วันนี้ชวนไปกราบพระที่วัดมหาธาตุ ( Wat Maha That ) จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา ) พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกในนาม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ครับ
ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า องค์พระปรางค์ประธานสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1917 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) แล้วเสร็จสมบูรณ์ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม องค์พระปรางค์ได้พังทลายลงมา ต่อมาได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์องค์พระปรางค์ใหม่ทั้งหมดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในปี พ.ศ.2176
ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 วัดมหาธาตุแห่งนี้ถูกไฟไหม้สียหายและถูกทิ้งร้าง จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์องค์พระปรางค์ประธานได้พังทลายลงมาอีกครั้งจนเหลือเพียงส่วนฐานอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
(ที่มา : ป้ายข้อมูลวัดภายในวัดมหาธาตุ)
วัดมหาธาตุ : รูปแบบสันนิษฐาน |
วัดมหาธาตุ : มุมภาพอิงรูปแบบสันนิษฐาน |
วัดมหาธาตุ (Wat Maha That) อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่อยู่ในเขตมรดกโลกตั้งแต่แรกเริ่มที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534
แผนที่ขอบเขตมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) อิงตามเว็บไซต์ UNESCO |
ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
การเดินทางไปวัดมหาธาตุ (Wat Maha That)
การเดินทางจากรุงเทพมหานครมุ่งหน้าไป วัดมหาธาตุ (Wat Maha That) จ.พระนครศรีอยุธยา ( รายละเอียดการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไป จ.พระนครศรีอยุธยา ) รายละเอียดดังนี้ (โดยรถยนต์)
- เลี้ยวซ้ายจากสายเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) เข้า ถ.โรจนะ ( ทางหลวงหมายเลข 309 ) มุ่งหน้าเข้า จ. พระนครศรีอยุธยา
- ขับไปเรื่อยๆตาม ถ.โรจนะ แล้วไปเลี้ยวขวาเข้าได้หลายซอย ได้แก่
- ที่คลองมะขามเรียง และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนป่าโทน ขับไปเรื่อยๆ จนถึงวงเวียนออกทางออกที่ 3 เข้าซอยชีกุน ขับไปเรื่อยๆ ประมาณ 600 เมตร วัดมหาธาตุอยู่ด้านซ้ายมือ
- ทีซอยโชกุล (จุดสังเกตุ ปั้ม ปตท.ด้านขวามือตรงหัวมุม) ขับไปเรื่อยๆ จนถึงวงเวียนแล้วตรงไป ขับไปเรื่อยๆ ประมาณ 600 เมตร วัดมหาธาตุอยู่ด้านซ้ายมือ
เมื่อเดินทางไปถึงวัดมหาธาตุ (Wat Maha That) พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เราไปตามรอยประวัติศาสตร์กันเลยครับ (ภาพการเดินทางวันที่ 8 ส.ค.2558 )
จุดเที่ยวชมที่สำคัญภายในวันมหาธาตุที่ไม่ควรพลาด
ค่าธรรมเนียมการเข้าชมวัด คนไทยคนละ 10 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 50 บาทครับ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่ออิฐถือปูน มีชั้นซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น บนฐานสี่เหลี่ยม เพิ่มมุมไม้ยี่สิบ บริเวณชั้นที่ 1-3 ของแต่ละด้านมีซุ้มจระนำโดยรอบ ระหว่างซุ้มประดับด้วยลายปูนปั้นรูปเทวดา ชั้นที่ 4 ของทุกด้านมีการประดับปรางค์จำลอง สลับกับลายปูนปั้นรูปพระพรหม ส่วนยอดบนสุดประดิษฐานสถุปสำริด (ปัจจุบันนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา) จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์และลวดลายปูนปั้นรุปเทวดา แสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะล้านนาที่ผลมผสานอยู่ (ที่มา : ป้ายข้อมูลวัดภายในวัดมหาธาตุ)
จุดที่ 2 (หมายเลข 2) : เศียรพระพุทธรูปในรากไม้
เศียรพระพุทธรูปหินทรายที่แตกหักจากองค์พระแล้วถูกรากต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุม ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างแบนและกว้าง พระขนงและขอบพระเนตรป้ายเป็นแผ่นใหญ่ พระโอษฐ์กว้างเป็นแนวตรง ขอบพระโอษฐ์ยกเป้นสันขึ้นเล้กน้อย เป็นรูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง กำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศรรตวรรษที่ 21 (ที่มา : ป้ายข้อมูลวัดภายในวัดมหาธาตุ)
หากมาที่วัดมหาธาตุ (Wat Maha That) สิ่งที่ต้องทำให้ได้ คือ มาชมเศียรพระพุทธรูปในรากต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุม ซึ่งมีความงดงามแปลกตา
เศียรพระพุทธรูปในรากไม้วัดมหาธาตุ (Wat Maha That) |
เศียรพระพุทธรูปในรากไม้วัดมหาธาตุ (Wat Maha That) |
เศียรพระพุทธรูปในรากไม้วัดมหาธาตุ (Wat Maha That) |
เศียรพระพุทธรูปในรากไม้วัดมหาธาตุ (Wat Maha That) |
จุดที่ 3 (หมายเลข 3) : วิหารหลวง
เป็นวิหารหลังใหญ่ที่มีผนังเหลือให้เห็นอยู่ด้านหนึ่ง แต่ผนังที่เหลือให้เห็นนี้แตกต่างจากวิหารในสมัยปัจุบัน ตรงที่ผนังถูกเจาะเป็นช่องให้แสงและอากาศผ่านเข้าออก เมื่อขึ้นไปบนวิหารจะมีเสา 1 ต้นที่บูรณะไว้ เพื่อให้ว่าแต่เดิมวิหารหลังนี้มีความสูงใหญ่เพียงใด (ที่มา : ป้ายข้อมูลวัดภายในวัดมหาธาตุ)
วิหารหลวง |
วิหารหลวง |
จุดที่ 4 (หมายเลข 4) : พระอุโบสถ
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ |
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ |
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ |
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ |
จุดที่ 5 (หมายเลข 5) : พระปรางค์องค์ประธาน
เป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานของเรือนธาตุ ฐานมีการก่อแบบจตุรมุข รอบองคืพระปรางค์มีแนวระเบียงคดล้อมรอบ และเชื่อมต่อกับส่วนท้ายของพระวิหารกับพระอุโบสถตามรูปแบบแผนผังวัดสมัยอยุธยาตอนต้นจากเอกสารพงศาวดารกล่าวว่าเมื่อปี พ.ศ.2176 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีการบูรณะปรับปรุงทรวดทรงของปรางค์ จึงอาจมีการก่อสร้างจตุรมุขเพิ่มเติมในสมัยนี้ และภาพถ่ายเก่าในสมัยรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ยังคงปรากฎส่วนยอดขององค์พระปรางค์สมบูรณ์อยู่ จนมาสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2454 พระปรางค์พังทลายลงมา ดังสภาพในปัจจุบัน
พระปรางค์องค์นี้หักลงมาถึง 2 ครั้ง ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
(ที่มา : ป้ายข้อมูลวัดภายในวัดมหาธาตุ)
พระปรางค์องค์ประธาน วัดมหาธาตุ |
พระปรางค์องค์ประธาน วัดมหาธาตุ |
พระปรางค์องค์ประธาน วัดมหาธาตุ |
พระปรางค์องค์ประธาน วัดมหาธาตุ |
ห้องพระบรมสารีริกธาตุและห้องเครื่องทองวัดมหาธาตุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา |
ความงดงามของโบราณสถาน โบราณศิลปะ รอบๆบริเวณวัดมหาธาตุจุดอื่นๆ
หลังจากชมความงดงามสถาปัตยกรรมของวัดมหาธาตุและบรรยากาศรอบๆ เชื่อว่าหลายๆ จุดของวัดมหาธาตุ (Wat Maha That) จะสะกดให้ผู้มาเยือนในเรื่องความงดงามทางสถาปัตยกรรม โบราณศิลปะ ครับ
หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์ “วัดมหาธาตุ (Wat Maha That)” คืออีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดครับ...สวัสดีครับ
รูปความละเอียดสูง(Wat Maha That) ทั้งหมด
วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา
วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) วัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
พระมงคลบพิตร (Phra Mongkhon Bophit) พระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่องค์เดียวในประเทศไทย
วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha ) จ.พระนครศรีอยุธยา
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ