My latest images for sale at Shutterstock:

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา

Thai | English

          วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  อีกหนึ่งวัดที่จะชวนไปชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  : วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)



         วัดพุทไธศวรรย์เป็นวัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสร้างกรุง ดังหลักฐานเอกสารในพระราชพงศาวดารบางฉบับกล่าวว่า พระเจ้าอู่ทองโปรดให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น ในบริเวณที่เรียกว่า “เวียงเหล็ก” ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับ เมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชานุสรณ์
          วัดพุทไธศวรรย์มีการวางผังตามความนิยมของวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ มีพระวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังเป็นโบสถ์ โดยทั้งหมดตั้งอยู่ในระนาบเดียวกัน


         ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจนั่นคือ องค์ปรางค์ประธานสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ศิลปลพบุรี ตั้งอยู่บนฐานไพทีย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลัง ปรางค์ประธานนี้ ยังเห็นว่าสมบูรณ์เพราะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในปรางค์ประดิษฐานพระเจดีย์องค์เล็กๆ และรอยพระพุทธบาท ให้กราบสักการะได้ ที่บันไดทางขึ้นสู่ปรางค์ประธาน มีลายกระเบื้องเคลือบที่แต่งเป็นลายดอกไม้ซึ่งยังเหลือความงดงามให้ชม
(ที่มา : โบรชัวร์ >> The dawn of the Ayutthaya kingdom ,Tourism Authority of Thailand)

         อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจครับ จาก www.facebook.com/Putthaisawan 

         
สถานที่ตั้ง วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)

ถึงจุดหมาย : วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) เราไปตามรอยประวัติศาสตร์วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา และกราบพระเพื่อเป็นศิริมงคลกันเลยครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 21 มิถุนายน 2555 การเดินทางผ่านทางเรือ และ 11 พ.ย.2559 การเดินทางโดยรถยนต์)
           บริเวณด้านหน้าวัด



           หากนั่งเรือผ่านจะเห็นความงามของวัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยาผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาครับ
      



           เราเข้าไปกราบพระภายในพระอุโบสถเพื่อเป็นศิริมงคลก่อนครับ 


           หลังจากกราบพระภายในอุโบสถเพื่อเป็นศิริมงคลเรียบร้อย เราไปดื่มด่ำชมความงดงามของสถาปัตยกรรมและประติมากกรมสมัยโบราณและร่วมภาคภูมิใจด้วยกันครับ




            อ่านข้อปฏิบัติก่อนเข้าชมครับ โดยแจ้งเวลาเปิด - ปิด คือช่วงเวลา  8.00 น. - 17.30 น. โดยอย่าลืมอ่านข้อความเล็กๆ ด้านล่างด้วยนะครับ


            ทางเข้าจะมีป้ายลูกศรบอกทางไปชมความงดงามของโบราณสถานครับ เรามุ่งหน้าตามลูกศรบอกทางกันต่อเลยครับ






            ปรางค์ประธาน หรือ พระมหาธาตุ พระปรางค์ได้รับอิทธิพลรูปแบบของสถาปัตยกรรมมาจากปราสาทขอม ซึ่งเปรียบประดุจเขาพระสุเมรุ หรือเขาไกรลาสที่ประทับของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ในการสร้างปราสาทตามคติเดิมของขอม ได้จำลองตัวอาคารหรือเรีอนธาตุซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามลำดับ ซึ่งก็คือ วิมานของเทพเจ้า และมีเทพผู้รักษาทิศอยู่ครบทุกด้าน ประจำอยู่ตามทิศต่างๆ จะมีห้องพระครรภธาตุ ภายในมีพระเจดีย์ทรงปราสาทยอด ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา : putthaijatukam.com)            
   


            ขึ้นบรรไดไปดูภายในองค์ปราค์ประธานต่อครับ สิ่งแรกด้านซ้ายมือ คือ รอยพระพุทธบาท ให้ผู้ไปเยือนกราบสักการะครับ


            ภายในองค์ปราค์ประธานครับ สิ่งที่สร้างความรำคาญใจคือ มูลค้างคาว ที่ค้างคาวขับถ่ายแล้วหล่นลงอยู่ตามพื้นทางเดินครับ แนะนำให้นำถุงเท้าไปสำรองครับ หรือหากใครมิวิธีการที่ดีกว่าก็ตามสะดวกครับ  แต่อยากเชิญชวนให้ผู้ไปเยือนวัดไปให้ถึงจุดนี้ครับ 





            เป้าหมายต่อไปของการมาเยือนวัดพุทไธศวรรย์ คือ วิหารพระพุทธไสยาสน์ เพื่อไปกราบ พระพุทธไสยาสน์ ครับ


  
            โบราณสถานข้างๆ กับวิหารพระพุทธไสยาสน์ 


            ความงดงามของวัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยาอยากให้มาทุกคนมาเยือนครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์โบราณสถาน  วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan)” คืออีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha ) จ.พระนครศรีอยุธยา


วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) วัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน

Thai | English

          วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)   จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา )  วัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน วันนี้เราจะไปตามรอยโบราณสถานวัดสมัยอยุธยาครับ


 ประวัติ/ความสำคัญ  :  วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)   


          ป้ายบริเวณวัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) เขียนเล่าให้ฟังว่า "วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศตะวันออก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธานของวัด


          ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานเป็นพระอุโบสถ พระวิหารตั้งอยู่ด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกของเจดียืประธาน มีกำแพงล้อมรอบพระอารามทั้งหมด ทางด้านทิศเหนือของเจดียืประธานนอกกำแพงมีตำหนักกำมะเลียนซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้นตั้งอยู่


          วัดกุฎีดาวไม่ปรากฎหลักฐานเอกสารชัดเจนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้าง มีแต่เพียงข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อปี 2254 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศในขณะดำรงพระยศพระมหาอุปราช
          จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีพบว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นและถูกทิ้งร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310"
           เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนเล่าให้ฟังต่อว่า "กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดกุฎีดาวเป็นโบราณสถานของชาติโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2418"

สถานที่ตั้ง วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)         
         อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

การเดินทางไป วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)         

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)

ถึงจุดหมาย : วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)        
            เมื่อเราเดินทางไปถึงวัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) เราไปสำรวจสถาปัตยกรรมวัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันกันครับ (รูปประกอบ : การเดินทางวันที่ 11 พ.ย.2559)



          ตั้งแต่ทางเข้า ด้านขวามือจะเป็น ตำหนักกำมะเลียน โดยป้ายบริเวณตำหนักกำมะเลียนเขียนเล่าว่า "ตำหนักกำมะเลียน เป็นอาคาร 2 ชั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก มีขนาดกว้าง 14.60 เมตร ยาว 30 เมตร ผนังชั้นบนและล่างเจาะเป็นซุ้มโค้งรูปกลีบบัว
          ปรากฎข้อความในพงศาวดารว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ พระองค์เสด็จมาทอดพระเนตรการบรณะเป็นครั้งคราว สันนิษฐานว่าพระองค์น่าที่จะมาประทับที่ตำหนักนี้ "

ด้านหน้าตำหนักกำมะเลียน ( Download รูปความละเอียดสูง )

บริเวณตำหนักกำมะเลียน ( Download รูปความละเอียดสูง )

มุมมองเจดีย์ประธานจากตำหนักกำมะเลียน ( Download รูปความละเอียดสูง )
          
          หากขึ้นไปเที่ยวชมก็ระมัดระวังการพลัดตกด้วยครับ เพราะค่อนข้างสูงและไม่มีอะไรกั้นครับ
          หลังจากชมสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกแลัวเราเข้าไปภายในบริเวณภายในวัดชมความงามทางสถาปัตยกรรมของวัดต่อครับ


          เจดีย์ประธานวัดกุฎีดาว
          ป้ายบริเวณเจดีย์ประธานเขียนเล่าว่า "เป็นเจดีย์ทรงระฆังย่อมุมไม้ยี่สิบ ลักษณะของฐานเจดีย์มีอิทธิพลของเจดีย์ในศิลปะมอญ บนลานประทักษิณมีเจดีย์รายจำนวน 8 องค์ล้อมรอบเจดีย์ประธาน องค์เจดีย์มีร่องรอยการก่อพอกซึ่งน่าจะเป็นการก่อสร้างในการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมโกศ"




          มีส่วนของเจดีย์ซึ่งหักโค่นลงมาไม่ห่างจากฐานเจดีย์ทำให้เราเห็นความใหญ่โตเจดีย์ประธานองค์นี้ครับ




          ด้านหน้าเจดีย์ประธาน คือ พระอุโบสถ
          ป้ายบริเวด้านหน้าพระอุโบสถเขียนเล่าว่า "เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกขนาดกว้าง 15.40 เมตร ยาว 27.80 เมตร มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าและด้านหลังและมีบรรไดทางขึ้นทั้งสองด้าน มีประตูทางเข้าที่ผนังด้านหน้า 3 ประตู ซึ่งประตูช่องกลางเป็นประตูของมุข ส่วนด้านหลังมี 2 ประตู ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ 8 ช่อง โดยทำเป็นหน้าต่างจริงและหน้าต่างหลอกสลับกัน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะปัญหาเรื่องการรองรับน้ำหนักหลังคา ตัวอาคารตั้งอยู่บนฐานที่แอ่นโค้งเป้นรูปท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบของอาคารที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย"

          ด้านหลังเจดีย์ประธาน คือ พระวิหาร
          ป้ายบริเวด้านหน้าพระวิหารเขียนเล่าว่า "เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกขนาดกว้าง 14.10 เมตร ยาว 27 เมตร มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าและด้านหลัง มีประตูทางเข้าที่ด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 2 ประตู ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ 3 ช่อง ตัวอาคารตั้งอยู่บนฐานที่แอ่นโค้งเป้นรูปท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบของอาคารที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย"  
   
           หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมสถาปัตยกรรมโบราณสถาน ไหว้พระ ตามรอยประวัติศาสตร์  วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao)  อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ


วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา
วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ