หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา

Thai | English

          วันนี้ชวนทุกคนไปกราบพระวัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา  จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  ครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng)  



         วัดพนัญเชิงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด นอกจากปรากฏในพงศาวดารเหนือ ที่กล่าวถึงเรื่องราวความรักของพระเจ้าสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก ซึ่งจบลงด้วยความเศร้าและความสูญเสีย พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงทรงสร้างวัดนี้ขึ้นในบริเวณที่ปลงพระศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามว่า วัดพระนางเชิง นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าจีนชื่อว่า ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ข้างวิหารหลวงพ่อโต
          หลวงพ่อโต นี้คือพระพุทธรูปางมารวิชัยองค์ขนาดใหญ่ถึง 19 เมตร นามว่า พระไตรรัตนายก หรือตามที่ชาวจีนนิยมเรียกว่า ซำปอกง นั่นเอง การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เช่นนี้เป็นคติที่มีมาแต่สมัยทวารวดี นอกจากนี้ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ ยังได้กล่าวว่าพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้สร้างในปี พ.ศ. 1867 ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี
          นอกเหนือจากความงดงามขรึมขลังที่สร้างความสงบแก่ผู้ได้กราบสักการะแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ยังมีเรื่องเล่าขานถึงอภินิหารที่เป็นลางบอกเหตุร้ายในบ้านเมือง เช่น มีน้ำพระเนตรไหลออกมาก่อนที่กรุงครีอยุธยาจะแตก ดังปรากฏในพงศาวดารคำให้การขุนหลวงหาวัด หรือก่อนเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พระพักตร์ของหลวงพ่อได้ถล่มลงมาในปี พ.ศ. 2471 เป็นต้น
          เมื่อได้เดินชมรอบวัด คงรู้สึกถึงบรรยากาศความเป็นจีนที่สะท้อนออกมากอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอาคารต่างๆ รูปเทพเจ้า รวมถึงประเพณีทิ้งกระจาดประจำปีของวัด หรือแม้กระทั่งสุสานชาวจีนก็ยังมีให้เห็น ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าวัดพนัญเชิงนั้น ตั้งอยู่ในย่านของชุมชนชาวจีนมาแต่โบราณ
(ที่มา : โบรชัวร์ >> The dawn of the Ayutthaya kingdom ,Tourism Authority of Thailand)
         
สถานที่ตั้ง วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) 
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) 


ถึงจุดหมาย : วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng)
            เมื่อเดินทางไปถึงวัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) เรามุ่งหน้าไปตามรอยประวัติศาสตร์และกราบกราบหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ขนาดใหญ่ เพื่อเป็นศิริมงคลกันเลยครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 23 ต.ค.2556)
     


หลวงพ่อโต

           หลังจากกราบหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ขนาดใหญ่ ไม่ห่างจากวิหารหลวงพ่อโต ภายในพระอุโบสถยังมีพระพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐาน 3 องค์เรียงจากซ้ายไปขวาดังนี้
  1. พระพุทธรูปทอง สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย
  2. พระพุทธรูปปูนปั้น สมัยอยุธยา ปางมารวิชัย
  3. พระพุทธรูปนาก สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย
           ป้ายบริเวณพระอุโบสถเขียนเล่าว่า พระพุทธทอง พระพุทธรูปนากนั้นสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยตอนปลายสุโขทัยราว พ.ศ.1900 เดิมทีเดียวหุ้มปูนลงรักปิดทองไว้ เข้าใจว่าคงหุ้มมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ.2310 ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2499 ทางวัดจัดทำความสะอาด จึงได้พบรอยปูนกระเทาะออก จึงปรากฎอยู่ทุกวันนี้

พระพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐาน 3 องค์

            บริเวณรอบๆวัดพนัญเชิง



            หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ กราบหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ขนาดใหญ่ ตามรอยประวัติศาสตร์   วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) ” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ