
            เมื่อเข้ามาภายในบริเวณวัดนักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนจะเห็นความงามทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินสีห์ (องค์ด้านหน้า) ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกที่เราจะมากราบพระและประดิษฐานหลวงพ่อโต (องค์ด้านหลัง)

พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์และหลวงพ่อโต 
            พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งโดยฐานะเป็นพระพุทธรูปที่งดงามและโดยฐานะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมาประดิษฐานในมุขหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ถึงรัชกาลที่ 4 จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถดังปรากฏทุกวันนี้

พระพุทธชินสีห์และหลวงพ่อโต

พระพุทธชินสีห์และหลวงพ่อโต

พระพุทธชินสีห์และหลวงพ่อโต
            กราบพระขอพรพระประธานภายในอุโบสถเรียบร้อยแล้วเดินต่อไปถัดจากพระอุโบสถ คือ พระเจดีย์  โดยพระเจดีย์ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อีกหนึ่งจุดที่นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนต้องไปให้ถึง

พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร

พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร
          เมื่อขึ้นไปภายในบริเวณพระเจดีย์รอบๆ พระเจดีย์จะมีรูปปั้นเทวรูปประจำทิศ ๖ องค์ ประกอบด้วย
  • ทิศเหนือ รูปปั้นพระพรหมและพระวิสสุกรรม
  • ทิศใต้ รูปปั้นพระนารายณ์และพระศิวะ 
  • ทิศตะวันตก รูปปั้นพระปัญจสิกขะและพระประคนธรรพ


เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร

เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร
 
เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร

เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร

เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร

เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร
              หากแหงนมองซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์จะมีรูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย
  • ม้า คือ พม่า
  • นก  คือ โยนก
  • ช้าง คือ ล้านช้าง 
  • สิงห์ คือ สิงคโปร์


รูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ

รูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ
 
รูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ

รูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ
           บริเวณพระเจดีย์ด้านทิศเหนือประดิษฐานเก๋งพระไพรีพินาศ และด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระบรมรูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

รูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

คำบูชาพระไพรีพินาศ

พระไพรีพินาศ
            และรอบๆ พระเจดีย์จะมีตุ๊กตาหินจีนประดับแสดงความงดงามทางงานศิลป์แก่สายตานักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือน

ตุ๊กตาหินจีน

ตุ๊กตาหินจีน

ตุ๊กตาหินจีน
            และถัดจากพระเจดีย์ เป็นอีกหนึ่งในเป้าหมายที่ชวนทุกคนมาที่วัดบวรนิเวศวิหาร นั่นคือ กราบพระพระศรีศาสดา ประดิษฐานที่พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร 

พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร

พระศรีศาสดา ประดิษฐานภายในพระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร

พระศรีศาสดา ประดิษฐานภายในพระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
              จากเว็บไซต์วัดบวรนิเวศวิหารเขียนเล่าว่า “ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมปิฎก เจ้าเมืองนครเชียงแสน ทรงหล่อพระพุทธชินสีห์ ขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินราชและพระศรีศาสดา เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1,500

พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
            ลักษณะพิเศษของพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ คือ นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทเสมอกัน 
            พระพุทธชินสีห์กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมาประดิษฐานในมุขหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ถึงรัชกาลที่ 4 จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐาน เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถดังปรากฏทุกวันนี้
            พระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด และในเวลาต่อมาถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ วัดบวรนิเวศ เมื่อพุทธศักราช 2407” 
            ในปัจจุบันพระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ส่วนพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ประดิษฐานที่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร 
            หากนักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนวัดบวรนิเวศวิหารแล้วต้องไม่พลาดหรือต้องทำคือไปกราบพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา อาจจะเรียกพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา พระพุทธรูปที่ถูกสร้างขึ้น 3 องค์ ลักษณะเดียวกัน นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทเสมอกัน มีความงดงามในทางศิลป์ว่า “พระพุทธรูปแฝด 3” ก็คงไม่ผิดอะไรครับ
            บริเวณใกล้เคียงพระวิหารพระศาสดาจะมีต้นจัน พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทรงปลูกเมื่อ 26 ก.ค.2526

ต้นจัน พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทรงปลูกเมื่อ 26 ก.ค.2526
            ภายในวัดบวรนิเวศวิหารยังมีพระพุทธรูปและศาสนสถานที่สำคัญอีกหลายจุดให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนได้ชมความงดงามทางศิลปะและสถาปัตยกรรม

หลวงพ่อดำ วัดบวรนิเวศวิหาร

ภายในศาลาแดง

ศาลาแดง

รอยพระพุทธบาทคู่หรือพระยุคลบาทนี้สลักบนแผ่นศิลาแผ่นใหญ่
            และอีกหนึ่งความสำคัญเมื่อวัน อาทิตย์ ที่ 29 ตุลาคม 2560 ได้มีการประกอบพิธีเชิญพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดบวรนิเวศวิหาร

พิธีเชิญพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
            วัดที่มีความสำคัญทั้งในทางคณะสงฆ์และในทางบ้านเมือง กราบพระแฝดของพระพุทธชินราช "วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่คนไทยต้องไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม (Chantharakasem National Museum) พิพิธภัณฑ์แห่งแรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา