หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum) เติมเต็มภาพความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยา


         พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum) จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  อีกหนึ่งสถานที่อยากชวนไปเติมเต็มภาพความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยาให้ชัดเจนครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)



         เมื่อปีพ.ศ. 2502 ประกอบกับวัตถุโบราณวัตถุสำคัญล้ำค่าจำนวนมากที่พบตามโบราณสถานต่างๆ ทั่วพระนครศรีอยุธยา จำเป็นต้องมีที่เก็บรักษาและจัดแสดง จึงทำให้พิพิธภัณฑ์อันทรงคุณค่าแห่งนี้เกิดขึ้น
         พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างด้วยเงินจากประชาชนที่เช่าพระพิมพ์ที่ขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง จึงให้ใช้ชื่อว่า "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา"



          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2504 และเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555) 


วัน/เวลาเปิด-ปิดและค่าธรรมเนียมการเข้าชม :  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
         วันเปิดบริการ :  เปิดบริการทุกวัน
         เวลาทำการ :  09.00-1600 น.
         ค่าธรรมเนียมการเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท , ชาวต่างชาติ 150 บาท
         

ป้ายปิดประกาศงดเก็บค่าเข้าชมในบางโอกาสสำคัญ

สถานที่ตั้ง  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
         ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)

แผนที่สำหรับเดินทางไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)

ถึงจุดหมาย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)
            เมื่อเราเดินทางไปถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum) มุ่งหน้าไปตามรอยความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยากันครับ (รูปประกอบ : 5 ม.ค.2560 )  
ข้อปฏิบัติการเข้าชม
            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum) จัดแสดง 3 อาคาร

แผนผังอาคารจัดแสดง 3 อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
  • หมายเลข 1 : อาคาร 1
  • หมายเลข 2 : อาคาร 2
  • หมายเลข 3 : อาคาร 3
            อาคาร 1 
            อาคาร 1 ชั้น 1 จัดแสดงโบราณศิลปะวัตถุที่ขุดค้นพบจากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานใน จ.พระนครศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2499-2500
( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555) 

โบราณศิลปะวัตถุบริเวณอาคารชั้น 1

โบราณศิลปะวัตถุบริเวณอาคารชั้น 1

โบราณศิลปะวัตถุบริเวณอาคารชั้น 1
            เราไปชมความงดงามของโบราณศิลปะวัตถุกันครับ บริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 สิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดคือ ชมความงดงามโบราณศิลปะวัตถุขององค์พระและสักการะพระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" หรือหลวงพ่อประทานพร เป็นหนึ่งในสี่องค์ที่ประดิษฐานในประเทศไทย อายุมากกว่า 1,000 ปี และเศียรพระธรรมิกราช เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอู่ทองจากวัดธรรมมิกราชองค์จริง

พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" เป็นหนึ่งในสี่องค์ที่ประดิษฐานในประเทศไทย

พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" เป็นหนึ่งในสี่องค์ที่ประดิษฐานในประเทศไทย

พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" เป็นหนึ่งในสี่องค์ที่ประดิษฐานในประเทศไทย
เศียรพระธรรมิกราช เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอู่ทองจากวัดธรรมมิกราชองค์จริง

เศียรพระธรรมิกราช เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอู่ทองจากวัดธรรมมิกราชองค์จริง
            โบราณศิลปะวัตถุบริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 ค่อยๆ เดิน ค่อยๆชมความงดงามทางศิลปะของแต่ละยุคแต่ละสมัยในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาครับ

คันทวย ( วัสดุ : ไม้  ที่มา : วัดตะกู พระนครศรีอยุธยา)

กรอบจำหลักลายพุ่มข้าวบิณฑ์และลายก้านขด ( วัสดุ : ไม้  ศิลปะอยุธยา/พุทธศตวรรษที่ 21-22)

หน้าบันจำหลักรูปนารายณ์ทรงครุฑ ( วัสดุ : ไม้  ศิลปะอยุธยา/พุทธศตวรรษที่ 22-23 ที่มา : วัดแม่นางปลื้ม พระนครศรีอยุธยา)

หน้าบันจำหลักลายดอกพุดตานและกระต่าย ( วัสดุ : ไม้  ศิลปะรัตนโกสินทร์/พุทธศักราช 2467 ที่มา : วัดหนองน้ำส้ม พระนครศรีอยุธยา)

ครุฑโขนเรือ ( วัสดุ : ไม้  ศิลปะอยุธยา/พุทธศตวรรษที่ 22-23 ที่มา : แม่น้ำลพบุรี พระนครศรีอยุธยา)

พระพุทธรูปนาคปรก ( วัสดุ : หินทราย  ศิลปะเขมรในประเทศไทย/พุทธศตวรรษที่ 17 ที่มา : วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา)
            กลุ่มพระพุทธรูปจากกรุวัดราชบูรณะ

กลุ่มพระพุทธรูปจากกรุวัดราชบูรณะ

กลุ่มพระพุทธรูปจากกรุวัดราชบูรณะ

            กลุ่มพระพุทธรูปจากวัดมหาธาตุ

กลุ่มพระพุทธรูปจากวัดมหาธาตุ

            กลุ่มศิลปกรรมสำคัญที่พบในวัดศรีสรรเพชญ์

 กลุ่มศิลปกรรมสำคัญที่พบในวัดศรีสรรเพชญ์

            กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระอุระและพระพาหาซ้ายขององค์พระมงคลบพิตร

กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระอุระและพระพาหาซ้ายขององค์พระมงคลบพิตร

กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระอุระและพระพาหาซ้ายขององค์พระมงคลบพิตร

กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญที่พบภายในพระอุระและพระพาหาซ้ายขององค์พระมงคลบพิตร

            กลุ่มพระพุทธรูปจากวัดธรรมิกราช

กลุ่มพระพุทธรูปจากวัดธรรมิกราช

กลุ่มพระพุทธรูปจากวัดธรรมิกราช

            กลุ่มพระพุทธรูปจากต่างประเทศ

กลุ่มพระพุทธรูปจากต่างประเทศ

            นอกจากนี้บริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 อยู่ติดกับเศียรพระธรรมิกราชจะมีห้องแสดงโบราณวัตถุที่สำคัญจากวัดราชบูรณะ เป็นอีกห้องต้องเข้าเยี่ยมชมครับ
            อาคาร 1 ชั้น 2  จัดแสดงเครื่องทอง 2 ห้อง ประกอบด้วย ห้องที่ 1 คือ ห้องเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ และ ห้องที่ 2 คือ ห้องพระบรมสารีริกธาตุและห้องเครื่องทองวัดมหาธาตุ ส่วนรอบเฉลียงแสดงพระพิมพิมพ์ที่ทำด้วยชิน เหรียญ เงินตรา และดินเผา

ส่วนรอบเฉลียงอาคาร 1 ชั้น 2

ส่วนรอบเฉลียงอาคาร 1 ชั้น 2 แสดงเหรียญและเงินตรา

ส่วนรอบเฉลียงอาคาร 1 ชั้น 2 แสดงเหรียญและเงินตรา

ส่วนรอบเฉลียงอาคาร 1 ชั้น 2 แสดงเหรียญและเงินตรา
             ส่วนสำคัญที่ต้องทำและห้ามพลาดของอาคาร 1 ชั้น 2 คือการเข้าชมความงดงามของเครื่องทองและสักการะพระบรมสารีริกธาตุของ 2 ห้องนี้
             ห้องที่ 1 คือ ห้องเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ จัดแสดงเครื่องทองที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ มีโบราณวัตถุที่สำคัญหลายชิ้นครับ ห้องนี้เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาแจ้งว่าห้ามถ่ายรูป และมีป้ายกำกับไว้ชัดเจนครับ อยากให้ทุกคนในเมืองไทยมาดูความงดงามทางโบราณศิลปะของเครื่องทองด้วยตนเองครับ

ห้องเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ

ห้องเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ 

             ห้องที่ 2 คือ ห้องพระบรมสารีริกธาตุและห้องเครื่องทองวัดมหาธาตุ จัดแสดงเครื่องทองที่พบในกรุพระปรางค์วัดวัดมหาธาตุ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบทองคำ ห้องนี้เป็นอีกหนึ่งห้องที่เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาแจ้งว่าห้ามถ่ายรูป และมีป้ายกำกับไว้ชัดเจนครับ ห้องนี้เป็นห้องที่ผู้เขียนคิดว่าใครมาที่นี่แล้วต้องขึ้นมากราบพระบรมสารีริกธาตุให้ได้ครับ

ห้องพระบรมสารีริกธาตุและห้องเครื่องทองวัดมหาธาตุ

            อาคาร 2
            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อาคาร 2 จัดแสดงโบราณศิลปะวัตถุที่พบในประเทศไทยตามลำดับอายุ สมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-24






            อาคาร 3
            อาคาร 3 เป็นเรือนไทยที่สร้างเป็นหมู่เรือนไทยภาคกลาง ปลูกอยู่กลางคูน้ำ ภายในเรื่อนไทยจัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยสมัยก่อน
 ( ที่มา : โบชัวร์ "พระนครศรีอยุธยา" ,ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ,เมษายน 2555) 
            ในช่วงที่ผู้เขียนไปเยือนเรือนไทยอาคาร 3 เป็นช่วงที่ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จัดแสดงนิทรรศการพิเศษ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระชนมายุครบ 7 รอบ เรื่อง "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พระนครศรีอยุธยา" ตั้งแต่ เม.ย.2559 - เม.ย.2560

อาคาร 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

อาคาร 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

ป้ายแนะนำนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดืที่พระนครศรีอยุธยา" 
            การจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พระนครศรีอยุธยา" ห้องที่ 1 : พระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ห้องที่ 1 : พระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ห้องที่ 1 : พระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
            ห้องที่ 2 : 7 ขุมทรัพย์ ห้ามพลาดที่พระนครกรุงศรีอยุธยา

ห้องที่ 2 : 7 ขุมทรัพย์ ห้ามพลาดที่พระนครกรุงศรีอยุธยา

ห้องที่ 2 : 7 ขุมทรัพย์ ห้ามพลาดที่พระนครกรุงศรีอยุธยา
            เมื่อชมความงดงามทางโบราณศิลปะและตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย ทำให้ผมอยากบอกคนไทยทุกคนครับว่า อยากให้ทุกคนคนไทยมาที่นี่ครับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum) สถานที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยของเราครับ
            ไปเติมเต็มภาพความรุ่งเรืองในอดีตของกรุงศรีอยุธยาให้ชัดเจน ตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (Chao Sam Phraya National Museum)” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น