ประวัติ/ความสำคัญ "พระตำหนักแดง (The Red House) "
จากเว็บไซต์ของกรมศิลปากร เขียนเล่าว่า "พระตำหนักแดง เดิมอยู่ในหมู่พระตำหนัก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นที่ในพระบรมมหาราชวัง 2 หมู่ พร้อมกับการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพุทธศักราช 2325 หมู่ 1 เรียกว่า พระตำหนักเขียว พระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระเทพสุดาวดี อีกหมู่ 1 เรียกว่า พระตำหนักแดง พระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดรักษ์ เสด็จประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุ แล้วสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเป็นพระธิดาได้เสด็จประทับ และทรงปกครองต่อมาในรัชกาลที่ 2 ครั้นถึงในรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระศรีสุริเยนทรฯ เสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ย้ายพระตำหนักแดงทั้งหมู่ไปปลูกถวายเป็นที่ประทับ ณ พระราชวังเดิม และได้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ด้วย"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในรัชกาลที่ 4 หลังจากเสด็จบวรราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ย้ายพระตำหนักแดงส่วนที่ที่ประทับของพระองค์มาปลูกรักษาไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่พระวิมาน ครั้นถึงพุทธศักราช 2470 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จมาประพาสพิพิธภัณฑสถาน ทอดพระเนตรเห็นพระตำหนักแดงชำรุดทรุดโทรมอยู่ ทรงพระปรารภว่าเป็นของโบราณสร้างอย่างประณีตพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร์ และได้เคยเป็นพระตำหนักของสมเด็จพระไปยิกา และสมเด็จพระอัยยิกา กับทั้งสมเด็จพระปิตุลาธิราชเจ้ามาแต่ก่อน จึงทรงบริจาคทรัพย์ในส่วนพระองค์ประทานเพื่อปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนดี ไว้เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศของพระบรมราชจักรีวงศ์สืบไป เมื่อการปฏิสังขรณ์สำเร็จ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ ได้เสด็จมาบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระตำหนักแดง เนื่องในการเฉลิมพระชันษาครบ 66 ปี เมื่อ วันจันทร์ ที่ 10 กันยายน พุทธศักราช 2471
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2506 กรมศิลปากร ได้ดำเนินการบูรณะและย้ายพระตำหนักแดงจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้านหลังหมู่พระวิมานมาตั้งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ด้านหน้าหมู่พระวิมานดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
ตำหนักแดงมีลักษณะเป็นตำหนักหลังเดียวแบบตำหนักหอ ความยาว 7 ห้อง มีเฉลียงที่ด้านหน้า หลังคาชั้นเดียวไม่มีมุขลด มุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าบันกรุด้วยไม้แบบลูกฟักหน้าพรหม กรอบคูหาหน้าบันประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และนาคสะดุ้ง ตัวเรือนทำฝาปะกน ดุมอกและเชิงบน-ล่างอกเลาบานประตูหน้าต่าง แกะสลักลวดลายอย่างงดงาม ลักษณะเด่นของตำหนักแดงคือ พระแกลที่มีฐานเท้าสิงห์ประกอบอยู่ตอนล่าง ซึ่งมักจะไม่ปรากฏในเรือนสามัญชน และมีเสานางเรียงรับชายคาทางด้านขวาและด้านหลังจำนวน 15 เสา ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏในเรือนที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ปัจจุบันภายในจัดแสดงอย่างตำหนักของเจ้านายโบราณ ได้แก่ สิ่งของส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และเครื่องเรือนของใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์"
สถานที่ตั้ง "พระตำหนักแดง (The Red House) "
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เวลาเปิด-ปิด "พระตำหนักแดง (The Red House) "
การเดินทางไป "พระตำหนักแดง (The Red House) "
พระตำหนักแดง (The Red House) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) สามารถเดินทางไปโดยอิงตามแผนที่ด้านล่างครับ
แผนที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )
ตามรอยประวัติศาสตร์กันครับที่พระตำหนักแดง (The Red House) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ( The National Museum Bangkok ) (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 2 เม.ย.2559)
พระตำหนักแดง (The Red House) |
ภายในจัดแสดงอย่างตำหนักของเจ้านายโบราณ ได้แก่ สิ่งของส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และเครื่องเรือนของใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์
ภายในพระตำหนักแดง (The Red House) |
ภายในพระตำหนักแดง (The Red House) |
ภายในพระตำหนักแดง (The Red House) |
พระตำหนักแดง (The Red House) |
พระตำหนักแดง (The Red House) |
พระตำหนักแดง (The Red House) |
พระตำหนักแดง (The Red House) |
พระตำหนักแดง (The Red House) |
งดงามมากครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย เมืองไทยของเรา "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ
หอกลอง ( Drum Tower )
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
กราบพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (Buddhaisawan Chapel) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น