My latest images for sale at Shutterstock:

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กราบรอยพระแก้วมรกต วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) วัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองกำแพงเพชร

     เมื่อไปเยือนอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร (กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก)อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกของเมืองไทยของเรานั้น หนึ่งสิ่งที่ห้ามพลาดคือไปกราบรอยพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) ครับ

ประวัติ/ความสำคัญ "วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) จ.กำแพงเพชร" 



       วัดพระแก้วเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองกำแพงเพชร ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สิ่งก่อสร้างของวัดสร้างเรียงเป็นแนวยาวในแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ขนานกับแนวกำแพงเมือง มีกำแพงศิลาแลงแสดงขอบเขตวัด ลักษณะและขนาดของกำแพงวัดจะสร้างแตกต่างกันเป็นบางช่วงบางตอน เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าวัดพระแก้วมีการสร้างเพิ่มเติมหรือมีการปฏิสังขรณ์หลายสมัย ตอนหน้าสุดของวัดเป็นฐานไพทีสูงก่อด้วยศิลาแลง บนฐานไพทีเป็นฐานอุโบสถ ต่อเนื่องจากฐานอุโบสถเป็นสิ่งก่อสร้างฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ซ้อนกัน และถัดไปเป็นฐานย่อมุมคล้ายกับฐานตอนล่างของพระปรางค์สมัยอยุธยา ถัดจากฐานไพทีใหญ่ไปทางทิศตะวันตกเป็นเจดีย์ทรงระฆังเป็นเจดีย์ประธานของวัด ฐานเจดีย์ล่างมีซุ้มจำนวน 32 ซุ้ม ภายในประดับสิงห์ปูนปั้น ถัดขึ้นมาจะทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจำนวน 16 ที่บัลลังก์ของเจดีย์มีการทำเป็นซุ้มออกมาทั้งสี่ทิศ
       ด้านตะวันตกของเจดีย์สิงห์ล้อมรอบเป็นมณฑปยกพื้นเตี้ยๆ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ประกอบด้วย พระปางมารวิชัย 2 องค์ และพระไสยาสน์ 1 องค์ ลักษณะพระพักตร์ขององค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์ค่อนข้างเป็น ตอนหลังสุดของวัดมีเจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม อยู่ในระเบียงคดเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า เจดีย์ช้างเผือก เนื่องจากฐานเดิมเคยประดับช้างปูนปั้นโผล่ครึ่งตัวโดยรอบ จำนวน 32 เชือก บนฐานเจดีย์ยังมีเจดีย์ประจำมุมทั้ง 4 มุม ด้านตะวันออกของเจดีย์ทรงระฆังช้างล้อมมีร่องรอยพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ แต่องค์พระและซุ้มหักพังจนหมดเหลือเฉพาะส่วนพระบาททั้ง 2 ข้าง เรียกพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่เช่นนี้ว่า พระอัฏฐารศ
(ที่มา: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน))
       หลังจากที่ผู้เขียนได้ไปเยือนไปเที่ยวชม ไปกราบรอยพระแก้วมรกต ที่วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม (Wat Phra Kaew Don Tao Sucha Daram) จ.ลำปาง ป้ายบริเวณวัดได้เขียนบอกกล่าวว่า "..."พระแก้วมรกต" ได้รับอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เมืองสำคัญต่างๆ มากมาย อาทิเช่น เมืองกำแพงเพชร เมืองลำปาง เมืองเชียงราย เมืองเชียงใหม่ เมืองหลวงพระบาง และเมืองเวียงจันทร์ เป็นต้น..."  ฉนั้น วัดพระแก้ว จ.กำแพงเพชร คือ อีกหนึ่งสถานที่กราบรอยพระแก้วมรกต


ป้ายเยือนเมืองเหนือ กราบรอยพระแก้วมรกต วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม 
        จาก http://th.wikipedia.org หัวข้อ "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" เขียนไว้ในหัวข้อดังกล่าวว่า "พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน ถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ
         พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ
        พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง มีพระราชโองการ ให้ส่งพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ ไปยังลังกาทวีป เพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฎกและขอพระแก้วมรกตกลับมาด้วย แต่เรือที่บรรทุกพระแก้วมรกตถูกพายุพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา สั่งให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย
         หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย
         ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต่อมา เจ้ามหาพรหมพระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าผู้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือสามหัวเมือง คือเชียงราย เชียงแสน และเมืองฝางได้ลี้ภัยจากศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่ ไปอาศัยอยู่กับพระยาญานดิส เจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมาเมื่อจะกลับไปเมืองเชียงราย ก็ได้ทูลขอพระแก้วมรกตต่อพระเจ้ากำแพงเพชร พระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้เจ้ามหาพรหม
         เมื่อเจ้ามหาพรหมชราภาพลง ด้วยความเป็นห่วงในพระแก้วมรกต จึงได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงรายโดยไม่มีใครรู้ จนกระทั่งเกิดอัสนีบาตลงเจดีย์ตามที่ปรากฏในพงศาวดารของล้านนา"
สถานที่ตั้ง
     อ.เมือง  จ.กำแพงเพชร

การเดินทางไป "วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) จ.กำแพงเพชร"
      เมื่อเดินทางถึงเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร (รายละเอียดการเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร) วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) จะอยู่ใกล้กับศาลหลักเมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร (Kamphaeng Phet Pillar Shrine) อยู่ติดทางหลวงหมายเลข 101 ดังแผนที่ด้านล่าง (หมายเลข 2)

แผนที่วัดพระแก้ว (หมายเลข 2)
(รูปแผนที่ : แผ่นผับโบรชัวร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย "Travel Guide Map Sukhothai")


แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) จ.กำแพงเพชร

เดินทางถึงเป้าหมายแล้ว "วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) จ.กำแพงเพชร"
          เมื่อถึงจุดหมายแล้วเราเข้าไปกราบรอยพระแก้วมรกตที่วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) กันครับ (ภาพประกอบ : การเดินทางวันที่ 1 มกราคม 2558)

ทางเข้าวัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)

ป้ายบริเวณทางเข้าวัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) เขียนเล่าเรื่องราวเมืองกำแพงเพชร
          เมื่อเข้าไปภายในบริเวณวัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) นักท่องเที่ยวหรือผู้ไปเยือนจะได้พบกับความงดงามทางสถาปัตกรรมจากโบราณสถาน มรดกโลก เมืองกำแพงเพชร

วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)

กำแพงวัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)

วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)
       เมื่อมาถึงวัดพระแก้วสิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาด คือ ชม เจดีย์ช้างเผือก ฐานประดับช้างปูนปั้นโผล่ครึ่งตัวโดยรอบ จำนวน 32 เชือก บนฐานเจดีย์ยังมีเจดีย์ประจำมุมทั้ง ๔ มุม

เจดีย์ช้างเผือก วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)

เจดีย์ช้างเผือก วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)
เจดีย์ช้างเผือก วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)
              เดินมาถัดจากเจดีย์ช้างเผือก จะพบกับที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ประกอบด้วย พระปางมารวิชัย 2 องค์ และพระไสยาสน์ 1 องค์ อีกหนึ่งจุดสิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดเมื่อมาถึงวัดพระแก้วครับ

วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)
พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่  พระปางมารวิชัย 2 องค์ และพระไสยาสน์ 1 องค์ วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)
              ชมความงดงามของโบราณศิลปะของวัดพระแก้วจุดอื่่นๆ ต่อไปครับ

วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)

วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)

วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)

วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)

วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)



วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo)
     หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมโบราณสถาน มรดกโลก กราบรอยพระแก้วมรกต ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ "วัดพระแก้ว (Wat Phra Kaeo) จ.กำแพงเพชร" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร (Kamphaeng Phet Historical Park)
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (Sukhothai Historical Park) จ.สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (Si Satchanalai Historical Park) จ.สุโขทัย
ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร (Kamphaeng Phet Pillar Shrine)
วัดพระธาตุ (Wat Phra That) จ.กำแพงเพชร
วัดช้างรอบ (Wat Chang Rop) จ.กำแพงเพชร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น