อีกหนึ่งสิ่งที่อยากชวนคนไทยทุกคนและคนทั่วโลก คือ ไปกราบพระแฝดของพระพุทธชินราชที่
วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) วัดที่มีความสำคัญทั้งในทางคณะสงฆ์และในทางบ้านเมือง
กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย) ครับ
 |
วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) |
ประวัติ/ความสำคัญ : วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
 |
วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) |
จากเว็บไซต์
วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) เขียนบอกกล่าวเล่าเกี่ยวกับวัดว่า "วัดนี้ เดิมเรียก
"วัดใหม่" น่าจะได้รับพระราชทานชื่อวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุประทับอยู่วัดสมอราย (คือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) เสด็จมาอยู่ครองเมื่อ พ.ศ. 2379 สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น เสด็จสรรคตเมื่อต้น พ.ศ. 2375 เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ได้ทรงตั้งเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร (ไม่ได้ทรงตั้งจนตลอดรัชกาล)"
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ทรงได้ปรับปรุงวางหลักเกณฑ์ความประพฤติ ปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยมีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์เป็นอันมาก ในคราวที่พระองค์เสด็จมาครองวัดก็ได้นำเอาการประพฤติ ปฏิบัตินั้นมาใช้ในการปกครองพระสงฆ์ ณ วัดนี้ด้วย ซึ่งในครั้งเดิมเรียกพระสงฆ์คณะนี้ว่า “บวรนิเวศาทิคณะ” อันเป็นชื่อสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาจึงได้ชื่อว่า “คณะธรรมยุติกนิกาย” ซึ่งแปลว่าคณะสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงถือว่าวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสำนักเอกเทศแห่ง คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเป็นวัดแรก
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า วัดรังษีสุทธาวาสซึ่งอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศวิหารนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่า คณะรังษี และหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรังคารมาบรรจุไว้ ณ ใต้บัลลังก์พระพุทธชินสีห์ในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2468
ในทางคณะสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นจุดกำเนิดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เพราะเป็นที่เสด็จสถิตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงผนวชอยู่และทรงดำริริเริ่มปรับปรุงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุตขึ้นในเวลาต่อมา วัดบวรนิเวศวิหารจึงนับว่าเป็นวัดแรกและวัดต้นแบบของคณะธรรมยุต ธรรมเนียมประเพณีและแบบแผนต่าง ๆ ของคณะธรรมยุตได้เกิดขึ้น ณ วัดนี้
 |
พระพุทธชินสีห์พระพุทธปฏิมาประธานภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร |
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของไทย ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักคือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ซึ่งสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไทย สมัยกรุงสุโขทัย สมัยเดียวกับพระพุทธชินราช และทั้ง ๓ องค์เคยประดิษฐานอยู่ด้วยกัน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทคู่บนศิลาแผ่นใหญ่สมัยสุโขทัย และพระไสยา (คือพระนอน) ที่งดงามสมัยสุโขทัยด้วย
 |
รูปถ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 เสด็จออกทรงผนวชจัดแสดงภายบริเวณวัด |
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวชทุกพระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 ตลอดถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน"
สถานที่ตั้ง : วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุเทพมหานคร
การเดินทางไป : วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
เดินทางถึงเป้าหมาย : วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara)
เมือเดินทางถึงเป้าหมาย วัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) ไปตามรอยประวัติศาสตร์และกราบพระแฝดของพระพุทธชินราชครับ (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 19 สิงหาคม 2560)
 |
ป้ายบอกสถานที่สำคัญภายในวัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) |
เมื่อเข้ามาภายในบริเวณวัดนักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนจะเห็นความงามทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินสีห์ (องค์ด้านหน้า) ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกที่เราจะมากราบพระและประดิษฐานหลวงพ่อโต (องค์ด้านหลัง)
 |
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์และหลวงพ่อโต |
พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งโดยฐานะเป็นพระพุทธรูปที่งดงามและโดยฐานะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมาประดิษฐานในมุขหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ถึงรัชกาลที่ 4 จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถดังปรากฏทุกวันนี้
 |
พระพุทธชินสีห์และหลวงพ่อโต |
 |
พระพุทธชินสีห์และหลวงพ่อโต |
 |
พระพุทธชินสีห์และหลวงพ่อโต |
กราบพระขอพรพระประธานภายในอุโบสถเรียบร้อยแล้วเดินต่อไปถัดจากพระอุโบสถ คือ พระเจดีย์ โดยพระเจดีย์ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อีกหนึ่งจุดที่นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนต้องไปให้ถึง
 |
พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร |
 |
พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร |
เมื่อขึ้นไปภายในบริเวณพระเจดีย์รอบๆ พระเจดีย์จะมีรูปปั้นเทวรูปประจำทิศ ๖ องค์ ประกอบด้วย
- ทิศเหนือ รูปปั้นพระพรหมและพระวิสสุกรรม
- ทิศใต้ รูปปั้นพระนารายณ์และพระศิวะ
- ทิศตะวันตก รูปปั้นพระปัญจสิกขะและพระประคนธรรพ
 |
เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร |
 |
เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร |
 |
เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร |
 |
เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร |
 |
เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร |
 |
เทวรูปประจำทิศรอบพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร |
หากแหงนมองซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์จะมีรูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย
- ม้า คือ พม่า
- นก คือ โยนก
- ช้าง คือ ล้านช้าง
- สิงห์ คือ สิงคโปร์
 |
รูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ |
 |
รูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ |
 |
รูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ |
 |
รูปปั้นสัตว์สีทองเหนือซุ้มประจำทิศ |
บริเวณพระเจดีย์ด้านทิศเหนือประดิษฐานเก๋งพระไพรีพินาศ และด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระบรมรูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
 |
รูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 |
 |
คำบูชาพระไพรีพินาศ |
 |
พระไพรีพินาศ |
และรอบๆ พระเจดีย์จะมีตุ๊กตาหินจีนประดับแสดงความงดงามทางงานศิลป์แก่สายตานักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือน
 |
ตุ๊กตาหินจีน |
 |
ตุ๊กตาหินจีน |
 |
ตุ๊กตาหินจีน |
และถัดจากพระเจดีย์ เป็นอีกหนึ่งในเป้าหมายที่ชวนทุกคนมาที่วัดบวรนิเวศวิหาร นั่นคือ กราบพระพระศรีศาสดา ประดิษฐานที่พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
 |
พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร |
 |
พระศรีศาสดา ประดิษฐานภายในพระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร |
 |
พระศรีศาสดา ประดิษฐานภายในพระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร |
จากเว็บไซต์
วัดบวรนิเวศวิหารเขียนเล่าว่า “ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมปิฎก เจ้าเมืองนครเชียงแสน ทรงหล่อพระพุทธชินสีห์ ขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินราชและพระศรีศาสดา เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1,500
 |
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา |
ลักษณะพิเศษของพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ คือ นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทเสมอกัน
พระพุทธชินสีห์กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมาประดิษฐานในมุขหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ถึงรัชกาลที่ 4 จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐาน เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถดังปรากฏทุกวันนี้
พระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด และในเวลาต่อมาถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ วัดบวรนิเวศ เมื่อพุทธศักราช 2407”
ในปัจจุบันพระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ส่วนพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ประดิษฐานที่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
หากนักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนวัดบวรนิเวศวิหารแล้วต้องไม่พลาดหรือต้องทำคือไปกราบพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา อาจจะเรียกพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา พระพุทธรูปที่ถูกสร้างขึ้น 3 องค์ ลักษณะเดียวกัน นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทเสมอกัน มีความงดงามในทางศิลป์ว่า “พระพุทธรูปแฝด 3” ก็คงไม่ผิดอะไรครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น