My latest images for sale at Shutterstock:

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ดูความงดงามยิ่งใหญ่ของศิลปะที่วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) จ.เชียงราย

        เมื่อมาเยือน จ.เชียงราย (เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง) สิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดสำหรับผู้ไปเยือนเยือน คือ การได้ไปดูความงดงามยิ่งใหญ่ของศิลปะที่วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) จ.เชียงราย โดยเป็นวัดที่สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินของ จ.เชียงราย (ภาพประกอบ : ถ่ายวันที่ 3 ม.ค.2558)

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun)
ประวัติ/ความสำคัญ "วัดร่องขุ่น" 
          อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เขียนไว้ในหนังสือ "แรงบันดาลในการสร้างวัดร่องขุ่น" บอกกล่าวเล่าว่า "แรงบันดาลในการสร้างวัดร่องขุ่น โดยเล่าให้ฟังว่า วัดร่องขุ่นเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2540 ในขณะที่อาจารย์อายุ 42 ปี โดยเร็วกว่ากำหนดที่อาจารย์จะกลับไปสร้างวัดที่บ้านเกิดถึง 3 ปีเนื่องจากประสบผลสำเร็จได้เงินครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะจริงๆตั้งใจจะกลับไปสร้างวัดที่บ้านเกิดเมื่ออาจารย์อายุ 45 ปี
          แรงบันดาลในการสร้างวัดร่องขุ่น มีสามแรงบันดาลใจ ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นำความสำเร็จทางโลกมาสู่ชีวิตอาจารย์ และบอกไว้ว่าสิ่งที่อาจารย์ได้ทำไว้สร้างไว้ ก็เพื่อให้เป็นศิลป์สมบัติของประชาชนชาวไทยร่วมชาติของอาจารย์ทุกคน"
          เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18.05 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และแผ่นดินไหวตามหลายครั้ง สร้างความเสียหายให้กับวัดร่องขุ่นเป็นอย่างมาก เช่น ผนังโบสถ์ปูนกระเทาะออก กระเบื้องหลุด ยอดพระธาตุหัก ภาพเขียนเสียหายหมด ทำให้ต้องปิดวัดเพื่อซ่อมแซมตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2557  ( ที่มา : http://th.wikipedia.org )
          โดยในช่วงการเดินทางของผู้เขียน (3 ม.ค.2558) วัดร่องขุนได้เปิดให้เข้าเที่ยวชมแล้ว

ที่ตั้ง "วัดร่องขุ่น"
           ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย 57000

เวลาเปิด-ปิด "วัดร่องขุ่น"
            ทุกวัน 6.30 - 18.00 น.
การเดินทางไป "วัดร่องขุ่น"
          การเดินทางไป "วัดร่องขุ่น"  (รายละเอียดการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไป จ.เชียงราย)
          - มาจากกรุงเทพมหาครมุ่งหน้าเข้าตัว อ.เมืองชียงรายตาม ถ.พหลโยธิน วัดร่องขุ่นจะอยู่ก่อนถึงตัวเมืองเชียงรายประมาณ 13 ก.ม. เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามทางหลวงหมายเลข 1208 ประมาณ 100 เมตร วัดร่องขุ่นจะอยู่ด้านซ้ายมือ
           - มาจากตัว อ.เมืองเชียงรายมุ่งหน้าไปตาม ถ.พหลโยธิน ประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสามแยกเข้าไปตามทางหลวงหมายเลข 1208 ประมาณ 100 เมตร วัดร่องขุ่นจะอยู่ด้านซ้ายมือ

แผนที่การเดินทางไปวัดร่องขุน

แผนที่การเดินทางไปวัดร่องขุน


แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun)

เดินทางถึงเป้าหมาย : "วัดร่องขุ่น"
          เมื่อถึงเป้าหมาย "วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun)"  มุ่งหน้าไปดูไปดื่มด่ำความงดงามยิ่งใหญ่ของศิลปะของวัดร่องขุ่นกันครับ    
          ในวันที่ผู้เขียนเดินทางไปวันร่องขุ่น (3 ม.ค.2558)  วัดกำลังดำเนินการบูรณะซ่อมแซมวัดหลังจากเจอภัยทางธรรมชาติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557  

ทางเข้าวัดร่องขุ่นในช่วงซ่อมแซม  (เดินเข้าวัดจากที่จอดรถด้านหลังอุโบสถ) 

ทางเข้าวัดร่องขุ่นในช่วงซ่อมแซม  (เดินเข้าวัดจากที่จอดรถด้านหลังอุโบสถ) 
           เมื่อเข้าเขตบริเวณวัด จะเริ่มได้สัมผัสกับความงดงามทางศิลปะของวัดแล้วครับ

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
           ผู้เขียนเดินไปเดินมาขอค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เนตเกี่ยวกับอุโบสถวัดร่องขุ่นเพิ่มเติมเพื่อเที่ยวชมดื่มด่ำงานศิลปะได้เต็มที่ครับ  www.watrongkhun.org บอกกล่าวเล่าเรื่องอุโบสถว่า "ผมปรารถนาอยากจะสร้างวัดให้เหมือนมีสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์โลกสามารถสัมผัสได้"  ฉนั้นสิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดที่วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) จ.เชียงราย คือ ไปสัมผัสวิมานบนดินที่มนุษย์โลกสามารถสัมผัสได้ที่อุโบสถครับ

อุโบสถ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

อุโบสถ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

ทางเข้าอุโบสถ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

           และ  www.watrongkhun.org  อธิบายต่อว่า
           สีขาว : พระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า
           สะพาน : การเดินข้ามจากวัฎสงสารสู่พุทธภูมิ
           เขี้ยว หรือ ปากพญามาร : กิเลสในใจ
           สันของสะพาน : มีอสูรอมกัน ข้างละ 8 ตัว 2 ข้าง รวมกันแทนอุปกิเลส 16
           กึ่งกลางของสะพาน : เขาพระสุเมรุ
           ดอกบัวทิพย์ : มี 4 ดอกใหญ่ตรงทางขึ้นด้านข้างอุโบสถแทนซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
           บันไดทางขึ้น : มี 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

บริเวณสะพาน การเดินข้ามจากวัฎสงสารสู่พุทธภูมิ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

บริเวณสะพาน การเดินข้ามจากวัฎสงสารสู่พุทธภูมิ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

บริเวณสะพาน การเดินข้ามจากวัฎสงสารสู่พุทธภูมิ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
           ระหว่างอยู่บริเวณอุโบสถวัด หากมองไปด้านข้างๆ อุโบสถ นั่นคือห้องน้ำของวัดร่องขุน เป็นจุดที่หลายๆคนคงเคยได้ยินผ่านสื่อบ้านเราที่กล่าวถึงห้องน้ำของวัดร่องขุนที่ไม่ธรรมดาครับ 

ห้องน้ำวัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) มองมาจากบริเวณอุโบสถวัด

            ไปเดินชมความงดงามทางศิลปะของอุโบสถกันต่อเลยครับ

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

          สิ่งที่ธรรมชาติฝากความเสียหายไว้ครับ ในบางส่วนยังอยู่ในช่วงการซ่อมแซม ณ วันการเดินทางไปเที่ยวชมครับ ยังไม่เปิดให้เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว

ร่องรอยความเสียหายจากภัยธรรมชาติ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

ร่องรอยความเสียหายจากภัยธรรมชาติ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

ร่องรอยความเสียหายจากภัยธรรมชาติ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
             ความงดงามของวัด ความงดงามของศิลปะ มันคือศิลปะที่ทำให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ไปเยือนต้องหลงเสน่ห์ของศิลปะเข้าอย่างจังครับ

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
             บริเวณวัดมีหลายๆจุดที่คอยอวดความงดงามของศิลปะต่อนักท่องเที่ยว หรือผู้ไปเยือน

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
            ผู้คนเขามุงอะไรกันเข้าไปดูกันครับ

น้ำสมันไพร วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

            น้ำสมุนไพรครับ ทางวัดมีน้ำสมุนไพรให้บริการฟรี คลายหนาวในช่วงดังกล่าว

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
            และสิ่งที่ไม่ธรรมดาของวัดที่อยู่ไม่ห่างจากจุดที่ผู้คนผ่อนคลายด้วยน้ำสมุนไพร นั่นคือ เมรุ ครับ

เมรุ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

เมรุ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

เมรุ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
           และสิ่งที่ต้องทำหรือห้ามพลาดอีกสิ่งเมื่อมาถึงวัดร่องขุ่น คือ ใบโพธิ์ถวายพระ ครับ

ใบโพธิ์ถวายพระ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

ใบโพธิ์ถวายพระ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

ใบโพธิ์ถวายพระ วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
           หลังชมความงามของศิลปะของวัดมากมายหลายที่แล้ว แวะไปแอบดูเบื้องหลังบ้างครับ นั้นคือ โรงปั้น

โรงปั้น วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

โรงปั้น วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

โรงปั้น วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

โรงปั้น วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

โรงปั้น วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
           เมื่อเดินออกจากโรงปั้น  จะเห็นมีการก่อสร้างงานศิลปะภายในบริเวณวัดร่องขุ่น หากเสร็จสมบูรณ์ทุกอาคาร  คงจะเป็นงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่แน่นอนครับ 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 

วัดร่องขุ่น ( Wat Rongkhun) 
          มันคือศิลปะ!!! งดงามมากครับ หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมธรรมชาติ ดูความงดงามยิ่งใหญ่ของศิลปะ  "วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ



วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )

Thai | English

          วันนี้ชวนทุกคนไปกราบพระที่วัดพระเมรุฯ จ.พระนครศรีอยุธยา ( ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา ) และตามรอยประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยเขาบอกว่าวัดพระเมรุฯเป็นวัดที่พม่าไม่ได้เผาวัด จริงหรือไม่ไปดูกันครับ


 เกี่ยวกับวัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน้าพระเมรุ)
       

         จากป้ายภายในวัดหน้าพระเมรุเขียนบอกกล่าวเล่าว่า "ตำนานกล่าวถึงวัดนี้ว่า พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชการที่ 10 แห่งกรุงศรีอยธยา ทรงสร้างเมื่อ จุลศักราช 864 (พ.ศ.2046) ประทานนามว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” แต่ประชาชนส่วนมากนิยมเรียกว่า “วัดหน้าพระเมรุ” จึงเป็นนามของวัดที่ใช้กันจนทุกวันนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงเหตุการคราวทำสัญญาสงบศึกระว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีการปลุกพลับพลาเป็นที่ประทับซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดพระเมรุกับวัดหัสดาวาส (ปัจจุบันวัดหัสดาวาสเหลือเพียงซากเจดีย์) อีกตอนหนึ่งเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ พ.ศ.2303 พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิการามกับวัดสหัสดาวาส พระเจ้าอะลองพญาทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในวัดพระเมรุราชิการามแตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัส ประชวรหนักในวันนั้น พอรุ่งขึ้น 2 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2303 พม่าเลิกทัพกลับไปทางเหนือหวังออกทางด่านละเมาะ แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาก็สิ้นพระชนม์ระว่างทาง"
         วัดนี้ได้รับการบูรณะใหม่ในสมัยพระเจ้าบรมโกศและในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2378 และ พ.ศ. 2381 สิ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบันจึงปะปนกันทั้งที่มีอยู่ก่อนแล้วในสมัยอยุธยา สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และในสมัยปัจจุบัน วัดนี้เป็นวัดที่มิได้ถูกทำลายไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 (ที่มา : สถาบันอยุธยาศึกษา)
         หากเราพิจารณาจากการเขียนบอกกล่าวจากป้ายภายในบริเวณวัดที่บอกกล่าวเล่าว่า "...พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีการปลุกพลับพลาเป็นที่ประทับซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดพระเมรุกับวัดหัสดาวาส..." และ "...พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิการามกับวัดสหัสดาวาส พระเจ้าอะลองพญาทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในวัดพระเมรุราชิการามแตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัส..." หากเราสำรวจตรวจสอบอิงตามแผนที่ในปัจจุบัน ผู้เขียนคาดว่าตำแหน่งในสมัยโบราณกาลที่กล่าวไว้คงเป็นตำแหน่งดังแผนที่ด้านล่าง


(แผนที่จาก : maps.google.com)

          จากรูปข้างบน ลูกศรคือทิศทางที่ปืนใหญ่หันกระบอกยิง ซึ่งปลายทางเป็นทิศของพระราชมณเฑียร พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีสรรเพชญ์
          หากเทียบกับแผนที่ของสถาบันอยุธยาศึกษาจะได้ดังรูปด้านล่าง

(แผนที่จาก : www.ayutthayastudies.aru.ac.th )

การเดินทางไปวัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน้าพระเมรุ)
         วัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน้าพระเมรุ) ตั้งอยู่ ณ อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ( รายละเอียดการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา )  เมื่อเดินทางมาถึงเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยา แล้วเดินทางไปวัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน้าพระเมรุ) ได้ดังรูปด้านล่าง


แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดพระเมรุราชิการาม

ถึงจุดหมาย : วัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน้าพระเมรุ) 
            เมื่อเดินทางไปถึงวัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน้าพระเมรุ) เราไปตามรอยประวัติศาสตร์และกราบพระกันเลยครับ (ภาพการเดินทางวันที่ 19 ต.ค.2557)
            ไปกราบพระประธานกันก่อนครับเพื่อเป็นศิริมงคล



          พระประธานในอุโบสถวัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน้าพระเมรุ) เป็นพระพุทธรูปที่ถูกสร้างทรงเครื่องอย่างกษัตริย์หรือพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งงดงามสมบูรณ์แบบอย่างยิ่งครับ พระประธานในอุโบสถวัดพระเมรุราชิการามมีพระนามว่า "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ"

พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระประธานวัดพระเมรุราชิการาม
         โดยพระประธานเป็นที่งดงามที่สุด คือ พระพุทธรูปทรงเครื่ององค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง ประทับนั่งปางมารวิชัย หันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ พระพักตร์ดูสง่า สงบนิ่งและน่าเกรงขาม พระพุทธรูปทรงเครื่องอาจหมายถึง พระศรีอาริยเมตไตรย ผู้ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ห้าที่จะได้เสด็จมาสั่งสอนและนำสังคมอันอุดมสมบูรณ์สงบสุขในอนาคต ปัจจุบันพระองค์ยังเป็นเทพบุตรอยู่ในสรวงสวรรค์จึงทรงเครื่องเช่นเทวดาทั้งหลาย หรืออาจอธิบายว่าเป็นเรื่องของพุทธประวัติ คือ ตอนที่พระพุทธเจ้าทรมานพญามารชมพูบดี ด้วยพญามารอวดตนมั่งคั่งร่ำรวย แต่งกายสวยงาม พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตพระองค์ให้มีความงามกว่าพญามาร ดังนั้น พญามารจึงยอมรับพระพุทธเจ้า เป็นการปราบมารในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง (ที่มา : สถาบันอยุธยาศึกษา )
          หลังจากกราบพระประธานภายในอุโบสถแล้ว ไปเดินชมความงดงามของวัดและบรรยากาศรอบๆวัดจุดอื่นๆ ต่อครับ




             สิ่งที่ต้องทำอีกสิ่งหรือห้ามพลาดเมื่อมาถึงวัดพระเมรุราชิการาม คือ กราบพระพุทธรูปศิลาเขียวหรือพระคันธารราฐประทับห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี "ปางนั่งบัลลังก์" ซึ่งมีหนึ่งเดียวในประเทศไทย ประดิษฐานภายในพระวิหารน้อย


พระพุทธรูปศิลาเขียวหรือพระคันธารราฐประทับห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี "ปางนั่งบัลลังก์" หนึ่งเดียวในประเทศไทย 

             เว็บไซต์สถาบันอยุธยาศึกษา เขียนเล่าว่า "ภายในพระวิหารน้อยมีพระพุทธรูปแบบทวารวดีหินสีเขียวดำขนาดใหญ่เต็มวิหาร ประทับนั่งวางพระบาทอยู่บนดอกบัวบาน กล่าวกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ย้ายมาจากวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบพระพุทธรูปทวารวดีขนาดใหญ่หลายองค์ และได้ถูกเคลื่อนย้ายมาอยุธยาถึง 2 องค์ด้วยกัน (อีกองค์หนึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา) องค์พระพุทธรูปมีลักษณะที่น่าสังเกตหลายประการ คือ 
             1. พระรัศมีรอบพระเศียร ซึ่งมีเปลวฉายออกมาโดยรอบนั้น ชี้ให้เห็นอิทธิพลของจีน 
             2. ชายจีวรถูกถลกสูง เผยให้เห็นถึงพระชานุซ้ายของพระพุทธเจ้า ดูแปลกไปจากพระพุทธรูปที่พบทั่วไปในประเทศไทย เป็นเช่นเดียวกับที่นิยมทำพระศรีอาริยเมตไตรยในประเทศจีน สมัยราชวงศ์ถัง
             3. พระหัตถ์ทั้งคู่วางราบอยู่บนเข่าทั้งสอง ซึ่งแปลกไปจากปางต่าง ๆ ที่รู้จักกันในประเทศไทย"
          ผู้เขียนได้เดินทางไปทุกที่แล้วในที่พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีประดิษฐาน ได้แก่
          หากนับจำนวนพระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดีอิงตามคุณลักษณะของพระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดีเพียงขนาดใหญ่และนั่งห้อยพระบาท ในประเทศไทยจะมีพระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดีทั้งสิ้น 5 องค์ แต่หากแยกพระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดีตามปาง จะแยกได้ดังนี้
  • พระพุทธรูปศิลาเขียว "ปางนั่งบัลลังก์" จำนวน  1 องค์
    • ประดิษฐาน ณ วัดพระเมรุราชิการาม
  • พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" หรือหลวงพ่อประทานพร จำนวน  4 องค์
    • อุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ฯ 
    • ลานทักษิณชั้นลดด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ 
    • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร
         ฉนั้นในประเทศไทยของเราจึงมี พระพุทธรูปศิลาเขียวหรือพระคันธารราฐประทับห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี "ปางนั่งบัลลังก์" หนึ่งเดียวในไทยครับ

พระพุทธรูปศิลาขาว "ปางปฐมเทศนา" หรือหลวงพ่อประทานพร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา  หนึ่งในสี่องค์ในไทย
         ความงดงามทางโบราณศิลปะทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุบริเวณวัดพระเมรุราชิการาม มีให้ผู้ไปเยือนภายในบริเวณวัดในหลายๆ จุดครับ เดินชมความงดงามทางศิลปะของวัดและบรรยากาศรอบๆวัดให้เต็มอิ่มครับ







วิหารหลวงพ่อขาว วัดพระเมรุราชิการาม




            หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ตามรอยประวัติศาสตร์   “วัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน้าพระเมรุ) ” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา
วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) วัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (Wat Kasatrathirat Worawihan) อารามหลวงที่งดงามด้วยงานศิลป์ชั้นสูง
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
พระมงคลบพิตร (Phra Mongkhon Bophit) พระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่องค์เดียวในประเทศไทย
วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
มหาสงกรานต์ มหามงคล ไปสรงน้ำพระงานหลวงปู่ทวด ประจำปี 2559
สรงน้ำหลวงปู่ทวดปี 2558
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ