หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

Thai | English

          วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกับวัดพนัญเชิง  จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  อีกหนึ่งวัดในเส้นทางการไหว้พระ 9 วัดครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat)



         เดิมชื่อ วัดมุขราช สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาโดยพระยาธรรมิกราช โอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง โดยสร้างขึ้นในยุคเดียวกับวัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ และเป็นสถานที่สอบเปรียญธรรมสำหรับพระสงฆ์ในสมัยโบราณ


          วัดธรรมิกราชมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับกษัตริย์อยุธยาหลายพระองค์ เช่น ในสมัยปลายอยุธยา สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรทรงผนวชที่วัดนี้พร้อมด้วยมหาดเล็กชื่อ หง ซึ่งต่อมาได้เข้าร่วมกับพระยาตากจนได้รับพระราชทานเป็นพระยาเพชรพิชัย
          เมื่อเข้าสู่บริเวณวัดแล้วจะเห็นเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เป็นเศียรพระธรรมิกราช พระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะอู่ทอง ที่พบในวิหารทรงธรรม ซึ่งเหลือเฉพาะพระเศียร ส่วนขององค์พระได้ชำรุดไป พระเศียรที่ปรากฏอยู่ภายในวัด เป็นพระเศียรที่จำลองจากของจริงที่เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา


          สิ่งน่าสนใจของวัดนี้อยู่ที่เจดีย์ประธาน หรือ เจดีย์สิงห์ล้อม เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่ตั้งอยู่บนฐานรูปแปดเหลี่ยม มีบันไดนาคทั้งสี่ทิศรอบฐาน ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะสุโขทัย อันแสดงถึงการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ส่วนล่างเป็นฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยม รอบฐานเจดีย์ประดับด้วยสิงห์ปูนปั้น ที่สร้างขึ้นราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง
          ทั้งนาคและสิงห์เป็นสัตว์ที่พบในศิลปะเขมรโบราณ โดยสิงห์ทำหน้าที่ดูแลศาสนสถาน ส่วนราวสะพานนาคซึ่งเป็นทางเดินเข้าศาสนสถาน เป็นเสมือนสะพานสายรุ้งที่เชื่อมโลกสวรรค์และโลกมนุษย์เข้าด้วยกัน ด้านหลังพระเจดีย์สิงห์ล้อม คือ วิหารหลวงหรือวิหารทรงธรรม เป็นพระวิหารใหญ่ขนาดเก้าห้องซึ่งแสดงถึงความใหญ่โตของสถานที่แห่งนี้ สร้างขึ้นรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อเป็นสถานที่ฟังธรรมในวันพระ วิหารทรงธรรมนี้มีมุขโถงด้านหน้าไม่มีช่องหน้าต่างแต่เจาะเป็นช่องแสงแทน เช่นเดียวกับวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ รูปแบบเช่นนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะอยุธยาตอนกลาง
(ที่มา : โบรชัวร์ >> The dawn of the Ayutthaya kingdom ,Tourism Authority of Thailand)
          วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่อยู่ในเขตมรดกโลกตั้งแต่แรกเริ่มที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนิซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534
       

แผนที่ขอบเขตมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ( Ayutthaya Historical Park ) อิงตามเว็บไซต์ UNESCO

      
สถานที่ตั้ง วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat)
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat)

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) 

ถึงจุดหมาย : วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat)
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) เราไปตามรอยประวัติศาสตร์วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ และกราบพระเพื่อเป็นศิริมงคลกันเลยครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 17 ต.ค.2559)
           พอเข้าไปบริเวณวัดด้านหน้าวัดจะมีเศียรพระธรรมิกราช พระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะอู่ทอง (เป็นพระเศียรที่จำลองโดยของจริงนำไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา)
     
เศียรพระธรรมิกราช 
เศียรพระธรรมิกราชองค์จริงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

           ไม่ห่างจากเศียรพระธรรมิกราชอย่าพลาดเข้าไปกราบพระนอน โดยป้ายบริเวณวัดวัดธรรมิกราชเขียนเล่าว่า "วิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) พระราชมเหสีมีพระราชธิดาทรงประชวรจึงได้อธิฐานเมื่อพระราชธิดาหายแล้ว จึงสร้างพระวิหารถวายมีพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนสมัยอยุธยาตอนต้นหันพระพักตร์ไปทิศเหนือ น้ำพระพุทธมนต์ในวิหารศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้อธิฐานนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ"


           เดินชมบริเวณรอบๆ วัดวัดธรรมิกราชต่อครับ



            เจดีย์ประธาน หรือ เจดีย์สิงห์ล้อม เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่ตั้งอยู่บนฐานรูปแปดเหลี่ยม มีบันไดนาคทั้งสี่ทิศรอบฐาน มีสิงห์ล้อมด้านละ 13 ตัว รวมสิงห์ล้อมทั้งสิ้น 52 ตัว สิงห์เป็นสัตว์ที่พบในศิลปะเขมรโบราณ โดยสิงห์ทำหน้าที่ดูแลศาสนสถาน  ( สถาปัตยกรรมเขมรโบราณ : ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย( Phimai Historical Park ) สถาปัตยกรรมทางศิลปะและเป็นศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย)
            เจดีย์องค์นี้สร้างครอบทับเจดีย์ทรงระฆังแบบเก่า ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบฐานเตี้ย


เจดีย์สิงห์ล้อม (ด้านละ 13 ตัว)





            วิหารหลวงหรือวิหารทรงธรรม เป็นพระวิหารใหญ่ขนาดเก้าห้องสร้างขึ้นรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อเป็นสถานที่ฟังธรรมในวันพระ มีมุขโถงด้านหน้าไม่มีช่องหน้าต่างแต่เจาะเป็นช่องแสงแทน เช่นเดียวกับวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ  เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะอยุธยาตอนกลาง







            วัดธรรมิกราชมีพระสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมสืบมาจนปัจจุบัน หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์  วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat)” คืออีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น