My latest images for sale at Shutterstock:

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แม่น้ำสองสี อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

Thai | English

           หลังจากไหว้พระ ชมบรรยากาศที่วัดถ้ำคูหาสวรรค์เรียบร้อย แหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ไม่ห่างจากวัดถ้ำคูหาสวรรค์นั่นคือ"แม่น้ำสองสี

เกี่ยวกับแม่น้ำสองสี

แม่น้ำสองสี 
           แม่น้ำสองสีเกิดจากการไหลของแม่น้ำมูลจากประเทศไทยไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงที่มีร่องน้ำกั้นเป็นเขตแดนประหว่างระเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยสีระหว่างสีของแม่น้ำมูลและสีของแม่น้ำโขงซึ่งสีแตกต่างกันเมื่อไหลมาบรรจบกันทำให้มองเห็นเป็นแม่น้ำสองสีอย่างสวยงาม สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน

สถานที่ตั้ง
     อ.โขงเจียม  จ.อุบลราชธานี

การเดินทางไป "แม่น้ำสองสี 
           เริ่มจากวัดถ้ำคูหาสวรรค์ ซึ่งจะมีจุดชมวิวแม่น้ำสองสีอยู่ข้างวัดคูหาสวรรค์(หมายเลข 1) และอีกจุดหนึ่งที่คือบริเวณวัดโขงเจียม ซึ่งเดินทางจากวัดคูหาสวรรค์ไปจุดชมวิวบริเวณวัดโขงเจียม(หมายเลข 2) ดังรูป


แผนที่สำหรับเดินทางไปแม่น้ำสองสี 

ถึงจุดหมาย
            (ภาพการเดินทางวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556)

ตำแหน่งสำคัญจุดต่างๆ บริเวณแม่น้ำสองสี 

หมายเลข 1 จุดชมวิวแม่น้ำสองสี ข้างวัดคูหาสวรรค์

จุดชมวิวแม่น้ำสองสี

หมายเลข 2
 จุดชมวิวบริเวณวัดโขงเจียม 

จุดชมวิวแม่น้ำสองสี

ชมวิวแม่น้ำสองสี

แม่น้ำสองสี

แม่น้ำสองสี

แม่น้ำสองสี

แม่น้ำสองสี
หมายเลข 3 แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง



หมายเลข 4 แม่น้ำมูล

แม่น้ำมูล
          หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ สูดลม สูดอากาศบริเวณแม่น้ำ "แม่น้ำสองสี อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

เดินตลาดฝั่งลาวและไทยที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก (Chong Mek Border Check Point) จ.อุบลราชธานี
ชมตะวันขึ้นก่อนใครในสยามที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม (Pha Taem National Park) จ.อุบลราชธานี
เสาเฉลียง (Sao Chaliang) อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี
วัดถ้ำคูหาสววรค์ อดอัดอุด บริสุทธิ์ในธรรม
แก่งสะพือ( Kaeng Saphue) แก่งที่สวยงามที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี

วัดถ้ำคูหาสววรค์ อดอัดอุด บริสุทธิ์ในธรรม

Thai | English

     หลังจากไปเยือนไปเยือน "แก่งสะพือ" แก่งที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี (อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล) ซึ่งอยู่ที่ อ.พิบูลมังสาหาร วันนี้ (25 ก.พ.56) เราจะชวนไปอดอัดอุด บริสุทธิ์ในธรรมที่ "วัดถ้ำคูหาสววรค์"

ประวัติ/ความสำคัญ "วัดถ้ำคูหาสววรค์" (จากป้าย)


          ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงอำเภอโขงเจียมประมาณ 3 กม. วัดนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2521 โดย “หลวงพ่อคำคนิง จุลมณี” ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม จำพรรษา ปัจจุบันหลวงพ่อท่านได้มรณภาพแล้วแต่ร่างการท่านไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างกายของท่านไว้ในโรงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทัศนีภาพของลำน้ำโขง และฝั่งลาวได้ชัดเจน
          วัดถ้ำคูหาสววรค์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี โดยนักท่องเที่ยวมากราบไหว้สังขารหลวงปู่คำคนิง จุลมณี ที่ไม่เน่าเปื่อยของท่านแล้ว ยังถือโอกาสชมทิวทัศน์แม่น้ำโขงและแม่น้ำสองสี ตลอดจนทิวทัศน์ของฝั่งระเทศตรงข้ามได้อย่างชัดเจน เนื่องมาจากบริเวณที่ตั้งของวัดตั้งอยู่บนที่ราบสูงริมฝั่งแม่น้ำโขง ทำให้สามารถมองเห็นทัศนีภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลไหลมารวมกันกลายเป็นแม่น้ำสองสีอย่างสวยงาม รวมทั้งทิวทัศน์ตัวอำเภอโขงเจียม ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีระยะทาง 80 กม. บนทางหลวงหมายเลข 2222 อุบลโขงเจียมและเป็นศูนย์กลางแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย

สถานที่ตั้ง
     อ.โขงเจียม  จ.อุบลราชธานี

การเดินทางไป "วัดถ้ำคูหาสววรค์"
    "วัดถ้ำคูหาสววรค์" อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยใน จ.อุบลราชธานี ( อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่นำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล ) แผนที่การเดินทางไปวัดถ้ำคูหสววรค์รายละเอียดดังนี้ครับ
     แผนที่การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไป จ.อุบลราชธานี


      แผนที่เดินทางจาก จ.อุบลราชธานี ไปวัดถ้ำคูหาสววรค์

 (ที่มารูปภาพ : ป้ายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)


 
  • ออกจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีมุ่งหน้าทางใต้ไปตามเส้นทาง 24 เข้าสู่ถนนเขื่อนธานี
  • ชิดซ้ายเพื่อวิ่งบนเส้นทาง 24 และเลี้ยวซ้ายเพื่อวิ่งบนเส้นทาง 24
  • ขับต่อไปยังเส้นทาง 217 (ประมาณ 42 กม.)
  • เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทาง 2222 เลี้ยวขวาเพื่อวิ่งบนเส้นทาง 2222 ปลายทางจะอยู่ทางขวา (ประมาณ 31 กม.)

แผนที่สำหรับเดินทางไปวัดถ้ำคูหาสววรค์ 

เดินทางถึงเป้าหมาย
     (ภาพการเดินทางในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556)

วัดถ้ำคูหาสววรค์ 


วัดถ้ำคูหาสววรค์ 

วัดถ้ำคูหาสววรค์ 

วัดถ้ำคูหาสววรค์ 

วัดถ้ำคูหาสววรค์ 

วัดถ้ำคูหาสววรค์ 

บริเวณวัดถ้ำคูหาสววรค์ 

บริเวณวัดถ้ำคูหาสววรค์ 

วิวมมองจากวัดถ้ำคูหาสววรค์ 

บริเวณวัดถ้ำคูหาสววรค์ 

วัดถ้ำคูหาสววรค์ 
     หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ "วัดถ้ำคูหาสววรค์" อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่ไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

เดินตลาดฝั่งลาวและไทยที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก (Chong Mek Border Check Point) จ.อุบลราชธานี
ชมตะวันขึ้นก่อนใครในสยามที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม (Pha Taem National Park) จ.อุบลราชธานี
เสาเฉลียง (Sao Chaliang) อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี
แม่น้ำสองสี อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
แก่งสะพือ( Kaeng Saphue) แก่งที่สวยงามที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วัดพระศรีสรรเพชญ์ (Wat Phra Si Sanphet) จ.พระนครศรีอยุธยา วัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา

Thai | English

 เกี่ยวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์          
         วัดพระศรีสรรเพชญ์  จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา มีฐานะเป็นวัดส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำอยู่ในวัด พื้นที่ตั้งของวัด เดิมเป็นที่ตั้งของพระราชมณเฑียรอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระบรมไตรโลกนาถได้ทรงยกพื้นที่นี้ให้เป็นเขตพุทธาวาส เมื่อปี พ.ศ.1991 เรียกว่า วัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วย้ายบรรดาพระราชมณเฑียรเลยขึ้นไปทางทิศเหนือ ต่อจากเขตวัดไปจนจรดริมแม่น้ำลพบุรีในปัจจุบัน วัดพระศรีสรรเพชญ์ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เช่น พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา (ปีละ 2 ครั้ง) ตลอดจนใช้เป็นที่เก็บพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์อยุธยาเกือบทุกพระองค์


         บริเวณใจกลางสุด มีพระเจดีย์ขนาดใหญ่ 3 องค์ สลับระหว่างกลางแต่ละองค์ด้วยมณฑปอีก 3 หลัง ปลายทิศตะวันตกของพระเจดีย์องค์สุดท้ายมีฐานของพระวิหารจัตุรมุข โดยตรงกลางมีเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิ ส่วนมุขทั้งสี่ด้านเชื่อว่าเคยมีพระพุทธรูปนั่ง ยืน นอน และเดิน ด้านทิศตะวันออกต่อกับเจดีย์องค์แรกเป็นวิหารสำคัญที่สุด เพราะบริเวณด้านท้าย ซึ่งเรียกว่า ท้ายจระนำ ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์องค์ต่างๆ ในวิหารเคยมีพระพุทธรูปหุ้มทองคำหนัก 286 ชั่ง (หรือหนักเท่ากับ 12,880 บาท) ประทับยืนสูงถึง 8 วา มีพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญที่สุดในสมัยอยุธยา


         พระวิหารหลวงหรือวิหารพระศรีสรรเพชญ์นี้ถูกขนาบด้วยวิหารพระโลกนาถอยู่ด้านทิศเหนือ ส่วนทิศใต้เป็นวิหารพระป่าเลไลยก์ ถัดต่อทางด้านหน้าเป็นพระวิหาร(ทิศเหนือ) และพระอุโบสถ(ทิศใต้) อาคารทั้งหมดนี้ถูกล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้วยพระเจดีย์สลับกับวิหารแกลบอย่างได้สัดส่วนยิ่ง วัดนี้ถูกเผาไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้พม่า ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2310 พม่าได้ปล้นสะดมทรัพย์จำนวนมาก ทั้งที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาและที่ได้มาจากการที่สยามยึดมาจากพระนครธม ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ พม่าได้เอาไฟสำรอกทองหุ้มองค์พระศรีสรรเพชญ์ คงเหลือแต่แกนในพระซึ่งทำด้วยสำริด เมื่อคราวตั้งกรุงเทพฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้อัญเชิญแกนในพระศรีสรรเพชญ์ลงไปด้วย ทรงสร้างพระเจดีย์หุ้มแกนพระองค์นี้เอาไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) แล้วถวายพระนามตามท่านว่า เจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ดาญาณ
(ที่มา : www.ayutthayastudies.aru.ac.th)
          วัดพระศรีสรรเพชญ์ (Wat Phra Si Sanphet)  อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่อยู่ในเขตมรดกโลกตั้งแต่แรกเริ่มที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534

การเดินทาง
         วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ ณ อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังรูป





ถึงจุดหมาย : วัดพระศรีสรรเพชญ์ 
            (ภาพการเดินทางวันที่ 9 ส.ค.2557)







      ผู้เขียนได้มีโอกาศเดินทางไปวัดพระศรีสรรเพชญ์ (Wat Phra Si Sanphet)  จ.พระนครศรีอยุธยา อีกหลายคราว ทุกครั้งที่ไปประทับใจทุกครั้งที่ได้ไปครับ

การเดินทางไปวัดพระศรีสรรเพชญ์ช่วงเดือน ธ.ค.2564

      หากใครชอบการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ขับรถกินลม ชมบรรยากาศ ไหว้พระ “วัดพระศรีสรรเพชญ์ (Wat Phra Si Sanphet)” อีกหนึ่งสถานที่ในเมืองไทยที่เราไม่ควรพลาดไปเยือนครับ...สวัสดีครับ

รูปความละเอียดสูงวัดพระศรีสรรเพชญ์ (Wat Phra Si Sanphet) ทั้งหมด 

วัดพุทไธศวรรย์ (Wat Phutthaisawan) วัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา
วัดกุฎีดาว (Wat Khudeedao) วัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาที่มีสภาพที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
วัดแม่นางปลื้ม (Wat Mae Nang Pleum) เปี่ยมด้วยตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat) วัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ อธิฐานนำน้ำพระพุทธมนต์ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (Wat Niwet Thamprawat Ratworawihan) วัดไทยแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
วัดธรรมาราม (Wat Thammaram) สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ
วัดพนัญเชิง (Wat Phanan Choeng) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระมงคลบพิตร (Phra Mongkhon Bophit) พระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่องค์เดียวในประเทศไทย
วัดพระเมรุราชิการาม วัดที่ใช้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ( Wat Na Phra Mane )
วัดไชยวัฒนาราม ( Watchaiwatthanaram )
วัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (Wat Maha That)
วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkhon) อนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติและสัญลักษณ์แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ( Wat Lokaya Sutha ) จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram )
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด หนึ่งปีมีครั้ง
ตลาดน้ำคลองสระบัว ( Ayutthaya Klong Sa Bua Floating Market & Water Theatre ) : กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ