วัดศรีชุม (หมายเลข 7) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
(รูปแผนที่ : โบรชัวร์อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
ประวัติ/ความสำคัญ "วัดศรีชุม (Wat Sri Chum)"
"วัดศรีชุม" มาจากคำเรียกพื้นเมืองเดิม ซึ่งหมายถึง ต้นโพธิ์ ดังนั้นชื่อ ศรีชุม จึงหมายถึงดงของต้นโพธิ์ แต่ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่เข้าใจความหมายนี้แล้ว จึงเรียกสถานที่นั้นว่า "ฤๅษีชุม"
วัดศรีชุมนั้น สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้...............มีพระอจนะ มีปราสาท"
พระประธานในมณฑปจึงมีชื่อว่า "พระอจนะ" พระมณฑปกว้างด้านละ 32 เมตร สูง 15 เมตร ผนังหนา 3 เมตร ผนังด้านซ้ายเจาะเป็นทางทำบันได ในผนังขึ้นไปถึงหลังคา ตามฝาผนังอุโมงค์มีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี เพดานผนังมีแผ่นหินชนวนสลักภาพลายเส้นเป็นเรื่องในชาดกต่างๆ มีจำนวน 50 ภาพ เรียงประดับต่อเนื่องกัน ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นงานจิตรกรรมไทยที่เก่าแก่ที่สุด
ในสมัยอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ. 2127 ที่เมืองแครง ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกเลิกการส่งส่วยให้กับพม่า แต่ยังมีเมืองเชลียง ( สวรรคโลก) ที่ไม่ยอมทำตามพระราชโองการของพระองค์ พระองค์จึงนำทัพเสด็จมาปราบเมืองเชลียง และได้มีการมาชุมนุมทัพที่วัดศรีชุมแห่งนี้ก่อนที่จะไปตีเมืองเชลียง และด้วยการรบในครั้งนั้นเป็นการรบระหว่างคนไทยกับคนไทยด้วยกัน ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบไม่อยากรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงได้วางแผนสร้างกำลังใจให้กับทหาร โดยการให้ทหารคนหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระ และพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร ทำให้ทหารเกิดกำลังใจที่จะต่อสู้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดตำนานพระพูดได้ที่วัดศรีชุมแห่งนี้ และพระนเรศวรยังได้มีการทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาขึ้นที่วัดแห่งนี้ด้วย
ตามหลักฐานระบุว่าวัดแห่งนี้ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าลิไท และมีการดูแลบูรณะเรื่อยมา สันนิษฐานว่าวัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในสมัย รัชกาลที่ 9 ได้มีโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ ในปี พ.ศ. 2495 โดยเริ่มมีการบูรณะพระพุทธรูปพระอจนะ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอาจารย์เขียน ยิ้มสิริ วัดจึงอยู่ในสภาพที่เห็นในปัจจุบัน
(ที่มา : http://th.wikipedia.org)
วัดศรีชุมนั้น สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้...............มีพระอจนะ มีปราสาท"
รูปแบบสันนิษฐานป้ายหน้าวัดเล่าเรื่องราวของวัดศรีชุม (Wat Sri Chum) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
(ที่มา : ป้ายหน้าวัดป้ายหน้าวัดศรีชุม)
|
รูปแบบสันนิษฐานป้ายหน้าวัดเล่าเรื่องราวของวัดศรีชุม (Wat Sri Chum) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
(ที่มา : ป้ายหน้าวัดป้ายหน้าวัดศรีชุม)
(ที่มา : ป้ายหน้าวัดป้ายหน้าวัดศรีชุม)
พระประธานในมณฑปจึงมีชื่อว่า "พระอจนะ" พระมณฑปกว้างด้านละ 32 เมตร สูง 15 เมตร ผนังหนา 3 เมตร ผนังด้านซ้ายเจาะเป็นทางทำบันได ในผนังขึ้นไปถึงหลังคา ตามฝาผนังอุโมงค์มีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี เพดานผนังมีแผ่นหินชนวนสลักภาพลายเส้นเป็นเรื่องในชาดกต่างๆ มีจำนวน 50 ภาพ เรียงประดับต่อเนื่องกัน ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นงานจิตรกรรมไทยที่เก่าแก่ที่สุด
ป้ายหน้าวัดเล่าเรื่องราวของวัดศรีชุม (Wat Sri Chum) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย |
ในสมัยอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ. 2127 ที่เมืองแครง ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกเลิกการส่งส่วยให้กับพม่า แต่ยังมีเมืองเชลียง ( สวรรคโลก) ที่ไม่ยอมทำตามพระราชโองการของพระองค์ พระองค์จึงนำทัพเสด็จมาปราบเมืองเชลียง และได้มีการมาชุมนุมทัพที่วัดศรีชุมแห่งนี้ก่อนที่จะไปตีเมืองเชลียง และด้วยการรบในครั้งนั้นเป็นการรบระหว่างคนไทยกับคนไทยด้วยกัน ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบไม่อยากรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงได้วางแผนสร้างกำลังใจให้กับทหาร โดยการให้ทหารคนหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระ และพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร ทำให้ทหารเกิดกำลังใจที่จะต่อสู้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดตำนานพระพูดได้ที่วัดศรีชุมแห่งนี้ และพระนเรศวรยังได้มีการทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาขึ้นที่วัดแห่งนี้ด้วย
ป้ายหน้าวัดเล่าเรื่องราวของวัดศรีชุม (Wat Sri Chum) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย |
ตามหลักฐานระบุว่าวัดแห่งนี้ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าลิไท และมีการดูแลบูรณะเรื่อยมา สันนิษฐานว่าวัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในสมัย รัชกาลที่ 9 ได้มีโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ ในปี พ.ศ. 2495 โดยเริ่มมีการบูรณะพระพุทธรูปพระอจนะ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอาจารย์เขียน ยิ้มสิริ วัดจึงอยู่ในสภาพที่เห็นในปัจจุบัน
(ที่มา : http://th.wikipedia.org)
สถานที่ตั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อ.เมือง จ.สุโขทัย (รายละเอียดการเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดศรีชุม (Wat Sri Chum) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ถึงจุดหมาย "วัดศรีชุม (Wat Sri Chum)"
เมื่อถึงจุดหมายคือวัดศรีชุม (Wat Si Chum) ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือนอกแนวกำแพงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ไปภาคภูมิใจชมความสง่างามของโบราณสถานของเมืองไทยของเราครับ
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
เมื่อเดินทางมาถึงวัดศรีชุม (Wat Sri Chum) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สิ่งที่นักท่องเที่ยว หรือ ผู้มาเยือนต้องทำ หรือห้ามพลาด คือ กราบพระอจนะ
พระอจนะ วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
พระอจนะ วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
พระอจนะ วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
พระอจนะ วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
พระอจนะ วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
พระอจนะ วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
หลังจากกราบกราบพระอจนะเรียบร้อยแล้ว บริเวณรอบๆ วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีโบราณศิลปะให้เราทัศนาความงดงามของโบราณสถานแห่งนี้ครับ
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) |
หลังจากผู้เขียนได้ไปเที่ยวชมพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย (Siwamokkhaphiman Hall ,gallery of Thai history) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบว่ามีโบราณวัตถุจากวัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ถูกนำไปจัดแสดง คือ ชิ้นส่วนแผ่นประทับเพดานลายดอกบัว ซึ่งทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เขียนบอกกล่าวเล่าว่า "เดิมติดเพดานมณฑป วัดศรีชุม อ.เมืองสุโขทัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 (600 ปีมาแล้ว)"
ชิ้นส่วนแผ่นประทับเพดานลายดอกบัว วัดศรีชุม (Wat Sri Chum) จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมโบราณสถาน มรดกโลก "อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ
รูปความละเอียดสูงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (Sukhothai Historical Park) ทั้งหมด
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (Sukhothai Historical Park) จ.สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร (Kamphaeng Phet Historical Park)
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (Si Satchanalai Historical Park) จ.สุโขทัย
10 สิ่ง "ที่พลาดไม่ได้" ในสุโขทัย (10 things to do in Sukhothai)
วัดสรศักดิ์ ( Wat Sorasak ) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย
วัดเจดีย์เจ็ดแถว (Wat Chedi Chet Thaeo) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (Si Satchanalai Historical Park) จ.สุโขทัย
วัดช้างล้อม (Wat Chang Lom) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
วัดมหาธาตุ (Wat Mahathat) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วัดตระพังเงิน (Wat Traphang Ngoen) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สักการะอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง (King Ramkhamhaeng Monument) สั่นกระดิ่งพ่อขุนที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น