My latest images for sale at Shutterstock:

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

Thai | English

          วันนี้ชวนไปกราบพระที่วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) 



         วัดนี้เดิมพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมื่อ พ.ศ.1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตนเถรในลังกาทวีป เรียกนามนิการนี้ว่า “คณะป่าแก้ว” จึงได้นามว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนทั้งหลายพากันเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้ก็เจริญแพร่หลาย พระราชาธิบดีจึงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นพระวันรัตนมีตำแหน่ง เป็นสังฆราชขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระคือสังฆราชฝ่ายซ้าย และวัดนี้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชจึงได้ชื่อว่า “วัดพระญาไท” สำหรับพระอุโบสถของวัดนี้พระเทียรราชาเคยไปเสี่ยงเทียนอธิฐานแข่งบารมีกับขุนวงศาธิราชก่อนที่จะได้ราชสมบัติ
         ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหาอุปราชาแห่งพม่าได้ยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2135 หมายจะปราบปรามเมืองไทยไว้ในอำนาจ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพออกไปสู้ข้าศึก จนได้ชนช้างกับพระมหาอุปราชาที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีชัยชนะทรงฟันคู่ต่อสู้สิ้นพระชนม์บนคอช้าง แต่ครั้งนั้นไม่สามารถจะตีกองทัพของข้าศึกให้แตกแยกยับเยินไปได้ เนื่องจากกองทัพต่างๆติดตามไปไม่ทันพระองค์ ครั้นเมื่อเสร็จการสงครามแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธแม่ทัพนายกองเหล่านั้น จะให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไปไม่ทันเสียให้หมด สมเด็จพระวันรัตนวัดป่าแก้วถวายพระพร ขอพระราชทานโทษไว้แล้วทูลแนะนำให้ทรงสร้างเจดีย์ไว้เป็นที่ระลึกเพื่อเฉลิมเกียรติยศ ที่ได้ชัยชนะอันยิ้งใหญ่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้ เจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสร้างขึ้นที่วัดนี้ขนานนามว่า พระเจดีย์ชัยมงคล ต่อมาจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดใหญ่ชัยมงคล” (ที่มา : ป้ายข้อมูลวัดภายในวัดใหญ่ชัยมงคล)

วัดใหญ่ชัยมงคล : รูปแบบสันนิษฐาน

วัดใหญ่ชัยมงคล : มุมภาพอิงรูปแบบสันนิษฐาน
         
สถานที่ตั้ง วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) 
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไปวัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) 
         การเดินทางจากรุงเทพมหานครมุ่งหน้าไป วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) จ.พระนครศรีอยุธยา ( รายละเอียดการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไป จ.พระนครศรีอยุธยา ) รายละเอียดดังนี้ (โดยรถยนต์)
  • เลี้ยวซ้ายจากสายเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) เข้า ถ.โรจนะ ( ทางหลวงหมายเลข 309 ) มุ่งหน้าเข้า จ. พระนครศรีอยุธยา 
  • ขับไปเรื่อยๆตาม ถ.โรจนะจนถึงวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3477 จะมีป้ายบอกทางไปวัดใหญ่ชัยมงคล ขับไปประมาณ 500 เมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ด้านซ้ายมือ
(แผนที่จาก : maps.google.com)


แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon)

ถึงจุดหมาย : วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) 
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เราไปตามรอยประวัติศาสตร์และกราบพระเพื่อเป็นศิริมงคลกันเลยครับ (ภาพการเดินทางวันที่ 23 ต.ค.2556  ,8 ส.ค.2558 และ 15 ม.ค.2560 )
            ค่าธรรมเนียมการเข้าชมวัด คนไทยเข้าฟรี นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 20 บาทครับ เราเดินชมความงามของสถาปัตยกรรมรอบๆวัดกันก่อนครับ




            ไปกราบพระไสยาสน์ หรือ พระนอน เพื่อเป็นศิริมงคลครับ โดยในเว็บไซด์ของสถาบันอยุธยาศึกษาเขียนเกี่ยวกับพระไสยาสน์ หรือ พระนอน ไว้ว่า "วิหารพระนอนขนาดใหญ่ที่ปรักหักพัง มีพระนอนหรือพระไสยาสน์หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระเศียรไปทางทิศใต้ ซึ่งองค์เดิมนั้นได้ถูกนักแสวงโชคขุดทำลายจนพังไปหมดแล้ว องค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่"

พระไสยาสน์ หรือ พระนอน

พระไสยาสน์ หรือ พระนอน


        
             อีกจุดที่มาวัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) ต้องทำ คือ กราบพระขอพรที่พระอุโบสถซึ่งอยู่แนวเดียวกับพระเจดีย์ชัยมงคล  

พระอุโบสถวัดใหญ่ชัยมงคล

พระประธานภายในพระอุโบสถ
ภาพวาดภายในพระอุโบสถ

          และจุดสำคัญที่ห้ามพลาดนั้นคือ พระเจดีย์ชัยมงคล ครับ จากป้ายหน้าพระเจดีย์เขียนบอกความสำคัญไว้ดังนี้ครับ
    • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดฯให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ในคราวยุทธหัตถีมีชัยชนะสมเด็จพระมหาอุปราชแห่งพม่า เมื่อ พ.ศ.2135
    • เป็นนิมิตรหมายของเอกราช เตือนให้ระลึกถึงความกล้าหาญและเสียสละของพรรษบุรุษ
    • เป็นสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันเนื่องจากธรรมอันประเสริฐแห่งพระพุทธศาสนา


          ไปตามรอยประวัติศาสตร์ พระเจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกันครับ

พระเจดีย์ชัยมงคล


พระเจดีย์ชัยมงคล

พระเจดีย์ชัยมงคล

พระเจดีย์ชัยมงคล

บริเวณรอบๆ พระเจดีย์ชัยมงคล

พระเจดีย์ชัยมงคล

พระเจดีย์ชัยมงคล


         หลังจากชมความงดงามของโบราณศิลปะแล้วชวนขึ้นไปข้างบนพระเจดีย์ชัยมงคลชมความงดงามของโบราณศิลปะต่อครับ








        หลังจากชมความงดงามข้างบนทั้งภายในและรอบๆ พระเจดีย์ชัยมงคลเต็มอิ่มแล้วเราก็ลงด้านล่างชมสถาปัตยกรรมและบรรยากาศรอบๆพระเจดีย์ชัยมงคลกันต่อครับ





            ผู้เขียนกลับไปเยือนวัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อีกหลายคราวครับ ขอนำภาพความงดงามของโบราณศิลปะที่ถ่ายในวันที่ 15 ม.ค.2560 มาฝากครับ





            หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์   วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) คืออีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดครับ...สวัสดีครับ

รูปความละเอียดสูงวัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) ทั้งหมด 

วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา
วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) วัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระมงคลบพิตร (Phra Mongkhon Bophit) พระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่องค์เดียวในประเทศไทย
วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha ) จ.พระนครศรีอยุธยา
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร (Wat Phra Pathom Chedi Racha Worawihan ) จ.นครปฐม ปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย


          วันนี้ชวนไปกราบพระที่วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร (Wat Phra Pathom Chedi Racha Worawihan ) จ.นครปฐม ( ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน ) พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้าคือหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดนครปฐม

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

ประวัติ/ความสำคัญ :  พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
         องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณฑูตมาประกาศพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ในทางโบราณคดีมีความเห็นต้องกันว่า พระโสนะเถระและพระอุตตระเถระ ซึ่งเป็นสมณฑูตได้มาตั้งหลักฐานประกาศพระพุทธศาสนาที่นครปฐมเป็นครั้งแรก ในราวพุทธศรรตวรรษที่ 3 เดิมสร้างเป็นสถุปรูปบาตรคว่ำแบบเจดีย์อินเดีย ต่อมาได้มีการปฏิสังขรเปลี่ยนแปลงรูปไป
(ที่มา : หนังสือประวัติองค์พระฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร )

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
         พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ของแผ่นดินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามใหม่ว่าพระปฐมเจดีย์ (ที่มา : www.wikipedia.org)

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
          องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะของพุทธสานิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสกาลองค์พระปฐมเจดีย์ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12  ถึงแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็นประจำทุกปี
(ที่มา : หนังสือประวัติองค์พระฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร )

แผนผังแสดงส่วนต่างขององพระปฐมเจดีย์
(ที่มา : หนังสือประวัติองค์พระฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร )
          รายละเอียดองค์พระปฐมเจดีย์
          องค์ปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่ รูประฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมา ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น
    • สูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฎ  120.45 เมตร
    • ฐานโดยรอบวัดได้  235.50 เมตร
    • ปากระฆังวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้  56.64 เมตร
    • จากปากระฆังถึงสี่เหลี่ยมสูง 28.10 เมตร
    • สี่เหลี่ยมด้านละ  18.80 เมตร
    • ปล้องใฉนสูงจากสี่เหลี่ยมถึงยอด  41.40 เมตร
    • ปล้องใฉนทั้งหมดมี 27 ปล้อง
    • เสาหารมี  16 ต้น
    • คตพระระเบียงโดยรอบ  562.00 เมตร
    • กำแพงแก้วชั้นในโดยรอบ  912.00 เมตร
    • ซุ้มระฆัง บนลานองค์พระปฐมเจดีย์  24 ซุ้ม
(ที่มา : หนังสือประวัติองค์พระฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร )

สถานที่ตั้ง :  พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
         ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

การเดินทางไป : พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
         การเดินทางจากรุงเทพมหานครไปองค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รายละเอียดดังนี้ (โดยรถยนต์)
  • มุ่งหน้าจากกรุงเทพมหานครไปยัง ถนนบรมราชชนนี (ทางหลวงหมายเลข 338)
  • เมื่อถึงจุดตัดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ให้เลี้ยวขวาไปตามป้ายบอกทางไป จ.นครปฐม
  • ขับไปตามถนนเพชรเกษมมุ่งหน้าเข้า จ.นครปฐม 
  • เมื่อถึงตัว อ.เมืองนครปฐม จะมีป้ายบอกทางไป จ.นครปฐม ให้ขับไปตามป้ายจะถึงองค์พระปฐมเจดีย์ตามลำดับ

แผนที่สำหรับเดินทางไปพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
(แผนที่จาก : maps.google.com)


แผนที่สำหรับเดินทางไปพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

แผนผังพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

แผนที่พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
(ที่มา : ป้ายภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)
ถึงจุดหมาย : พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
            เมื่อเดินทางไปถึงพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร  ไปตามรอยประวัติศาสตร์ดูปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและกราบพระกันครับ (ภาพการเดินทางวันที่ 13 พ.ค.2557 ,31 ก.ค.2558 1 ม.ค.2560 และ 29 ม.ค.2560 )
            สิ่งแรกที่ต้องทำหรือห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือน คือ ไปกราบพระร่วงโรจนฤทธิ์เพื่อเป็นศิริมงคลครับ

พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

            ในวันที่ 2 พ.ย.2558 ครบรอบ 100 ปีที่องค์หลวงพ่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ได้ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศเหนือ ทางวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ได้จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ความสูง 2.49 เมตร สามารถร่วมทำบุญซื้อแผ่นทองหล่อองค์พระหลวงพ่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ได้ทุกวันครับ



          ในวันสำคัญทางพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนมาเดินเวียนเทียนรอบองค์พระปฐมเจดีย์เป็นจำนวนมากครับ

พิธีเวียนเทียนที่พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พิธีเวียนเทียนที่พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พิธีเวียนเทียนที่พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พิธีเวียนเทียนที่พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พิธีเวียนเทียนที่พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
             สิ่งต่อไปที่ต้องทำหรือห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร คือ ชมความงดงามทางสถาปัตยกรรมของพระปฐมเจดีย์ ปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ผู้เขียนไปชมความงดงามทางสถาปัตยกรรมของพระปฐมเจดีย์หลายครั้งหลายคราวครับ บอกตรงๆครับหลงไหลความงดงามทางสถาปัตยกรรมของพระปฐมเจดีย์ครับ

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
             หากมองโครงสร้างของพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จากจิตรกรรมภาพวาดฝาผนังจะบอกเล่าโครงสร้างของพระปฐมเจดีย์ดังรูปด่านล่างครับ

จิตรกรรมภาพวาดฝาผนังแสดงโครงสร้างของพระปฐมเจดีย์

             อีกสิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร คือ กราบพระพุทธรูปศิลาขาว ประดิษฐาน ณ ลานทักษิณชั้นลดด้านทิศใต้ขององพระปฐมเจดีย์

พระพุทธรูปศิลาขาว ณ ลานทักษิณชั้นลดด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์

พระพุทธรูปศิลาขาว ณ ลานทักษิณชั้นลดด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์

พระพุทธรูปศิลาขาว ณ ลานทักษิณชั้นลดด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์
             และอีกสิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร คือ กราบพระพุทธรูปศิลาขาวที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ฯ อีกองค์ครับ เป็นองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดจากพระพุทธรูปศิลาขาวในประเทศไทยทั้งหมด 4 องค์

อุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ฯ

พระพุทธรูปศิลาขาวประธานในอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ฯ


พระพุทธรูปศิลาขาวประธานในอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ฯ
          ปัจจุบัน พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" หรือหลวงพ่อประทานพร  อายุมากกว่า 1,000 ปี ประดิษฐานในประเทศไทยทั้งสิ้น 4 องค์ ทั้งสี่องค์ได้ประดิษฐานไว้เป็นที่แน่นอนดังนี้
(ที่มา : หนังสือปฐมมนต์ หลวงพ่อศิลาขาว (พระประทานพร) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร )

          หากมีโอกาสชวนทุกคนไปกราบพระพุทธรูปศิลาขาวเสริมพรเสริมมงคลให้ชีวิตให้ครบทั้ง 4 องค์ครับ

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
            หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์   พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

รูปความละเอียดสูงพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ทั้งหมด