My latest images for sale at Shutterstock:

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พระตำหนักแดง (The Red House) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ( The National Museum Bangkok )

          พระตำหนักแดง (The Red House)  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย) หมายเลข 8 ในแผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


แผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) ป้ายหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
ประวัติ/ความสำคัญ "พระตำหนักแดง (The Red House) "
        จากเว็บไซต์ของกรมศิลปากร เขียนเล่าว่า "พระตำหนักแดง เดิมอยู่ในหมู่พระตำหนัก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นที่ในพระบรมมหาราชวัง 2 หมู่ พร้อมกับการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพุทธศักราช 2325 หมู่ 1 เรียกว่า พระตำหนักเขียว พระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระเทพสุดาวดี อีกหมู่ 1 เรียกว่า พระตำหนักแดง พระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดรักษ์ เสด็จประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุ แล้วสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเป็นพระธิดาได้เสด็จประทับ และทรงปกครองต่อมาในรัชกาลที่ 2 ครั้นถึงในรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระศรีสุริเยนทรฯ เสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ย้ายพระตำหนักแดงทั้งหมู่ไปปลูกถวายเป็นที่ประทับ ณ พระราชวังเดิม และได้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ด้วย"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
        ในรัชกาลที่ 4 หลังจากเสด็จบวรราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ย้ายพระตำหนักแดงส่วนที่ที่ประทับของพระองค์มาปลูกรักษาไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่พระวิมาน ครั้นถึงพุทธศักราช 2470 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จมาประพาสพิพิธภัณฑสถาน ทอดพระเนตรเห็นพระตำหนักแดงชำรุดทรุดโทรมอยู่ ทรงพระปรารภว่าเป็นของโบราณสร้างอย่างประณีตพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร์ และได้เคยเป็นพระตำหนักของสมเด็จพระไปยิกา และสมเด็จพระอัยยิกา กับทั้งสมเด็จพระปิตุลาธิราชเจ้ามาแต่ก่อน จึงทรงบริจาคทรัพย์ในส่วนพระองค์ประทานเพื่อปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนดี ไว้เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศของพระบรมราชจักรีวงศ์สืบไป เมื่อการปฏิสังขรณ์สำเร็จ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ ได้เสด็จมาบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระตำหนักแดง เนื่องในการเฉลิมพระชันษาครบ 66 ปี เมื่อ วันจันทร์ ที่ 10 กันยายน พุทธศักราช 2471


        ต่อมาในปีพุทธศักราช 2506 กรมศิลปากร ได้ดำเนินการบูรณะและย้ายพระตำหนักแดงจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้านหลังหมู่พระวิมานมาตั้งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ด้านหน้าหมู่พระวิมานดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
        ตำหนักแดงมีลักษณะเป็นตำหนักหลังเดียวแบบตำหนักหอ ความยาว 7 ห้อง มีเฉลียงที่ด้านหน้า หลังคาชั้นเดียวไม่มีมุขลด มุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าบันกรุด้วยไม้แบบลูกฟักหน้าพรหม กรอบคูหาหน้าบันประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และนาคสะดุ้ง ตัวเรือนทำฝาปะกน ดุมอกและเชิงบน-ล่างอกเลาบานประตูหน้าต่าง แกะสลักลวดลายอย่างงดงาม ลักษณะเด่นของตำหนักแดงคือ พระแกลที่มีฐานเท้าสิงห์ประกอบอยู่ตอนล่าง ซึ่งมักจะไม่ปรากฏในเรือนสามัญชน และมีเสานางเรียงรับชายคาทางด้านขวาและด้านหลังจำนวน 15 เสา ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏในเรือนที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
        ปัจจุบันภายในจัดแสดงอย่างตำหนักของเจ้านายโบราณ ได้แก่ สิ่งของส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และเครื่องเรือนของใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์"

สถานที่ตั้ง "พระตำหนักแดง (The Red House) "
        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เวลาเปิด-ปิด "พระตำหนักแดง (The Red House) "
        เวลาทำการ 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร

การเดินทางไป "พระตำหนักแดง (The Red House) "
         พระตำหนักแดง (The Red House)  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )  สามารถเดินทางไปโดยอิงตามแผนที่ด้านล่างครับ

แผนที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

เดินทางถึงเป้าหมาย "พระตำหนักแดง (The Red House) "
            ตามรอยประวัติศาสตร์กันครับที่พระตำหนักแดง (The Red House)  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ( The National Museum Bangkok )   (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 2 เม.ย.2559)
   
พระตำหนักแดง (The Red House) 

            ภายในจัดแสดงอย่างตำหนักของเจ้านายโบราณ ได้แก่ สิ่งของส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และเครื่องเรือนของใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ 

ภายในพระตำหนักแดง (The Red House) 

ภายในพระตำหนักแดง (The Red House) 

ภายในพระตำหนักแดง (The Red House) 

พระตำหนักแดง (The Red House) 

พระตำหนักแดง (The Red House) 

พระตำหนักแดง (The Red House) 

พระตำหนักแดง (The Red House) 

พระตำหนักแดง (The Red House) 

            งดงามมากครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย เมืองไทยของเรา "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
หอกลอง ( Drum Tower )
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
โรงราชรถ ( The Royal Funeral Chariots ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
กราบพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (Buddhaisawan Chapel) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

          พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย) หมายเลข 1 ในแผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


แผนผังห้องจัดแสดง ( Museum Plan) ป้ายหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

สถานที่ตั้ง "พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย"
        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เวลาเปิด-ปิด "พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย"
        เวลาทำการ 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร

การเดินทางไป "พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย"
         พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok ) ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย สามารถเดินทางไปโดยอิงตามแผนที่ด้านล่างครับ

แผนที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )

เดินทางถึงเป้าหมาย "พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย"
            ไปตามรอยประวัติศาสตร์กันครับที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (รูปประกอบ : ถ่ายวันที่ 2 เม.ย.2559)
            
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history)

            ชมบริเวณภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทยกันครับ

ธรรมจักร
           พบที่วัดเสน่หา อ.เมือง จ.นครปฐม ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12 (1,400 ปีมาแล้ว)

ธรรมจักร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ครึ่งองค์
           พบที่ วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ศิลปะศรีวิชัย ต้นพุทธศตวรรษที่ 14

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ครึ่งองค์

ทับหลังภาพหงส์และลายซุ้มพันธุ์พฤกษา
           พบที่ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว พุทธศตวรรษที่ 13 (1,300 ปีมาแล้ว)

ทับหลังภาพหงส์และลายซุ้มพันธุ์พฤกษา

ทับหลังภาพวิษณุอนันตศายิน (นารายณ์บรรทมสินธุ์)
           จากปราสาทกู่สวนแตง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์ ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 17 (900 ปีมาแล้ว)

ทับหลังภาพวิษณุอนันตศายิน (นารายณ์บรรทมสินธุ์)

ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือ ศิลาจารึกพ่อขุรามคำแหงมหาราช
           พบที่ เนินปราสาทเมืองโบราณสุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พ.ศ.1835

ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระอิศวร
           จากเทวสถานสำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) กรุงเทพมหานคร ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20 (600-700 ปีมาแล้ว)

พระอิศวร

พระวิษณุ
           จากเทวสถานสำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) กรุงเทพมหานคร ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20 (600-700 ปีมาแล้ว)

พระวิษณุ

พระเศียรพระพุทธรูป
           ขุดพบในวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21 (500 ปีมาแล้ว)

พระเศียรพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางสมาธิ
           พบที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18-19 (700-800 ปีมาแล้ว)

พระพุทธรูปปางสมาธิ

พระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก
           จากวัดหน้าพระเมรุ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 17 (900 ปีมาแล้ว)

พระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก

เสมาสลักภาพพุทธประวัติ
           ตอน โสตถยพราหมณ์ถวายหญ้าคา พบที่ เมืองฟ้าแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธิ์ ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 14-16 (1,000-1,200 ปีมาแล้ว)

เสมาสลักภาพพุทธประวัติ

กลองมโหระทึก
           พบที่ ต.ท่าเสา อ.เมืองอุตรดิตย์ ยุดก่อนประวัติศาสตร์ 2,400-2,700 ปีมาแล้ว

กลองมโหระทึก

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี
           พบที่ ปราสาทเมืองสิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18 (800 ปีมาแล้ว)

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี

พระเศียรพระโพธิสัตว์
           พบที่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา พุทธศตวรรษที่ 13-14 (1,200-1,300 ปีมาแล้ว)

พระเศียรพระโพธิสัตว์

พระศิวะห้าเศียร (พระสทาศิวะ)
           พบที่ วัดหน้าพระเมรุ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21-22 (400-500 ปีมาแล้ว)

พระศิวะห้าเศียร (พระสทาศิวะ)

พระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่องใหญ่
           จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 23 (300 ปีมาแล้ว)

พระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่องใหญ่

พระพุทธรูปยืนเหนือพนัสบดี
           ไม่ทราบที่มา เดิมเป็นของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเดีย์ ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 (1,200-1,300 ปีมาแล้ว)

พระพุทธรูปยืนเหนือพนัสบดี

ประติมากรรมนูนสูงรูปสตรีสูงศักดิ์และนางกำนัล
           พบที่ เมืองโบราณคูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-13 (1,200-1,300 ปีมาแล้ว)

ประติมากรรมนูนสูงรูปสตรีสูงศักดิ์และนางกำนัล

นางอัปสร
           พบที่ ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 16-17 (900-1000 ปีมาแล้ว)

นางอัปสร

พระวิศวกรรม (เทวสถาปนิก)
           ไม่ทราบที่มา ย้ายมาจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จ.พระนครศรีอยุธยา ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18 (800 ปีมาแล้ว)

พระวิศวกรรม (เทวสถาปนิก)

พระพุทธรูปปางมารวิชัยสามองค์ในซุ้มบัลลังก์
           พบที่ อ.ดอนขวาง อ.เมืองอุทัย จ.อุทัยธานี ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18 (800 ปีมาแล้ว)

พระพุทธรูปปางมารวิชัยสามองค์ในซุ้มบัลลังก์

ครุฑยุคนาค (เครื่องประดับราชสยาม)
           ไม่ทราบที่มา สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18 (800 ปีมาแล้ว)

ครุฑยุคนาค (เครื่องประดับราชสยาม)

ชิ้นส่วนแผ่นประทับเพดานลายดอกบัว
           เดิมติดเพดานมณฑป วัดศรีชุม อ.เมืองสุโขทัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 (600 ปีมาแล้ว)

ชิ้นส่วนแผ่นประทับเพดานลายดอกบัว

มกร (ส่วนประดับสถาปัตยกรรม)
           สังคโลก (เครื่องเคลือบดินเผาของสุโขทัย) ไม่ทราบที่มา ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 21 (500 ปีมาแล้ว)

มกร (ส่วนประดับสถาปัตยกรรม)

ประติมากรรมนูนสูงรูปโพธิพฤกษ์
           พบที่คลองเมือง (แม่น้ำลพบุรี) ใกล้วัดศาลาปูน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20 (600 ปีมาแล้ว)

ประติมากรรมนูนสูงรูปโพธิพฤกษ์

พระพุทธรูปคันธารราฐ
           พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างตามแบบพระพุทธรูปคันธาระของอินเดียโบราณ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2453

พระพุทธรูปคันธารราฐ

ศรีษะโขน
           หนุมาน เป็นสมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 (200 ปีมาแล้ว)

ศรีษะโขน

             นี่เป็นบางส่วนที่เดินไป ยิ้มไป ภาคภูมิในในความเป็นไทยครับ ไปเดินชมพื้นที่อื่นๆ ภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้ครบนะครับ ทุกชิ้นคือของจริงทั้งหมด



            ภาคภูมิใจในความเป็นไทยมากครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ตามชมโบราณวัตถุของจริง ตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย เมืองไทยของเรา "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( The National Museum Bangkok )" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


ตามรอยเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ( Wat Pho )
หอกลอง ( Drum Tower )

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ระบบคมนาคมสำหรับท่องเที่ยวในสิงคโปร์ (Transport for tourists in Singapore)

Thai | English


ระบบคมนาคมสำหรับท่องเที่ยวในสิงคโปร์ 
         สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศสิงคโปร์ เราสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ผ่านระบบคมนาคมในสิงคโปร์ ได้ดังนี้ครับ
รถ Taxi
         อัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ $3.00


MRT
         ให้บริการตั้งแต่  5.30am - 12.00am. (ตีห้าครึ่งถึงเที่ยงคืน) ราคาตั๋ว MRT อยู่ระหว่าง $1.40 - $2.70. (www.smrt.com.sg)


รถ Bus
          อัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 79 cents (www.sbstransit.com.st)

         ขอให้สนุกกับการเดินทางท่องเที่ยวในสิงคโปร์ครับ




( ที่มา : Brochure >> Singapore insider )