หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist) สิ่งประดิษฐ์ของสยามประเทศ การใช้งานเหมือนลิฟต์ในปัจจุบัน

           เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist) จัดแสดงภายในโรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ( The National Museum Bangkok ) กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย) หมายเลข 7 ในแผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


แผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) ป้ายหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
ประวัติ/ความสำคัญ "เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist)"

ป้ายแสดงข้อมูลรายละเอียดเกรินบันไดนาค (The mechanical hoist) 

         ป้ายบริเวณเกรินบันไดนาค โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขียนเล่าบอกกล่าวไว้ว่า "ใช้เคลื่อนย้ายพระโกศพระบรมศพขึ้นลงพระมหาพิชัยราชรถแทนการใช้นั่งร้านไม้ตามเดิม ลักษณะเป็นแท่นที่วางพระโกศ ปลายยกลอย ประดับกระหนกชักเลื่อนขึ้นลงตามรางบันไดนาคด้วยกว้านหมุน ลักษณะการใช้งานเหมือนลิฟต์ในปัจจุบัน


เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist)
เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist)

         ออกแบบโดย สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (จุ้ย) พระโอรสในสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ใช้ครั้งแรกในพระพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อพุทธศักราช 2354 ต่อมานายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงเฉพาะกว้านให้ดีขึ้น โดยทรงเอาแบบอย่างกว้านสมอเรือมาใช้"


ประวัติการใช้งาน "เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist)"
            ในพุทธศักราช 2560 เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist) ได้ถูกนำมาใช้งานอีกครั้งในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ภาพประกอบ : วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ภาพจากการถ่ายทอดสัญญาณภาพพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย)

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

            หากใครชอบการท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย เมืองไทยของเรา "เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist)  โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
หอกลอง ( Drum Tower )
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
กราบพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (Buddhaisawan Chapel) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

เวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta” )

           เวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta” ) จัดแสดงภายในโรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ( The National Museum Bangkok ) กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย) หมายเลข 7 ในแผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


แผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) ป้ายหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
ประวัติ/ความสำคัญ "เวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta” )"

ป้ายบริเวณเวชยันตราชรถ โรงราชรถ

         ป้ายบริเวณเวชยันตราชรถ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขียนเล่าบอกกล่าวไว้ว่า "มีนามหมายถึงรถของพระอินทร์ ลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบกพิมานขนาดใหญ่ กว้าง 4.85 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 11.70 เมตร หนัก 12.25 ตัน

เวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta” )

         ตามหลักฐานที่ปรากฎในจดหมายเหตุความทรงจำของพระเจ้าบรมวงเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี ระบุสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 เมื่อพุทธศักราช 2338 พร้อมกับพระมหาพิชัยราชรถ เพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมมหาชนก (ทองดี) ในปีพุทธศักราช 2339 โดยพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เป็นราชรถทรงพระบรมอัฐิ และเวชยันตราชรถ ใช้เป็นรถพระที่นั่งรอง ต่อมาใช้เป็นราชรถอันเชิญพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ออกพระเมรุคู่กับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ซึ่งทรงใช้พระมหาพิชัยราชรถ เมื่อพุทธศักราช 2342 จากนั้น ใช้ในพระศพสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า สืบจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาพระมหาพิชัยสำหรับทรงพระบรมศพชำรุด จึงใช้เวชยันตราชรถทรงพระบรมศพพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราขช 2468 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อพุทธศักราช 2493 ครั้งสุดท้ายใช้ในการออกพระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อพุทธศักราช 2528 โดยออกนามว่า พระมหาพิชัยราชรถตามพระราชอิสริยยศ"

ประวัติการใช้งาน "เวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta” )"

ป้ายแสดงข้อมูลประวัติการใช้งานเวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta” )
            ป้ายบริเวณเวชยันตราชรถ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขียนเล่าบอกกล่าวไว้เกี่ยวกับประวัติการใช้งานเวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta” ) ไว้ดังนี้

  • พุทธศักราช 2342 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ 
  • พุทธศักราช 2423 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ 
  • พุทธศักราช 2430 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ 
  • พุทธศักราช 2430 เชิญพระโกศพระศพพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ 
  • พุทธศักราช 2432 เชิญพระโกศพระศพพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรีภัทรวดีราชธิดา 
  • พุทธศักราช 2443 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรเรศริยาลงกรณ์ พุทธศักราช 2466 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ 
  • พุทธศักราช 2466 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย 
  • พุทธศักราช 2466 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ 
  • พุทธศักราช 2469 เชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
  • พุทธศักราช 2471 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี 
  • พุทธศักราช 2472 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ 
  • พุทธศักราช 2472 เชิญพระโกศพระศพจอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช 
  • พุทธศักราช 2473 เชิญพระโกศพระศพพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา 
  • พุทธศักราช 2493 เชิญพระโกศพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สยามินทราธิราช 
  • พุทธศักราช 2528 เชิญพระโกศพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7

            หากใครชอบการท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย เมืองไทยของเรา "เวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta”)  โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร"  อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
หอกลอง ( Drum Tower )
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
กราบพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (Buddhaisawan Chapel) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory )

           พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory ) จัดแสดงภายในโรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ( The National Museum Bangkok ) กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย) หมายเลข 7 ในแผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


แผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) ป้ายหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
ประวัติ/ความสำคัญ " พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory )"


         ป้ายบริเวณพระมหาพิชัยราชรถ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขียนเล่าบอกกล่าวไว้ว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมราชนก ในปี พุทธศักราช 2338 โดยได้ใช้มหาพิชัยราชรถทรงพระบรมโกศ เพื่อถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ในปี พุทธศักราช 2339 จากนั้นมาจึงถือเป็นราชประเพณีที่จะนำราชรถองค์นี้เป็นราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระมหาอุปราชในสมัยต่อๆมา

พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory )
         พระมหาพิชัยราชรถ สร้างด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก มีขนาดกว้าง 4.90 เมตร ความยาวพร้อมงอนรถ 18 เมตร (เฉพาะตัวรถ 14.10 เมตร) สูง 11.20 เมตร น้ำหนัก 13.7 ตัน ใช้กำลังพลชักลากจำนวน 216 คน"

ประวัติการใช้งาน " พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory )"

พระมหาพิชัยราชรถ (The Royal Chariot of Great Victory)
            ป้ายบริเวณพระมหาพิชัยราชรถ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขียนเล่าบอกกล่าวไว้เกี่ยวกับประวัติการใช้งาน พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory ) ไว้ดังนี้

ประวัติการใช้งาน พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory ) 
  • พุทธศักราช 2339 เชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก 
  • พุทธศักราช 2342 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ในรัชกาลที่ 1
  • พุทธศักราช 2354 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  • พุทธศักราช 2361 เชิญพระบรมโกศพระศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
  • พุทธศักราช 2368 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  • พุทธศักราช 2371 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพสมเด็จพระอมรินทรามาตย์
  • พุทธศักราช 2376 เชิญพระบรมโกศพระศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
  • พุทธศักราช 2380 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 
  • พุทธศักราช 2381 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 3 
  • พุทธศักราช 2395 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 
  • พุทธศักราช 2409 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว 
  • พุทธศักราช 2412 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
  • พุทธศักราช 2423 เชิญพระบรมโกศพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์  
  • พุทธศักราช 2429 เชิญพระโกศพระศพกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ 
  • พุทธศักราช 2430 เชิญพระบรมโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร นริศราชกุมารี 
  • พุทธศักราช 2430 เชิญพระบรมโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรรุตมธำรง 
  • พุทธศักราช 2453 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
  • พุทธศักราช 2539 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 
  • พุทธศักราช 2551 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 
  • พุทธศักราช 2555 เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 

            และในพุทธศักราช 2560 เชิญพระบรมโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ภาพประกอบ : วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ภาพจากการถ่ายทอดสัญญาณภาพพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย)

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

            หากใครชอบการท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย เมืองไทยของเรา " พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory )  โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
หอกลอง ( Drum Tower )
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
กราบพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (Buddhaisawan Chapel) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

          โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots )  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ( The National Museum Bangkok ) กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย) หมายเลข 7 ในแผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


แผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) ป้ายหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
ประวัติ/ความสำคัญ "โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร"

ป้ายหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )
         ป้ายหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เขียนเล่าบอกกล่าวไว้ว่า "...อาคารโรงราชรถ จัดแสดงราชรถที่ใช้ในการพระบรมศพ และเครื่องประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ"


         ป้ายบริเวณโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขียนเล่าบอกต่อว่า "จากหลักฐานหนังสือ “เรื่องกรุงเก่า” กล่าวว่ามีโรงใส่พระมหาพิชัยราชรถอยู่ริมกำแพงคั่นท้องสนามหลวงหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ ภายนอกประตูพระราชวังชั้นกลางโรง 1 ซึ่งได้สูญไปกับเพลิงในสงครามครั้งเสียกรุงเมื่อปี พ.ศ.2310"

สถานที่ตั้ง "โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร"
        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เวลาเปิด-ปิด "โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร"
        เวลาทำการ 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร

การเดินทางไป "โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร"
         โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ( The National Museum Bangkok )  สามารถเดินทางไปโดยอิงตามแผนที่ด้านล่างครับ

แผนที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

เดินทางถึงเป้าหมาย "โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร"
            ตามรอยประวัติศาสตร์กันครับที่โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร สถานที่จัดแสดงราชรถที่ใช้ในการพระบรมศพ และเครื่องประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 2 เม.ย.2559 และ 29 ธ.ค.2560)


ทางเข้าโรงราชรถ
ภายในบริเวณโรงราชรถ
           พระมหาพิชัยราชรถ ( The Royal Chariot of Great Victory ) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมราชนก ในปี พุทธศักราช 2338 โดยได้ใช้มหาพิชัยราชรถทรงพระบรมโกศ เพื่อถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ในปี พุทธศักราช 2339 จากนั้นมาจึงถือเป็นราชประเพณีที่จะนำราชรถองค์นี้เป็นราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระมหาอุปราชในสมัยต่อๆมา รายละเอียดพระมหาพิชัยราชรถ
(ที่มา : ป้ายภายในบริเวณโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร)

พระมหาพิชัยราชรถ (The Royal Chariot of Great Victory)
           เวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta”) มีนามหมายถึงรถของพระอินทร์ ลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบกพิมานขนาดใหญ่ กว้าง 4.85 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 11.70 เมตร หนัก 12.25 ตัน ตามหลักฐานที่ปรากฎในจดหมายเหตุความทรงจำของพระเจ้าบรมวงเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี ระบุสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 เมื่อพุทธศักราช 2338 พร้อมกับพระมหาพิชัยราชรถ เพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมมหาชนก (ทองดี) ในปีพุทธศักราช 2339 โดยพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เป็นราชรถทรงพระบรมอัฐิ และเวชยันตราชรถ ใช้เป็นรถพระที่นั่งรอง รายละเอียดเวชยันตราชรถ
(ที่มา : ป้ายภายในบริเวณโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร) 

เวชยันตราชรถ ( The Royal Chariot “Vejjayanta”)
           เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist) ใช้เคลื่อนย้ายพระโกศพระบรมศพขึ้นลงพระมหาพิชัยราชรถแทนการใช้นั่งร้านไม้ตามเดิม ลักษณะเป็นแท่นที่วางพระโกศ ปลายยกลอย ประดับกระหนกชักเลื่อนขึ้นลงตามรางบันไดนาคด้วยกว้านหมุน ลักษณะการใช้งานเหมือนลิฟต์ในปัจจุบัน รายละเอียดเกรินบันไดนาค
(ที่มา : ป้ายภายในบริเวณโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร)

เกรินบันไดนาค (The mechanical hoist)
           และยังมีสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ไปเที่ยวชมอีกหลายสิ่งครับ

พระที่นั่งราเชนทรยาน

พระยานมาศสามลำคาน




ราชรถน้อย

ราชรถน้อย

ลวดลายราชรถ

ลวดลายราชรถ
            หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย เมืองไทยของเรา "โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
หอกลอง ( Drum Tower )
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
กราบพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (Buddhaisawan Chapel) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ ( Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnnabhumi ) นิทรรศการความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอินเดีย-ไทย

           พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ ( Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnnabhumi ) นิทรรศการเนื่องในวาระครบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐอินเดียกับราชอาณาจักรไทย  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย)   จัดนิทรรศการในช่วงระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2560 - 23 มีนาคม 2561 นิทรรศการพิเศษที่จะชวนทุกคนไปเที่ยวไปชมครับ

ป้ายประชาสัมพันธ์พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ ( Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnnabhumi )

วันเวลาจัดแสดง "นิทรรศการพุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ ( Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnnabhumi )"
  • เวลาแสดงแสดงนิทรรศการ 09.00-16.00 น. 
  • ปิดวันจันทร์ วันอังคาร 
  • เปิดวันพุธ-วันอาทิตย์

การเดินทางไปชม "นิทรรศการพุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ ( Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnnabhumi )"
         พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) ห้องแสดงนิทรรศการเนื่องในวาระครบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐอินเดียกับราชอาณาจักรไทย สามารถเดินทางไปโดยอิงตามแผนที่ด้านล่างครับ

แผนที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

แผนผังการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร (29 ธันวาคม 2560)
เดินทางถึงเป้าหมาย "พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร"
            เมื่อเดินทางถึงพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร สถานที่แสดงนิทรรศการพุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ ( Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnnabhumi ) ภายในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยมีโบราณวัตถุอันทรงคุณค่ารอให้ทุกคนเข้าไปเที่ยวชมครับ (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 29 มกราคม 2560)

ทางเข้าชมนิทรรศการพุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ

บรรยากาศบริเวณภายในนิทรรศการพุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ
        
           ผู้เขียนขอนำรูปถ่ายโบราณวัตถุบางส่วนภายในนิทรรศการพุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ ( Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnnabhumi ) มาให้ชมครับ

แท่นเสาธรรมจักรมีจารึก ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12

ภาพสลักพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม อาจเป็นตอนปฐมเทศนา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13

พนักบัลลังก์ ส่วนปลายสลักรูปมงกร ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13

รอยพระพุทธบาท ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20

พระพุทธรูปปางประทานอภัย ศิลปะอินเดีย พุทธศตวรรษที่ 6-7

ภาพสลักพระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ ศิลปะทวารวดี ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 13

พระพุทธรูปยืนและผู้ติดตามบนสัตว์ในตำนาน ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13

ภาพสลักพุทธประวัติตอนประสูติ ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 12

ภาพสลักพุทธประวัติตอนพระนางยโสธราแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 14-15

ภาพสลักพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเทศนาโปรดพระราชาและราชวงศ์ ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 14-15 
ภาพสลักพุทธประวัติบนชิ้นส่วนกำแพงโบราณสถาน ศิลปะชวาภาคกลาง พุทธศตวรรษที่ 14
           ยังมีโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นที่สำคัญที่นำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการพุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิครับ
           นิทรรศการเนื่องในวาระครบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐอินเดียกับราชอาณาจักรไทย "พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ ( Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnnabhumi )" อีกหนึ่งนิทรรศการพิเศษในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
หอกลอง ( Drum Tower )